<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ผู้ถือ XRP แค้น Ripple หนัก ต้องการผสมโรงฟ้องร้อง ก.ล.ต. สหรัฐฯ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

จากการยื่นฟ้องทางกฎหมายล่าสุด ผู้ถือ XRP กล่าวว่า สำนักงาน ก.ล.ต. ก่อให้เกิดการสูญเสียเงิน “หลายพันล้าน” ดอลลาห์ และกล่าวว่าพวกเขาตั้งใจที่จะยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีกับหน่วยงานดังกล่าว

โดยอ้างอิงจากจดหมายที่ถูกส่งถึงผู้พิพากษาศาลแขวงสหรัฐ Analisa Torres ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือ XRP กล่าวว่า ตั้งใจที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีแบบกลุ่มต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (ก.ล.ต.) เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย “สำหรับการประพฤติมิชอบโดยเจตนาของสำนักงาน ก.ล.ต. และ ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และการใช้ดุลพินิจในทางที่ผิดอย่างร้ายแรง อันเนื่องมาจากข้อกล่าวหาและการฟ้องร้องเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิตอลอย่าง XRP”

“ปัญหาของ Ripple ไม่ใช่แค่การกระจาย XRP ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ปัจจุบัน XRP ที่ถือครองโดยผู้ถือ XRP ถือเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ อันนี้เป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากตลาดแลกเปลี่ยนส่วนใหญ่ของสหรัฐฯได้เพิกถอนและระงับการซื้อขาย XRP ทั้งหมดด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ถือ XRP ไม่สามารถแลกเปลี่ยนได้” John Deaton ทนายความของผู้ถือ XRP ได้เขียนจดหมายฉบับวันที่ 14 มีนาคมถึง Torres ว่า “ทางสำนักงาน ก.ล.ต. มีโอกาสที่จะแก้ไขข้อร้องเรียน และให้ความชัดเจนแก่ตลาด แต่กลับเลื่อนความรับผิดชอบดังกล่าวไปยังศาลที่มีเกียรตินี้

ในบันทึกข้อตกลงวันที่ 14 มีนาคมต่อศาลในนิวยอร์ก นาย Deaton ได้กล่าวโทษสำนักงาน ก.ล.ต. ว่า “ทำให้ราคา XRP ร่วงลง ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียหลายพันล้าน”

บันทึกข้อตกลงของผู้ถือ XRP กล่าวว่า “ ภารกิจและเป้าหมายที่กำหนดไว้ของสำนักงาน ก.ล.ต. คือ การปกป้องนักลงทุน ส่งเสริมความเป็นธรรม และแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจอย่างมีข้อมูลและลงทุนด้วยความมั่นใจ” แต่แทนที่จะปกป้องนักลงทุนและแบ่งปันข้อมูล เพื่อช่วยนักลงทุนในการตัดสินใจอย่างมีข้อมูล สำนักงาน ก.ล.ต. กลับมีเจตนา และจงใจก่อให้เกิดความสูญเสียหลายพันล้านดอลลาร์แก่ผู้บริสุทธิ์ที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนในสินทรัพย์ดิจิตอลอย่าง XRP”

ผู้นำในอุตสาหกรรมคริปโตเคอร์เรนซี่และนักลงทุนต่างจับตาดูการฟ้องร้องระหว่าง Ripple ของ SEC ไม่เพียงแต่การกำหนดสถานะทางกฎหมายของ XRP เท่านั้น แต่ยังรวมถึงแบบอย่างทางกฎหมายที่กำหนดไว้สำหรับสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ โดยปัจจุบัน XRP เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลกตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด

เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ยื่นฟ้อง Ripple Labs โดยอ้างว่า การขาย XRP เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งมีมูลค่ากว่า 1.38 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทาง ก.ล.ต. ยังยื่นให้ Chris Larsen ประธานบริหารของ Ripple และซีอีโอบริษัทอย่าง Brad Garlinghouse เป็นจำเลยร่วมในข้อหาช่วยเหลือและสนับสนุนการละเมิดกฎหมายของ Ripple และทำกำไรส่วนตัวไปกว่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐจากการขาย XRP ที่ไม่ได้จดทะเบียน

ประเด็นสำคัญในคดีนี้คือ การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ XRP ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลดั้งเดิมสำหรับแพลตฟอร์ม Ripple เป็น“ สัญญาการลงทุน” ดังนั้นหลักทรัพย์จึงต้องจดทะเบียนภายใต้มาตรา 5 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ปี 1933

