<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

เทคโนโลยี Blockchain คืออะไร และมันจะมาเปลี่ยนโลกได้อย่างไร

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในโลกยุคปัจจุบันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยี Blockchain เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาและสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมโลกเป็นอย่างมาก เป็นที่รู้กันว่าผู้ที่สร้าง Blockchain นี้ขึ้นมาคือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto หรือผู้ที่เป็นบิดาแห่งเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีนามว่า Bitcoin ที่หลาย ๆ คนรู้จักกันดี

แต่สิ่งที่ผู้คนอยากรู้มากกว่าว่าใครเป็นคนสร้าง Blockchain ขึ้นมาก็คงจะเป็นคำถามที่ว่า Blockchian นั้นคืออะไร?

ซึ่งทาง Siam Blockchain จะมาอธิบายให้เข้าใจกันอย่างเห็นภาพง่าย ๆ

เทคโนโลยี Blockchain หากอธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ลองนึกภาพว่ามันเป็นเสมือนโซ่ที่สร้างขึ้นเพื่อกระจายข้อมูลเก็บไว้ในชิ้นส่วนโซ่ที่ต่อกัน แต่ข้อมูลเหล่านั้นจะไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ เรียกได้ว่า Blockchain เป็นอินเตอร์เน็ตในรูปแบบใหม่โดยเริ่มแรกถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างสกุลเงินดิจิทัล (Digital Currency) เช่นBitcoin อย่างไรก็ตามในตอนนี้เทคโนโลยี Blockchain ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับสกุลเงินดิจิทัลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ณ ปัจจุบันวงการอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้นำศักยภาพของเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้ประโยชน์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจของตนอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

Bitcoin ถูกเรียกว่าว่าเป็น “ทองคำดิจิทัล” ที่มีมูลค่าปัจจุบันคือ 1.12 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Blockchain ก็ถูกนำมาสร้างเงินดิจิทัลประเภทอื่นได้ การมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้จะทำให้เรารู้ว่าเทคโนโลยี Blockchain นั้นเข้ามาปฏิวัติโลกในยุคปัจจุบันอย่างไรบ้าง

นาย Don & Alex Tapscott ผู้เขียนหนังสือ Blockchain Revolution (2016) กล่าวว่า

“เทคโนโลยี Blockchain เป็นเทคโนโลยี บัญชีเก็บข้อมูลแบบดิจิทัลที่กระจายข้อมูลแบบเหมือน ๆ กันที่สามารถตั้งโปรแกรมให้บันทึกข้อมูลใด ๆ ก็ได้ โดยไม่จำกัดอยู่แค่เพียงข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงิน”

ฐานข้อมูลที่ถูกกระจายให้แต่ละคนถือร่วมกัน

ลอกนึกภาพของเอกสารฉบับหนึ่งที่ถูกคัดลอกเป็นพัน ๆ ครั้งบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จากนั้นลองจินตนาการว่าเครือข่ายดังกล่าวถูกออกแบบมาให้อัพเดทข้อมูลในเอกสารดังกล่าวอยู่ตลอด เช่นเดียวกับการทำงานของ Blockchain โดยพื้นฐานก็เป็นเช่นนี้

ข้อมูลที่อยู่บน Blockchain จะสามารถเข้าถึงได้ทุกคน ฐานข้อมูลของ Blockchain จะไม่ได้ถูกเก็บไว้ในที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว หมายความว่าข้อมูลที่ถูกบันทึกบน Blockchain จะถูกเปิดเผยเป็นสาธารณะและสามารถถูกเข้ามาตรวจสอบได้ ข้อมูลเหล่านี้จะไม่มีส่วนกลางเข้ามาทำหน้าที่ควบคุมและปกป้อง ดังนั้นนักแฮ็คจะไม่สามารถเข้ามาแฮ็คข้อมูลนี้ได้ เนื่องจากว่าไม่มีจุดศูนย์กลางให้โจมตี นั่นหมายความว่าหากพวกเขาต้องการจะแฮ็คเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้น พวกเขาจะต้องโจมตีฐานข้อมูลที่ถูกกระจายออกไปทั้งหมดในเวลาพร้อมกัน อีกทั้งคอมพิวเตอร์หลายพันเครื่องหลายล้านเครื่องจะเข้ามาดูแลข้อมูลดังกล่าวทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้หมด

