สถาบันทางการเงินยักษ์ใหญ่ SBI Group และพาร์ทเนอร์ของทาง Ripple กลุ่มสำคัญได้ปล่อยแถลงการณ์เกี่ยวกับมุมมองที่บริษัทมีต่อกรณี ก.ล.ต สหรัฐฯ ได้ทำการฟ้องร้อง Ripple
นาย Yoshitaka Kitao ซีอีโอจอง SBI Group ได้แชร์คำแถลงการณ์นี้บนทวิตเตอร์ของตนเอง
SBI ระบุว่าลูกค้าของ Ripple นั้น 90% อยู่นอกสหรัฐฯ
ภายในคำแถลงการณ์ของ SBI Group ซึ่งในปริมาณการซื้อทั้งหมดของ SBI นั้น มี 8.76% ในนั้นที่ได้ทำการลงทุนใน Ripple ทางบริษัทได้คาดการว่าผลลัพธ์สุดท้ายในการฟ้องร้อง Ripple โดย ก.ล.ต. สหรัฐนั้นจะส่งผลแก่ตัวบริษัทเพียงน้อยนิด เพราะว่าลูกค้าที่ใช้ XRP ถึง 90% นั้นล้วนพำนักอยู่นอกสหรัฐฯ และ 80% ของธุรกรรม Ripple ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นนอกสหรัฐฯ
MoneyGram ไม่เคยใช้แพลตฟอร์ม ODL หรือ RippleNet สำหรับการโอนเงินของลูกค้าโดยตรง
บริษัทด้านการโอนเงินระดับโลก MoneyGram ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพาร์ทเนอร์สำคัญของ Ripple ได้ออกมาแสดงความเห็นต่อกรณีการฟ้องร้อง Ripple ว่าทางบริษัทจะติดตามสถานการณ์เพื่อที่จะได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อบริษัทของการฟ้องร้องนี้
ดังที่สยามบล็อกเชนเคยได้รายงานไปแล้วก่อนหน้านี้ MoneyGram ได้ประกาศว่าทางบริษัทไม่เคยได้ใช้แพลตฟอร์ม ODL (On-Demand Liquidity หรือสภาพคล่องที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้) หรือ RippleNet ในการโอนเงินของลูกค้าโดยตรง
ทาง MoneyGram ได้ประกาศว่าทางบริษัทได้ใช้ระบบ ODL เพียงแค่ในทางอ้อมโดยมีจุดประสงค์ในการซื้อขายสกุลเงินสำหรับการโอนเงิน
ก.ล.ต. สหรัฐฯ เผยแพร่ข้อร้องเรียนอย่างเป็นทางการ
ทาง ก.ล.ต. สหรัฐได้เผยแพร่ข้อร้องเรียนที่กล่าวหาว่าทาง Ripple นั้นได้ทำการจำหน่าย “หลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียน” มากว่า 8 ปีโดยไร้ซึ่งการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายใด ๆ
นาย Chris Larsen ผู้ร่วมก่อตั้ง Ripple ได้ถูกกล่าวหาภายในข้อเรียกร้องไว้ว่าในช่วงที่บริษัท Ripple เพิ่งก่อตั้งขึ้นนั้น นาย Chris ตระหนักรู้ดีถึงความเสี่ยงที่ XRP นั้นอาจจะถูกมองว่าเป็นหลักทรัพย์ และยังได้ถูกตักเตือนให้ไปเคลียร์ประเด็นนี้กับทาง ก.ล.ต. สหรัฐฯ อีกด้วย