หลังจากการฟ้องร้องของสำนักงาน ก.ล.ต. ในเดือนธันวาคม บริษัท แลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลรายใหญ่อย่าง Coinbase และ Kraken ได้ยกเลิกการซื้อขาย XRP สำหรับผู้อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกา และราคาของ XRP ลดลงมากกว่า 60% จากราว ๆ 0.60 ดอลลาร์สหรัฐในเดือนก่อนหน้าเป็น 0.25 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เขียนราคา XRP ซื้อขายที่ 0.43 ดอลลาร์สหรัฐ 

จากบันทึกข้อตกลงของผู้ถือ XRP เผยว่า “สำนักงาน ก.ล.ตอ้างว่าปกป้องนักลงทุน แต่ที่จริงแล้วกำลังหาเงิน 1.3 พันล้านดอลลาร์จากผลกำไรจากจำเลย โดยการกล่าวหาของสำนักงาน ก.ล.ต. ว่า XRP อาจเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียน ทำให้ผู้ถือ XRP ขาดทุนกว่า 15,000 ล้านดอลลาร์” ดังนั้นคำถามคือ ใครกันแน่ที่ ก.ล.ต. กำลังปกป้องอยู่จากการดำเนินการ XRP”

ความคืบหน้าทางกฎหมายของ Ripple เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ศาลเดลาแวร์ได้ปฏิเสธคำขอของ Tetragon ซึ่งเป็นกลุ่มการลงทุนที่มีสำนักงานใหญ่ใน Guernsey ในการแลกหุ้นบุริมสิทธิ Series C ใน Ripple ซึ่บริษัท Tetragon เป็นผู้นำการระดมทุน Series C มูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐให้ Ripple เมื่อเดือนธันวาคม 2019 และในเดือนมกราคมปีนี้ได้ฟ้อง Ripple เพื่อเรียกคืนหุ้นหลังจากที่สำนักงาน ก.ล.ต. ยื่นฟ้องคดีนี้

 Morgan T. Zurn ซึ่งเป็นประธานคดีของ Tetragon ต่อ Ripple ที่ศาลสูงเดลาแวร์เผยว่า “XRP ไม่ใช่หลักทรัพย์อีกต่อไป หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ยื่นคำร้องบังคับใช้กฎหมายมากกว่าที่เคยเป็นมา” นอกจากนี้ยังกล่าวว่า “การตัดสินใจภายใต้มาตรา 5.4 ช่วยแก้ปัญหาว่า XRP เป็นหลักทรัพย์หรือไม่ ในทางตรงกันข้ามการบังคับใช้ยังไม่ชัดเจน  คำถามยังไม่ได้รับการตีความจึงไม่สามารถตัดสินใจได้ และเมื่อมีการตัดสินดังกล่าวจะถูกดำเนินการโดยศาลแขวง”

Garlinghouse ซีอีโอของ Ripple ทวีตว่า “นี่คือสาเหตุที่การบังคับใช้กฎระเบียบสามารถสร้างความหายนะได้เช่นนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ยอมรับว่า พวกเขาไม่ได้กำหนดอะไรเลย ยกเว้นในตลาดคริปโต และภายใต้แรงกดดันจากการตีความการยื่นฟ้องเช่นนี้ ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อผู้ถือรายย่อย และขณะนี้ ก.ล.ต. ยืนยันว่าไม่ได้มีการกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับ XRP และไม่ได้สั่งหรือขอให้ใครหยุดการซื้อขายหรือเพิกถอน ดังนั้นผู้ถือรายย่อยไม่ควรตำหนิสำนักงาน ก.ล.ต. ควรถามแพลตฟอร์มการซื้อขายมากกว่าว่ากำลังปกป้องใครอยู่

Jesse Powell ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Kraken  แพลตฟอร์มการซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิตอลทวีตตอบกลับว่า “เป็นความเสี่ยงที่ไม่สมดุลอย่างมากสำหรับศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ต้องถือว่าคดีของ ก.ล.ต. เป็นไปโดยสุจริต ซึ่งผู้พิพากษามักจะเข้าข้างหน่วยงานอยู่แล้ว และหากพบว่า XRP เป็นหลักทรัพย์จริง ๆ สำนักงาน  ก.ล.ต. จะบอกว่านี่เป็นสิ่งที่ศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนควรรู้อยู่แล้ว”

นอกจากนี้ Ripple ยังคงถูกฟ้องร้องจากผู้ถือ XRP ในแคลิฟอร์เนียและฟลอริดา

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนาย Garlinghouse และ Larsen ไม่เห็นด้วยกับคำร้องของ ก.ล.ต. ให้เปิดเผยข้อมูลทางการเงินส่วนบุคคลนานถึงแปดปี โดยเรียกว่าเป็นร้องขอ “การเปิดเผยข้อมูลที่ไม่เหมาะสม”