หากเปรียบเทียบ Blockchain เป็น Google Docs

หลักการทำงานพื้นฐานของ Google Docs หากอธิบายแบบง่าย ๆ คือการที่เราทำงานที่ต้องใช้ Microsoft Word บน Google Document และสามารถกดแชร์งานที่เราทำอยู่นี้ให้ผู้อื่นเข้ามาทำการตรวจสอบได้ ปัญหาคือคุณต้องรอจนกว่าอีกฝ่ายจะส่งเอกสารมาก่อนที่คุณจะเข้ามาทำการแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือตรวจสอบเอกสารนี้ได้เพราะอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ได้กดปุ่มแชร์เอกสารจนกว่าเขาจะทำงานนั้นเสร็จ ดังนั้นทั้งสองฝ่ายนี้จะไม่สามารถเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเอกสารได้พร้อม ๆ กันตราบใดที่มีฝ่ายหนึ่งยังไม่ได้กดปุ่มแชร์ ซึ่งกลไกการทำงานนี้ก็เหมือนกับการทำงานของธนาคารในการเก็บและถ่ายโอนเงินกล่าวคือทางธนาคารจะล็อคการเข้าถึงไว้และเมื่อต้องถ่ายโอนเงินก็จะเปิดให้เข้าถึงข้อมูลได้

หากเปรียบเทียบ Google Document กับบัญชีกระจายข้อมูล (Shared Ledger) ผู้ใช้งาน Google Docs จะสามารถเข้ามาทำงานในเอกสารพร้อม ๆ กันได้ถ้ามีการกดแชร์เอกสารทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเห็นความเคลื่อนไหวของเอกสารนี้ทุกอย่างทั้งก่อนแก้ไขและหลังการแก้ไขเอกสารนี้ซึ่งก็เหมือนกับการกระจายข้อมูลและเมื่อเราได้เผยแพร่ข้อมูลเป็นการทั่วไปให้กลุ่มคนจำนวนมากเข้าถึงได้มันก็จะกลายเป็น Distributed Ledger (การกระจายข้อมูลเป็นการทั่วไป)

คุณ William Mougayar ที่ปรึกษาด้านการลงทุนและผู้เชี่ยวชาญด้าน Blockchain กล่าวว่า

“ลองนึกภาพเอกสารที่เกี่ยวกับกฎหมายที่สามารถเอาเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ได้ คือแทนที่จะส่งมันให้คนอื่น ๆ ไปมา แล้วไม่รู็เลยว่าใครแก้อะไรตรงไหนไปบ้าง และไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเวอร์ชันที่คนแก้มาตรงกับเวอร์ชันก่อนหน้านี้มั้ย เอาจริง ๆ นะ ผมอยากรู้จริง ๆ ว่าทำไมเอกสารเกี่ยวกับธุรกิจทุก ๆ ตัวถึงไม่สามารถถูกแชร์ให้เห็นได้ แต่กลับถูกส่งกลับไปมา”

เทคโนโลยี Blockchain มีข้อดีอย่างไร ?

เทคโนโลยี Blockchain เหมือนกับอินเตอร์เน็ตตรงที่ว่ามันเป็นระบบที่มีความทนทานสูงมาก (Robustness) ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในกล่องที่อยู่บน Blockchain จะ

  1. ไม่ถูกควบคุมโดยใครคนใดคนหนึ่ง
  2. เมื่อจุดใดจุดหนึ่งเล็ก ๆ ในระบบเสีย จะไม่ส่งผลทำให้ระบบทั้งระบบล่ม (Has no single point of failure)

Bitcoin ซึ่งถูกสร้างปี 2008 ในตอนนั้น Blockchain ของ Bitcoin ไม่เคยมีรายงานว่าระบบการทำงานของมันมีความผิดพลาดหรือล้มเหลวเลย แต่ในปัจจุบันที่มีการแฮ็คหรือการจัดการที่ผิดพลาดเกิดขึ้นเพราะ human error หรือความผิดพลาดโดยมนุษย์ เช่นการแฮ็คเว็บผู้ให้บริการซื้อขายเหรียญคริปโตเคอเรนซี่ ไม่ใช่การเจาะระบบ Blockchain แต่อย่างใด

คุณ Ian Khan นักเขียนด้านเทคโนโลยีกล่าวใน Tedx ว่า

“ฟังดูเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมาก คือ Blockchain เป็นกลไกที่จะทำให้ทุกคนได้แสดงออกถึงความรับผิดชอบของตนเอง ขจัดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการทำธุรกรรมหรือข้อผิดพลาดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือเครื่องจักร, หรือแม้กระทั่งการแลกเปลี่ยนที่ไม่ได้เกิดจากความยินยอมของคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นแล้วความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดของเทคโนโลยี Blockchain คือการช่วยรับรองความถูกต้องของการทำธุรกรรมโดยการบันทึกข้อมูลโดยไม่เพียงแต่ผู้บันทึกข้อมูลตัวหลักเท่านั้น แต่มันเป็นเรื่องของผู้บันทึกข้อมูลทุก ๆ ฝ่ายที่ถูกเชื่อมต่อกัน ผ่านกลไกการตรวจสอบที่มีความปลอดภัย”

