<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

“ธนาคารควรจะหันมาใช้ Blockchain ผสมกับบริการที่มีอยู่” กล่าวโดยผู้บริหารจาก Ripple

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เหรียญ Ripple หรือเหรียญที่ทางผู้สร้างต้องการให้มันเป็น “เหรียญเพื่อการโอนเงินทั่วโลก” นั้นได้เข้าไปมีส่วนร่วมในหลายๆธนาคารในการช่วยอำนวยความสะดวกให้พวกเขาสร้างบริการโอนเงินไปทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย โดยตอนนี้พวกเขามีแนวคิดว่าเทคโนโลยี Blockchain นั้นจะอาจจะสามารถหรืออาจจะไม่สามารถช่วยเหลือธนาคารได้

เทคโนโลยี Blockchain นั้นเริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากในปัจจุบัน และหลายๆคนก็ตั้งชื่อให้มันว่าเป็นโซลูชันสำหรับปัญหาระดับโลกในทุกๆปัญหา ซึ่งในตอนนี้เราได้เห็นบางบริการที่ได้ทำการขยับและปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนตั้งแต่การขายข้าว ไปจนถึงวงการเพลง

แต่หากลองมองดูดีๆแล้ว เทคโนโลยี Blockchain นั้นดูเหมือนว่าจะสามารถนำมาปรับใช้ในวงการธนาคารได้ดีที่สุด โดยเฉพาะ Bitcoin ที่ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการโอนเงินหาสู่กันข้ามโลกอย่างสะดวกและปลอดภัย

ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่ดีหากเรานำเอาเทคโนโลยีนี้ไปปรับใช้กับบริการของธนาคาร โดยอาจจะให้พวกเขาสร้างเหรียญคริปโตอะไรสักอย่างขึ้นมา ทำไมจะไม่ได้ล่ะ?

บริการแบบผสมผสาน

โดยปกติแล้ว ธนาคารเป็นประเภทธุรกิจที่ต้องขายความน่าเชื่อถือเป็นหลัก โดยพวกเขาจะต้องสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้บริการที่นำเงินมาฝากเกิดความสบายใจในเงินของพวกเขา

ซึ่งในเคสของ public blockchain (บล็อกเชนแบบสาธารณะ) นั้นยังมีปัญหาอยู่ปัญหาหนึ่งที่รายละเอียดสำคัญส่วนตัวของผู้ใช้บริการธนาคารสามารถที่จะถูกเปิดให้เข้าถึงโดยใครก็ได้แบบสาธารณะ

กระนั้น ปัญหานี้ก็สามารถที่จะถูกแก้ไขได้ด้วย private blockchain (บล็อกเชนแบบส่วนตัว) แต่ทว่าปัญหาใหม่ก็เกิดขึ้นมาอีก เนื่องจากข้อเสียของ private blockchain ที่ไม่ปลอดภัย เสี่ยงต่อการแฮคได้เพราะจำนวน node ที่มีจำกัด

นาย Marcus Treacher หรือหัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์และการตลาดทั่วโลกของ Ripple ได้ออกมาอธิบายถึงการนำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาประยุกต์ใช้กับบริการของธนาคารว่าแบบไหนเหมาะสมมากที่สุด

นาย Marcus นั้นมองว่าการที่ธนาคารจะสามารถใช้เทคโนโลยี Blockchain ได้อย่างประสบความสำเร็จนั้น พวกเขาจะต้องใช้วิธีแบบ ‘ลูกผสม’

โดยวิธีแบบลูกผสมนั้นสามารถที่จะช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านความไม่เป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า และความไม่ปลอดภัยของ private blockchain ด้วย

โดยเขากล่าวว่า

“สำหรับ Ripple นั้น เราได้ทำการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องความช้า, การ scaling และต้นทุนได้หมดแล้ว เทคโนโลยีของ Ripple นั้นได้ถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อ ledger ระดับโลกและเครือข่ายเข้าด้วยกันโดยที่ไม่ต้องล้างระบบเดิมของธนาคารทิ้งไป อีกทั้งยังสามารถทำให้ธนาคารมีอำนาจที่จะควบคุมความเป็นส่วนตัวของลูกค้าผ่านโพรโตคอล interledger โดยซอฟต์แวร์ของ Ripple นั้นกำลังถูกใช้โดยธนาคาร Axis และ Yes Bank (สองธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย) รวมถึงสถาบันการเงินอื่นๆที่ให้บริการโอนเงินข้ามประเทศแบบ realtime”

