<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ทำไมเทคโนโลยี Blockchain ยังไม่ได้รับการยอมรับจากองค์กรต่าง ๆ ถึงแม้จะดีกว่าระบบเดิม ๆ ?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ก่อนหน้าปี 2000 นั้นระบบ IT และอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ยังไม่ได้มีความความสำคัญมาก องค์กรต่าง ๆ ก็ยังคงใช้ระบบดั้งเดิมกันมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้ที่วงการ IT เติบโตอย่างรวดเร็ว และระบบ IT กลายเป็นอะไรที่องค์กรไม่สามาถขาดมันได้เลย ถ้าไม่มีระบบจะเท่ากับว่า ทำให้องค์กรเข้าไปพบกับความเสี่ยงที่รุนแรง

อ้างอิงจาก CoinDesk ถึงแม้ในทางทฤษฎีระบบ Blockchain นั้นจะเป็นระบบที่มีมากกว่าระบบ IT ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่สำหรับองค์กรใหญ่ ๆ นั้นก็ใช่ว่าจะเปลี่ยนอะไรปุบปับได้ทันที พวกเขาจำเป็นต้องมั่นใจว่าระบบนั้นสามารถรองรับปริมาณธุรกรรมจำนวนมากได้ รวมทั้ง Partner หรือหุ้นส่วนต่าง ๆ ขององค์กรนั้นจำเป็นต้องยอมรับและปรับระบบตามอีกด้วยถึงจะเห็นผล

สิ่งหลัก ๆ ที่ Blockchain สามารถเข้าไปแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพคือการจัดการ Supply Chain ขององค์กร แต่การที่มันดีกว่า ก็ไม่ได้แปลว่าพวกเขาจะนำมันมาใช้เสมอไป

การ Tokenization นั้นถือเป็นอีกเครื่องมือของเทคโนโลยี Blockchain อีกอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้ป้องกันปัญหาการ Double-Spend ได้ โดยการทำข้อมูลต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบโทเคน ซึ่งฟังดูดีมากในเชิงทฤษฎีและคงคิดว่า มีองค์กรได้นำมันไปใช้อย่างแพร่หลายแล้วแน่ ๆ แต่ความเป็นจริงคือ แทบจะยังไม่มีองค์กรไหนนำไปใช้อย่างจริงจังเลย

การ Double-Spend ขององค์กร

ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถเสกเงินขึ้นมาในบัญชีได้เลย แต่ดูเหมือนว่า เราะสามารถสร้าง หรือเสกข้อมูลต่าง ๆ ในระบบ IT ขององค์กรในปัจจุบันได้เลย ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นรวมไปถึงข้อมูลของการสต็อคของต่าง ๆ ด้วย

ในจุดนั้นเอง องค์กรสามารถใช้การ Tokenization และ Blockchain ในการเชื่อมระบบ Supply Chain เข้าหากันได้เพื่อป้องกันการ Double-Spend และจำทำให้มีการตรวจสอบได้ตลอดเวลา ซึ่งมีการคาดคะเนว่าระบบเหล่านี้จะสามารถลดพื้นที่การสต็อคได้อย่างต่ำ 20 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่านั้น เนื่องจากความแม่นยำที่เพิ่มมากขึ้น และผลตอบแทนที่ได้มาจากการลงทุนนั้นก็ค่อนข้างเยอะซะด้วย

แต่ประเด็นคือ องค์กรใหญ่ ๆ เหล่านั้นมีระบบการจัดการ Supply Chain อยู่แล้ว ซึ่งมัน เป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ และมีค่าใช้จ่ายที่สูง เนื่องจากเป็นการทำงานแบบ Point-to-point ระหว่างเจ้าหนึ่งไปยังอีกเจ้าหนึ่งโดยที่ไม่มีบริษัทขนส่งกลาง ทำให้ส่วนใหญ่ระบบนี้ไม่สามารถดูย้อนหลัง Supply Chain ได้

ถึงแม้ระบบดังกล่าวจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไรนัก แต่ความจริงก็คือ ระบบเหล่านี้ยังสามารถทำงานได้อยู่ปกติในทุก ๆ วันโดยที่ไม่ค่อยมีปัญหาอะไร และการที่จะแทนที่ระบบที่ทำงานได้ตามต้องการอยู่แล้วย่อมเป็นอะไรน่ากลัว และค่อนข้างมีความเสี่ยง หากไม่มีเหตุจำเป็นจริง ๆ

ผลที่ตามมาคือ หากไม่ได้มีเหตุจำเป็น หรือว่า Solution นั้นให้ผลตอบแทน (ROI) ที่คำนวณมาแล้วสูงมาก ๆ จริง ก็อาจจะยังไม่น่าสนใจมากพอที่จะทำให้องค์กรต่าง ๆ หันมาใช้ Blockchain ได้

สรุป

เทคโนโลยี Blockchain ข้อดี, มีศักยภาพแฝงอยู่ และสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้จริง โดยเฉพาะการจัดการ Supply Chain แต่ดูเหมือนว่าระบบขององค์กรนั้นจะสามารถทำงานได้ปกติอยู่แล้ว และการที่จะเปลี่ยนระบบใหม่ขององค์กรทั้งแผงนั้นทำให้เกิดความเสี่ยง ซึ่งถ้าไม่วิกฤติ หรือได้ผลตอบแทนกลับมาเยอะจริง ๆ พวกเขาก็อาจจะยังไม่สนใจในเร็ว ๆ นี้ แต่ไม่แน่ว่า ในอนาคตหากมี Solution Blockchain ใหม่ ๆ ที่วัดผลได้ และได้ผลตอบแทนจำนวนมากก็อาจจะโน้มน้าวพวกเขาได้เช่นกัน

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น