ความโปร่งใสของเทคโนโลยี Blockchain

เครือข่าย Blockchain ของ Bitcoin ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเห็นพ้องต้องกันของทุกฝ่าย (consensus) จะมีการตรวจสอบข้อมูลในทุก ๆ 10 นาที ระบบจะตรวจสอบธุรกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 10 นาทีนี้ การทำธุรกรรมในแต่ละครั้งดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ในกล่องที่เราเรียกว่า Block คุณสมบัติที่สำคัญคือ

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

  1. ความโปร่งใสของข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้สาธารณะ
  2. ข้อมูลจะไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้เพราะมันจำเป็นต้องใช้พลังการประมวลผลอย่างมหาศาลที่ต้องไปลบล้างข้อมูลบนเครือข่ายทั้งหมด (อ่านเพิ่มเติมเรื่องการโจมตี 51%)

ในทางทฤษฎีก็อาจเป็นไปได้ที่จะมีคนทำแบบนั้นแต่ในทางปฏิบัติแล้วมันเป็นไปได้ยากมาก ๆ ซึ่งความพยายามที่จะเข้าไปแทรกแซง Blockchain เพื่อขโมยเหรียญ Bitcoin นั้นว่ากันว่าจะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อส่งกำลังประมวลผลคอมพิวเตอร์ที่มากกว่าประเทศหนึ่งประเทศเสียอีก

คุณVitalik Buterin ผู้สร้างเหรียญEthereum กล่าวว่า

“เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการ เมื่อผมพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ในแถบตะวันตกผู้คนบอกว่าพวกเขาเชื่อถือ Google, Facebook หรือธนาคารมากกว่า แต่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบทวีปอื่นไม่ไว้วางใจองค์กรและบริษัทต่าง ๆ มากนักซึ่งผมหมายถึงแอฟริกา อินเดีย ยุโรปตะวันออกหรือรัสเซีย มันไม่เกี่ยวกับว่าจะต้องเป็นที่ที่ร่ำรวยเท่านั้นถึงจะเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้ อันที่จริงแล้วเทคโนโลยี Blockchain มีโอกาสที่จะเข้าถึงประเทศที่ไม่ได้ร่ำรวยมากที่สุดได้มากกว่าเสียอีก”

เครือข่ายโหนด (node)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ถูกเรียกว่า “โหนด” จะสร้างบล็อคขึ้น โหนดคือคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย Blockchain โดยใช้ตัว client ทำการตรวจสอบความถูกต้องและส่งต่อการทำธุรกรรม โหนดจะได้รับสำเนาของ Blockchain ที่ดาวน์โหลดโดยอัตโนมัติเมื่อมันเข้าไปอยู่บนเครือข่าย Blockchain

โหนดทุกตัวเป็นผู้ดูแล Blockchain และเข้ามาอยู่ในระบบด้วยความสมัครใจ ไม่ขึ้นกับส่วนกลาง (decentralized) แต่โหนดทุกตัวที่เข้ามาอยู่ใน Blockchain ก็มีจุดประสงค์คือการได้มาซึ่ง Bitcoin ที่ถูกขุดขึ้นมาใหม่

ในบางครั้งโหนดถูกเรียกว่าเป็นการขุด Bitcoin ซึ่งเป็นการเรียกที่ไม่เหมาะสมนัก การที่จะได้ Bitcoin มานั้นโหนดแต่ละอันต้องแก้ปริศนาคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มแรก Bitcoin เป็นเหตุผลที่ Blockchain ถูกสร้างขึ้นแต่ตอนนี้ Blockchain กลายเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในแง่การใช้งานมากที่สุด

ในตอนนี้มีเหรียญคริปโตเคอเรนซีที่เหมือนกับ Bitcoin อยู่ในตลาดประมาณ 1,600 เหรียญ ในขณะเดียวกันก็มีการนำเทคโนโลยี Blockchain ไปปรับใช้กับวงการอื่น ๆ มากขึ้น

คุณ Larry Summers อดีตเลขานุการกระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า

“Bitcoin มีบุคลิกลักษระเหมือนเป็นเครื่องแฟ็กซ์ คือเครื่องแฟ็กซ์หนึ่งเครื่องก็เป็นได้แค่ที่กั้นประตูที่ไร้ประโยชน์ แต่ในโลกที่ใคร ๆ ทุกคนมีเครื่องแฟ็กซ์นั้นมันจะถือเป็นสิ่งที่มีค่ามหาศาล”