ความเร็ว

อ้างอิงจาก themerkle นั้น เหรียญ Ripple ถือเป็นหนึ่งในเหรียญที่มีความเร็วในการโอนมากที่สุด โดยการโอนนั้นใช้เวลาเพียงแค่ 3.5 วินาทีเท่านั้น

ในการที่ธนาคารจะเลือกระบบ Blockchain มาใช้สักระบบนั้น แน่นอนความเร็วนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่พวกเขาจะต้องพิจจารณาเป็นอันดับแรก

นาย Marcus ยังได้กล่าวอีกว่าเทคโนโลยี Blockchain ในรูปแบบเพียวๆดั้งเดิมนั้นไม่สามารถที่จะช่วยโปรเซสธุรกรรมของธนาคารทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว เขาคิดว่า ณ ขณะนี้ยังไม่มีใครสามารถค้นหาวิธีตรวจสอบจำนวนธุรกรรมของทุกๆธนาคารทั่วโลกที่เกิดขึ้นในทุกๆปีได้ แต่เขาสามารถที่จะให้จำนวนตัวเลขโดยประมาณได้ อย่างเช่น Visa ที่มีจำนวนธุรกรรมทั่วโลกเกิดขึ้นราวๆ 2,000 ธุรกรรมต่อวินาที ในขณะที่ Blockchain ของ Bitcoin นั้นสามารถทำได้แค่ 7 ต่อวินาทีเท่านั้น

การใช้ Ripple

เมื่อพูดถึงการใช้บริการของ Ripple นั้น นาย Marcus กล่าวว่า “วิธีการใช้งาน Ripple แบบผสมนั้นถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยเทคโนโลยีของ Ripple นั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ใช้บริษัทใหญ่ๆใช้ อีกทั้งยังสามารถรองรับการทำธุรกรรมจำนวนมากด้วยความเร็วที่สูงอีกด้วย อีกทั้งมันยังถูกออกแบบมาเพื่อให้ประสบการณ์การส่งเงินข้ามประเทศนั้น “ไร้รอยต่อ” กล่าวคือสามารถส่งหากันแบบถึงทันที, มีความน่าเชื่อถือ และมีความคุ้มทุน ซึ่งในตอนนี้สถิติเวลาการโอนเหรียญ XRP ผ่าน Blockchain ของ Ripple นั้นใช้เวลาเพียงแค่ 4 วินาที ซึ่งถือว่าเร็วมาก โดยเรากำลังพัฒนาให้มันเร็วมากขึ้นไปกว่านี้อีก”

เร็วกว่านี้อีก

ท้ายสุดนั้นมันจบลงเพียงแค่ธุรกรรมผ่านธนาคารของพวกเราสามารถทำได้เร็วขึ้นกว่านี้เพียงแค่นั้นเองหรือ? นี่อาจจะเป็นเพียงแค่เรื่องที่หลายๆคนให้ความสนใจในการใช้ธนาคารเพื่อโอนเงิน แต่ไม่ใช่ในหมู่ผู้ใช้เหรียญคริปโตแบบเต็มตัวที่คิดว่าธนาคารนั้นเป็นสิ่งล้าสมัยเป็นแน่

สำหรับการโอนเงินข้ามประเทศในปัจจุบันนั้นใช้เวลานานมากเกินไป ซึ่งเป็นระดับวันหลายๆวัน ซึ่งมันน่าขำตรงที่ชื่อของผู้ให้บริการนั้นมีชื่อว่า SWIFT (แปลว่ารวดเร็ว) ที่มีชื่อย่อมาจาก Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunications

SWIFT นั้นทำหน้าที่เหมือนเป็นระบบส่งข้อความที่ทางสถาบันการเงินและธนาคารใช้เพื่อส่งข้อมูลและวิธีการใช้ security code หากัน

ซึ่งอันที่จริงแล้ว SWIFT นั้นไม่ได้เป็นผู้ช่วยโอนเงินแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงแค่ผู้ส่งข้อความและวิธีการเท่านั้น

Ripple นั้นถือเป็นอีกหนึ่งโซลูชันด้านการช่วยโอนเงินข้ามประเทศที่เจาะกลุ่มเป้าหมายธนาคารและสถาบันการเงินที่ถือว่ามาแรงมากในขณะนี้ โดยในปัจจุบันมีธนาคารทั่วโลกที่ใช้ระบบ Blockchain ดังกล่าวนี้มากกว่า 75 ธนาคารแล้ว โดยธนาคารไทยพาณิชย์ของประเทศไทยก็ถือเป็นหนึ่งในนั้นด้วยเช่นกัน

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น