<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

[รีวิว] EMI แพลตฟอร์มที่จะนำ AI, Big Data และ Blockchain มาปฏิวัติวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่ามีหลากหลายอุตสาหกรรมที่ได้นำเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการ Supply Chain, อุตสาหกรรมเกม หรืออุตสาหกรรม Content ในปัจจุบันได้มีการนำ Blockchain มาใช้ในอุตสาหกรรม Healthcare หรือสุขภาพ โดยมันจะสามารถทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมได้รับประโยชน์มากขึ้น

ในแต่ละยุคสมัย เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้นพัฒนาต่อยอดมาเรื่อย ๆ จนในปัจจุบันนี้ได้มีโปรเจกต์ ที่ผสานเทคโนโลยี AI, Blockchain และ Big Data เข้าด้วยกัน เพื่อนำมันมาใช้กับวิทยาศาสตร์การแพทย์

EMI คืออะไร

EMI ย่อมาจาก Ecosystem of Medical Informatics หรือ ระบบนิเวศของสารสนเทศทางการแพทย์ โปรเจกต์ดังกล่าวต้องการสร้างระบบที่พัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ซึ่งเป็นโปรเจกต์ที่ออกแบบมาโดยมีความตั้งใจ 3 ประการ คือ

  1. รับรองว่า ข้อมูลทางการแพทย์ที่เผยแพร่ไปนั้นจะสามารถติดตามได้
  2. การรวมข้อมูลทางการแพทย์จากหลายแหล่งข่าว
  3. การวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ด้วย Big Data และ AI

ด้วยความตั้งใจดังกล่าว แพลตฟอร์ม EMI จำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจบางอย่างเพื่อให้ทั้งหมอ, คนไข้, นักวิจัย หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ เข้าร่วมแพลตฟอร์ม ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของ Cryptocurrency ที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับ และนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ในด้านสุขภาพ

ปัจจุบัน พวกเขาได้ประสานงานร่วมกับ EST Corporation ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมของสถาบันทางสุขภาพกว่า 16,000 สถาบัน และสมาคมทางการแพทย์กว่า 72 สมาคม

ประโยชน์ของ EMI

สาเหตุที่ต้องมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาใช้นั้น เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลทางการแพทย์ถูกจดบันทึกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความสะดวกกว่าแต่ก่อน แต่ก็ยังคงเป็นระบบแบบ Centralized ส่งผลให้ยังมีเหตุการณ์การรั่วไหลของข้อมูลอยู่บ่อยครั้ง แพลตฟอร์ม EMI จะคอยจัดการสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งทำงานด้วย Blockchain พร้อมทั้งยังมีการเข้ารหัสข้อมูลอีกด้วย ซึ่งจะป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลได้อย่างรัดกุม หากเปรียบเทียบกับระบบเก่า

นอกจากนี้ แพลตฟอร์ม ยังใช้การยืนยันตัวตนทางชีวภาพถึงจะเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลเหล่านั้นเป็นของผู้ใช้งานอย่างแท้จริง

นอกเหนือจากความเป็นเจ้าของในข้อมูลของผู้ใช้แล้ว ยังมั่นใจได้ว่าผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าจะมอบข้อมูลของพวกเขากับใคร และยังสามารถสร้างผลตอบแทนจากข้อมูลทางการแพทย์ของพวกเขาได้อีกด้วย

การทำงาน

เมื่อใดก็ตามที่ ผู้ที่เข้าร่วมกับแพลตฟอร์ม EMI มอบข้อมูลทางการแพทย์ของเขา พวกเขาจะได้รับโทเคน EMI ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดทางการแพทย์ได้ กระบวนการขายข้อมูลนี้จะถูกจัดการโดย Blockchain เพื่อความโปร่งใส ยกตัวอย่างเช่น สถาบันทางการแพทย์ต่าง ๆ สามารถใช้โทเคน EMI ในการซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ใช้ในโรงพยาบาล โดยจะมี EMI Foundation เป็นผู้ขาย

ทีมงาน

นาย Fumihiro Shimizu ทำหน้าที่เป็น CEO ของโปรเจกต์ โดยเขาเป็น CEO ของ EST Corporation LTD. เขาก่อตั้งบริษัทตั้งแต่ปี 2007 ซึ่งเป็นบริษัทด้านการแพทย์ที่มีลูกค้าและสถาบันจำนวนมากใช้บริการอยู่

นาย Jun Asama ทำหน้าที่เป็น CFO ของโปรเจกต์พร้อมทั้ง CFO ของบริษัท EST Corporation ตั้งแต่ปี 2009 จะเข้ามาดูแลด้านการเงินของโปรเจกต์

พร้อมทั้งสมาชิกคนอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่มาจากบริษัท EST Corporation ไม่ว่าจะตำแหน่ง CBDO และ CTO เป็นต้น รวมทั้งนาย Aditya Tallapragada CEO ของ AKT Consulting Group ซึ่งให้คำปรึกษาบริษัท Truven Health ที่มี IBM Watsan Health ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าของ

นอกจากนี้พวกเขายังมี SBI Investment ซึ่งเคยนำการระดมทุนกว่า 17.5 ล้านดอลลาร์ในรอบ Series B ให้กับ Omise อีกด้วย

ICO

อ้างอิงจากเจ้าของโปรเจกต์ การระดมทุนดังกล่าวจะไม่มี Soft Cap แต่จะมี Hard Cap ที่ 50 ล้านดอลลาร์ โดยจะเริ่มระดมทุนวันที่ 27 สิงหาคมนี้เป็นวันแรก ซึ่งในช่วงนี้ผู้ซื้อจะได้รับโบนัส 15 เปอร์เซ็นต์ และจะลดลงเรื่อย ๆ ตามระยะเวลา ซึ่งจะสิ้นสุดที่ 3 ตุลาคมที่จะถึงนี้

โทเคนดังกล่าวจะเริ่มต้นที่ราคา 0.001 ETH และพวกเขาจะรับเฉพาะ ETH เท่านั้นในการระดมทุน

อ้างอิงจากเจ้าของโปรเจกต์สาเหตุที่ไม่มี Soft Cap เนื่องจากพวกเขามีความตั้งใจที่จะทำอยู่แล้ว ไม่ว่าจะระดมทุนได้เท่าไรก็ตาม และพวกเขามีบริษัทที่มีเงินทุนเป็นหลักเป็นแหล่งอยู่แล้ว

สรุป

โปรเจกต์ดังกล่าวมีความน่าสนใจที่เข้าใจถึงปัญหาของอุตสาหกรรมที่เขาอยู่ เนื่องจากมีประสบการณ์หลายปีจึงมองเห็นช่องโหว่ว่า สามารถใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ รวมทั้งมันเป็นโปรเจกต์ของบริษัทที่มีพื้นฐานอยู่แล้ว และมีแผนชัดเจน พร้อมทั้งโมเดลที่เรียบง่าย ซึ่งสามารถรองรับผู้ใช้งานได้ในระยะยาว และอาจส่งผลให้มีผู้คนใช้แพลตฟอร์มได้ไม่ยากนัก

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์หลักของ EMI ของบริษัท

หมายเหตุ: การลงทุนในตัวเหรียญ Cryptocurrency มีความเสี่ยงสูงมาก ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนทำการตัดสินใจลงทุน ทางสยามบล็อกเชนจะไม่รับผิดชอบในความสูญเสียในทุกกรณี บทความนี้เป็นบทความสปอนเซอร์

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น