แนวความคิดของการกระจายศูนย์ (decentralization)

เทคโนโลยี Blockchain ถูกออกแบบมาเป็นเทคโนโลยีแบบกระจายอำนาจที่ไม่ขึ้นกับส่วนกลาง (decentralized technology) อะไรที่เกิดขึ้นบน Blockchain คือการทำงานของเครือข่ายโดยรวม ประเด็นคือ Blockchain เป็นการตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการค้าในรูปแบบใหม่ซึ่งการตรวจสอบแบบดั้งเดิมอาจกลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ทำพร้อมกันได้เกือบทั้งหมดบน Blockchain หรืออาจทำให้การเก็บบันทึกข้อมูลบางประเภท เช่น การจดทะเบียนที่ดินกลายเป็นสาธารณะอย่างเต็มที่และทำให้เกิดการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโลกใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain ในการจัดการกับฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมของ Bitcoin ซึ่งก็หมายความว่า Bitcoin ถูกจัดการโดยเครือข่ายของมันเองโดยไม่มีอำนาจจากส่วนกลางเข้ามายุ่งเกี่ยว โดย decentralization นั้นก็คือเครือข่ายที่มีการดำเนินการแบบบุคคลต่อบุคคล (peer-to-peer) ที่ไม่ต้องขึ้นกับส่วนกลางนั่นเอง

คุณ Melanie Swan นักเขียนเกี่ยวกับ Blockchain ชื่อเรื่อง Blueprint for a New Economy (2015) กล่าวว่า

“เครือข่ายแบบ decentralized จะเป็นคลื่นลูกใหม่ของเทคโนโลยี”

ใครที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain ?

ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมทางการเงินดูเหมือนจะเป็นผู้ที่นำเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้มากที่สุด โดยเฉพาะกับเรื่องการโอนเงินข้ามประเทศ ทำให้ตอนนี้นักพัฒนา Blockchain เป็นที่ต้องการในตลาดโลกเป็นอย่างมาก

การนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ทำให้สามารถตัดคนกลางสำหรับการทำธุรกรรมต่าง ๆ ออกไปได้ ลองนึกถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ถูกทำให้ใช้งานได้ง่ายมากขึ้นในปัจจุบันด้วยนวัตกรรม Graphical User Interface (GUI) ซึ่งหากนำ GUI มาเปรียบกับโลกของ Bitcoin นั้น มันก็คือกระเป๋า (wallet) ที่เอาไว้เก็บเหรียญ Bitcoin และ cryptocurrency อื่น ๆ เพื่อโอน หรือนำไปใช้ซื้อของ

การทำธุรกรรมออนไลน์จะต้องมีการยืนยันตัวตนซึ่งในอนาคต wallet apps อาจมีการจัดการเกี่ยวกับการยืนยันตัวตนในรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย

คุณ Wiilliam Mougayar ผู้เขียนThe Business Blockchain: Promise, Practice, and Application of the Next Internet Technology กล่าวว่า

“ตัวตนในโลกออนไลน์จะมีลักษณะเป็น decentralized และเราจะเป็นเจ้าของข้อมูลที่เป็นของเราได้อย่างแท้จริง”

เทคโนโลยี Blockchain กับความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น

การกระจายข้อมูลบนเครือข่ายทำให้มันช่วยขจัดความเสี่ยงที่ข้อมูลจะถูกรวบรวมไว้ที่ส่วนกลาง

ทำให้นักแฮ็คไม่มีฐานข้อมูลกลางที่ไว้ใช้เจาะข้อมูล ในปัจจุบันนี้อินเตอร์เน็ตมีปัญหาด้านความปลอดภัย เราเชื่อว่าการใช้ username และ password จะช่วยป้องกันไม่ให้ข้อมูลหรือทรัพย์สินของเรานั้นรั่วไหล เทคโนโลยี Blockchain จะช่วยทำให้ความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สินของเรามีมากขึ้นได้ด้วยวิธีการทางด้านความปลอดภัยของ Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ต้องเข้ารหัส (encryption technology)

หรือที่เราเรียกว่า ‘key’ ตัว Public Key จะระบุ address ของผู้ใช้ที่อยู่บน Blockchain และ Bitcoin ที่ถูกโอนไปมาบนเครือข่ายจะถูกบันทึกข้อมูลการทำธุรกรรมไว้บน adress ของผู้ถือ ส่วน Private Key จะเปรียบเสมือน password ที่ทำให้เจ้าของสามารถเข้าถึง Bitcoin หรือเหรียญดิจิทัลอื่น ๆ ได้ ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้บน Blockchain จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

เครือข่ายบนเลเวลที่สอง

ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ที่ว่านี้จะทำให้เว็บไซต์นั้นมีเลเยอร์ของฟังก์ชันการทำงานตัวใหม่โผล่ขึ้นมา

ปัจจุบันผู้ใช้งาน Bitcoin สามารถที่จะส่งเงินหากันเองได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง อีกทั้งอัตราการใช้งานเหรียญดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมานั้น มูลค่าการทำธุรกรรมของ Bitcoin ต่อวันโดยรวมคิดเป็นตัวเลขที่สูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์ต่อวัน ความได้เปรียบในด้านของความปลอดภัยของ Blockchain นั้นทำให้ธุรกิจด้าน internet กำลังพึ่งพาสถาบันการเงินแบบเก่าในปัจจุบันน้อยลง

คุณ George Howard อาจารย์รับเชิญของ Brown University, Berklee College of Music และผู้ก่อตั้ง George Howard Strategic กล่าวว่า

“ปี 2017 จะเป็นปีที่สำคัญของเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งบริษัท Startup หลายแห่งอาจจะเริ่มมีรายได้มากขึ้นหรือบางแห่งอาจจะไปไม่รอดเนื่องจากมีเงินทุนไม่มากพอ ในปี 2017 นี้จะเป็นปีที่มีการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการผลิตสินค้าเพิ่มมากยิ่งขึ้นแต่ผู้บริโภคอาจไม่สังเกตเห็นว่าเทคโนโลยีนี้เข้ามาทำให้ชีวิตของผู้คนหรือธุรกิจดีขึ้นอย่างไร ปี 2017 เป็นปีที่แสดงให้เห็นถึงการนำ Blockchain มาใช้ประโยชน์มากยิ่งขึ้นซึ่งมันทำให้ผู้ที่สงสัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ได้เห็นการทำงานของมันด้วยตัวเองไม่ใช่แค่ได้ยินมา

Blockchain เป็น Web เวอร์ชัน 3.0 หรือไม่

เทคโนโลยี Blockchain ทำให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตสามารถสร้างมูลค่าและยืนยันข้อมูลดิจิทัลได้แล้วจะส่งผลต่อการใช้งานทางธุรกิจอย่างไร

Smart Contracts

Distributed ledgers หรือฐานข้อมูลแบบกระจายทำให้รหัส (code) ที่อยู่ในสัญญาเกิดผลบังคับใช้ทันทีเมื่อมีการทำตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในสัญญา Ethereum ก็เลยถูกสร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ โดย Smart Contract สามารถตั้งโปรแกรมให้ทำงานได้เมื่อบรรลุเงื่อนไขตามที่กำหนดในสัญญา เช่น ตราสารจะสามารถสั่งจ่ายได้ต่อเมื่อเครื่องมือทางการเงิน (Financial instruments) เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดซึ่งเทคโนโลยี Blockchain และ Bitcoin จะทำให้การจ่ายเงินเป็นไปโดยอัตโนมัติ

เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing economy)

ธุรกิจ Uber และ AirBnB กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ผู้คนที่ต้องการเดินทางไปไหนก็เรียกใช้บริการ Uber ซึ่งเทคโนโลยี Blockchain จะช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถชำระเงินต่อผู้ให้บริการได้โดยตรง (peer-to-peer payment) ทำให้เกิดเศรษฐกิจแบบแบ่งปันที่ไม่ขึ้นกับส่วนกลาง

ยกตัวอย่างเช่น OpenBazaar ใช้ Blockchain ในการสร้าง peer-to-peer eBay เมื่อดาวน์โหลดแอพลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วก็สามารถทำการซื้อขายสินค้าผ่านทาง OpenBazzar ได้เลยโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม หลักการ “no rules” ของ protocol คือชื่อเสียงส่วนบุคคลจะมีความสำคัญต่อการติดต่อทางธุรกิจมากกว่าที่เป็นอยู่บน eBay ในตอนนี้

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

การระดมทุน (Crowdfunding)

ผู้ที่ริเริ่มทำการกระดมทุนอย่าง Kickstarter และ Gofundme เป็นตัวอย่างการทำงานของระบบเศรษฐกิจแบบ peer-to-peer ที่เกิดขึ้นใหม่ ทางเว็บไซต์จะเปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถให้ความเห็นเพื่อพัฒนาสินค้าได้โดยตรง แต่เทคโนโลยี Blockchain พัฒนาการระดมทุนไปไกลกว่านั้นโดยการสร้างกองทุนร่วมลงทุนสำหรับผู้ลงทุน ในปี 2016 องค์กรอิสระของ Ethereum (DAO) ระดมทุนไปกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายใน 2 เดือน ผู้ร่วมลงทุนที่ซื้อ DAO token จะสามารถลงคะแนนเสียงใน smart contract ของการลงทุนร่วมลงทุน (venture capital) ได้ซึ่งคะแนนเสียงจะมีเท่าไรขึ้นอยู่กับว่าผู้เข้าร่วมลงทุนถือ DAO token อยู่กี่เหรียญ แม้การระดมทุนดังกล่าวจะถูกแฮ็คซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรเจ็คนี้ไม่มีการตรวจสอบ (Due Diligence) อย่างเพียงพอทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก อย่างไรก็ตามจากกรณีของ DAO ก็ทำให้รู้ว่าเทคโนโลยี Blockchain ก็มีบทบาททำให้เกิดการร่วมมือทางเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ขึ้นมา

การปกครอง

เทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบกระจาย (distributed database technology) นำความโปร่งใสเข้ามาสู่ระบบเพราะคนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ สามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์กับการเลือกตั้งเพื่อให้การเลือกตั้งมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้นหรือนำไปใช้กับการทำโพลต่าง ๆ Smart Contract ของ Ethereum จะช่วยให้ขั้นตอนต่าง ๆ ดำเนินการโดยอัตโนมัติ

แอพพลิเคชั่น Boardroom เป็นแอพที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถทำการตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งบน Blockchain ทำให้องค์กรธุรกิจนั้นมีความโปร่งใสตรวจสอบได้หากมีการจัดการเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ส่วนได้เสียหรือข้อมูลต่าง ๆ

การตรวจสอบสินค้าโดยใช้ Supply Chain

ผู้ใช้งานส่วนมากเริ่มต้องการที่จะรู้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ตนซื้อมานั้นเป็นจริงหรือไม่ซึ่งเทคโนโลยี distributed ledger จะทำให้เราสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์นั้นได้ เช่น บริษัท Provenance ในสหรัฐ ฯ ใช้ supply chain ในการตรวจสอบสินค้าของผู้บริโภคโดยใช้ Ethereum Blockchain คอยตรวจสอบว่าปลาที่ขายให้กับร้านซูชิในญี่ปุ่นนั้นถูกส่งมาจากอินโดนีเซีย

พื้นที่เก็บเอกสาร

การมีที่เก็บเอกสารแบบ Decentralized มีผลดีหลายประการเพราะการกระจายข้อมูลไปทั่วทั้งเครือข่าย (Distributing data) จะทำให้ข้อมูลเหล่านั้นไม่ถูกแฮ็คหรือสูญหายไป ทั้งนี้ Inter Planetary File System (IPFS) เป็นกลไกการทำงานของเว็บไซต์แบบกระจายตัว เช่นเดียวกับการทำงานของ BitTorrent ซึ่ง IPFS นี้จะไม่มี centralized client-server เข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่ออินเตอร์เน็ตมีความ Decentralized แล้วจะทำให้เว็บไซต์สามารถถ่ายโอนไฟล์หรือถ่ายทอดสดได้เร็วมากขึ้น การพัฒนาเว็บไซต์ให้มีความ Decentralized ไม่เพียงแต่ให้ความสะดวกแก่เรามากขึ้นเท่านั้นแต่ยังเป็นการปรับปรุงระบบ Content Delivery ที่มีการใช้งานมากด้วย

การทำนายการตลาด

การทำนายเหตุการณ์โดยสังเกตพฤติกรรมของกล่มบุคคลจะทำให้การทำนายนั้นมีความแม่นยำมากขึ้น และ Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่าคือ “ภูมิปัญญาของฝูงชน” ที่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะมีการใช้งานในด้านอื่น ๆ อีกในอนาคต เห็นได้จากที่เว็บไซต์ Augur ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับการคาดการณ์การตลาด (Predition market) ที่มีรูปแบบการให้บริการคือจะให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ทำการเสนอขายหุ้นโดยพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ณ เวลานั้น ผู้ที่เข้ามาใช้งานจะได้เงินจากการซื้อขายหุ้นที่มาจากเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและถ้าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริงเท่ากับว่าผู้นั้นซื้อหุ้นถูกตัว ยิ่งซื้อหุ้นที่ตรงกับผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมากเท่าไรก็ยิ่งได้เงินเยอะ นอกจากนี้แล้วทุกคนที่เข้ามาใช้บริการกับทางเว็บไซต์จะสามารถสร้างคำถามและสร้างตลาดที่มาจากการคาดการณ์และจะได้ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทั้งหมดครึ่งหนึ่งจากที่ตลาดทำเงินได้จริง

การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

ในโลกอินเตอร์เน็ต ข้อมูลที่ปรากฏออนไลน์สามารถส่งต่อกันไปได้อย่างแพร่หลายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ผู้ที่เสียประโยชน์คือเจ้าของผลงานมีลิขสิทธิ์ที่ไม่สามารถดูแลผลงานของตนเองได้ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อรายได้ที่เขาควรจะได้รับ ปัญหานี้จะหมดไปเมื่อมี Smart Contract ที่จะเข้ามาช่วยคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและสามารถตั้งค่าขายผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นออนไลน์โดยอัตโนมัติได้ซึ่งก็เข้ามาแก้ปัญหาการที่มีผู้นำผลงานคนอื่นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงาน ยกตัวอย่างกรณีของ Mycelia ก่อตั้งโดยนักร้องนักเขียนของอังกฤษนาม Imogen Heap ซึ่งสร้างระบบ peer-to-peer music distribution โดยใช้ Blockchain ทำให้นักดนตรีสามารถขายเพลงของตนให้กับลูกค้าได้โดยตรงผ่านทาง Mycelia รวมถึงตัวอย่างใบอนุญาตซึ่งจะมี Smart Contract คอยดำเนินการทุกอย่างให้และสามารถจ่ายเงินที่มีจำนวนน้อย (micropayment) เป็น Cryptocurrency ได้

Internet of Things (IoT)

IoT คือการจัดการเครือข่ายสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางประเภท เช่น การวัดค่าอุณหภูมิคลังสินค้า ซึ่งจะมี Smart Contract คอยจัดการอัตโนมัติ  เมื่อระบปฏิบัติการและการอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างวัตถุและกลไกการจัดการมาทำงานร่วมกันทำให้ระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดภาระค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ ตัวอย่างของบริษัทที่นำ IoT มาใช้คือ Samsung, IBM และ AT&T จะใช้แอพพลิเคชั่น IoT ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อบำรุงรักษาอุปกรณ์และมีระบบการจัดการแบบ mass-scale automated systems

โครงการ Neighbourhood Microgrids

เทคโนโลยี Blockchain ทำให้เราสามารถซื้อขายพลังงานทดแทนที่สร้างจาก Neighborhood Microgrids ได้ เมื่อแผง Solar Cell ผลิตพลังงานออกมามากเกินไป Smart Contract ของ Ethereum จะจัดสรรพลังงานนี้ไปให้เพื่อนบ้านโดยอัตโนมัติ ซึ่งก็มีบริษัท Consensys ที่ตั้งอยู่ใน Brooklyn ได้นำเทคโนโลยี Blockchain มาพัฒนาขอบเขตการใช้งานของ Ethereum และสร้างโปรเจ็ค Transactive Grid ที่เรียกว่า LO3 โดยโปรเจ็คนี้จะใช้ Smart Contract ของ Ethereum ในการวัดและจัดสรร Microgrid Energy หรือที่เราเรียกกันว่า Intelligent Grid กรณีนี้ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของระบบ IoT

การจัดการเกี่ยวกับการระบุตัวตนในโลกออนไลน์

เว็บไซต์ทั้งหลายในโลกออนไลน์ตอนนี้จำเป็นต้องมีพัฒนาระบบยืนยันตัวตนให้มีความปลอดภัยมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการยืนยันตัวตนสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงิน เครือข่ายแบบกระจาย (Distributed ledger) จะช่วยเข้ามาปรับปรุงการตรวจสอบตัวตนในโลกออนไลน์พร้อมกับแปลงเอกสารส่วนตัวเป็นดิจิทัล การยืนยันตัวตนที่มีความปลอดภัยนั้นสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารในโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก เช่น ในเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing economy) ความน่าเชื่อถือในการระบุตัวตนเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำธุรกรรมออนไลน์ อย่างไรก็ตามการพัฒนามาตรฐานการระบุตัวตนในโลกออนไลน์มีกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนและมีความท้าทายทางด้านเทคนิค การปรับปรุงมาตรฐานการระบุตัวตนในโลกออนไลน์ดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสำรวจระบบกฎหมายของประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้ในธุรกิจแบบ E-Commerce ตอนนี้ใช้ระบบ SSL ในการยืนยันตัวตนเพื่อทำธุรกรรมบนเว็บไซต์ซึ่งบริษัท Startup Netki มีความตั้งใจที่จะคิดค้นมาตรฐาน SSL สำหรับ Blockchain

การป้องกันการฟอกเงินและการทำความรู้จักลูกค้า (AML และ KYC)

การป้องกันการฟอกเงิน (AML) และการทำความรู้จักลูกค้า (KYC) ก็นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ประโยชน์ ในปัจจุบันสถาบันการเงินจำเป็นที่จะต้องดำเนินการหลายขั้นตอนสำหรับการทำความรู้จักลูกค้ารายใหม่แต่ละราย ซึ่งการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการตรวจสอบลูกค้าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำ KYC และทำให้ระบบการประเมินและตรวจสอบข้อมูลของลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น

บริษัทสตาร์ทอัพอย่าง Polycoin ได้นำระบบ AML/KYC มาใช้ในการตรวจสอบการทำธุรกรรม หากธุรกรรมใดถูกพิจารณาว่าเป็นธุรกรรมที่น่าสงสัย ธุรกรรมดังกล่าวจะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่ Compliance ของบริษัทโดยทันที นอกจากนั้นก็ยังมีบริษัทสตาร์ทอัพอื่น ๆ อีก เช่น บริษัท Tradle ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เรียกว่า Trust in Motion หรือ TiM มีระบบการทำงานคล้ายกับเป็นอินสตราแกรมเพื่อ KYC โดยเฉพาะ โดยลูกค้าจะสามารถถ่าย snapshot สำหรับเอกสารที่สำคัญ ๆ เช่น passport, บิลสาธารณูปโภค และเมื่อธนาคารได้ยืนยันข้อมูลดังกล่าวแล้ว ข้อมูลนี้ก็จะถูกเก็บไว้บน Blockchain

การจัดการข้อมูล

ปัจจุบันนี้เราใช้โซเชียลมีเดียในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสื่อสารกันอย่างมากมายโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างเช่น เฟสบุ๊ค ในอนาคตเราจะสามารถจัดการและขายข้อมูลเหล่านั้นทางโลกออนไลน์ได้เพราะข้อมูลดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ได้ เช่น Bitcoin เป็นสกุลเงินที่นำมาใช้สำหรับการทำธุรกรรม

เช่น โปรเจ็ค MIT Enigma รู้ดีว่าการนำความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานเป็นสิ่งที่ต้องทำประการแรกก่อนที่จะสร้าง marketplace สำหรับข้อมูลส่วนตัว โปรเจ็ค Enigma ใช้เทคนิค cryptographic ในการแบ่งแยกข้อมูลส่วนบุคคลของแต่ละโหนดและประมวลผลข้อมูลของทั้งเครือข่ายทั้งหมดไปพร้อม ๆ กัน นอกจากนี้แล้วการแยกส่วนข้อมูลยังทำให้ Enigma สามารถปรับขนาดข้อมูลได้ซึ่งไม่เหมือนกับ Blockchain ที่ข้อมูลต้องถูกคัดลอกทั้งหมดไปยังทุก ๆ โหนด

การจดทะเบียนที่ดิน

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

ด้วยความที่เทคโนโลยี Blockchain มีลักษณะเป็นเครือข่ายที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ จึงมีการใช้ Blockchain ในการบันทึกข้อมูลอย่างแพร่หลาย เช่น การจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งก็มีโปรเจ็คของหลายประเทศที่ใช้ Blockchain สำหรับการจดทะเบียนที่ดิน เช่น ประเทศฮอนดูรัส เริ่มต้นนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้จดทะเบียนที่ดินในปี 2015 อีกประเทศหนึ่งคือ จอร์เจีย ร่วมกับ  Bitfury Group เพื่อพัฒนาการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้กับการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ก็ยังมีประเทศสวีเดนที่ประกาศว่ากำลังทดลองการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ด้วยเช่นกัน

การซื้อขายหุ้น

เทคโนโลยี Blockchain ทำให้การซื้อขายหุ้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยระบบ peer-to-peer ทำให้การยืนยันการซื้อขายสามารถทำได้แทบจะทันทีเพราะว่ามันตัดตัวกลางออกไป เช่น สำนักหักบัญชี ผู้สอบบัญชีและผู้ดูแลระบบจะถูกตัดออกนอกกระบวนการ ตลาดหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์หลายแห่งกำลังสร้างรูปแบบแอพพลิเคชั่น Blockchain สำหรับการเสนอการให้บริการของตน เช่น ASX (Australian Securities Exchange), Deutsche Börse (ตลาดหลักทรัพย์แฟรงค์เฟิร์ต) และ JPX (Japan Exchange Group) หรือ Nasdaq’s Linq ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายในภาคเอกชน (ระหว่างบริษัทสตาร์ทอัพที่ทำ pre-IPO กับนักลงทุน) ร่วมมือกับบริษัท Chain (บริษัทเทคโนโลยีบล็อคเชน) ในการพัฒนาโครงการที่จะนำ Blockchain มาใช้ในการประชุมผู้ถือหุ้น (Proxy Voting) ในตลาดหุ้นเอสโตเนียด้วย

ที่มา Block Geeks

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น