<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Privacy Coin มีข้อดีหรือข้อเสียหรือไม่? อยู่ที่การเลือกใช้งานหรือเปล่า

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เป็นที่รู้กันว่าการทำธุรกรรมด้วยคริปโตนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความโปร่งใส โดยทุก ๆ คนสามารถเข้าไปตรวจสอบธุรกรรมได้ตลอด และไม่สามารถมีการเปลี่ยนแปลงธุรกรรมใด ๆ ได้ด้วย

นอกจากนี้ มันก็มีเหรียญอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Privacy Coin ซึ่งมันจะเป็นเหรียญที่ปกปิดการทำธุรกรรมของผู้ส่ง ผู้รับได้ และก็มีมานานแล้วอย่างเช่น Monero, Zcoin หรือ Zcash

ล่าสุดก็มีเหรียญ Privacy Coin ตัวใหม่อย่าง BEAM และ GRIN ที่ผู้สร้างเหรียญได้เห็นถึงความสำคัญในการทำธุรกรรมแบบส่วนตัวหรือ Confidential Transactions นั่นเอง

จริงแล้วการที่เหรียญสามารถปกปิดการทำธุรกรรมได้นั้นมันมีข้อดีข้อเสียหรือไม่

ธุรกรรมระหว่างเราสองคน

คอนเซ็ปของการทำธุรกรรมด้านคริปโตคือการทำธุรกรรมที่โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ แต่ไม่มีวันที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูล ๆ ได้นั่นเอง

แต่ถ้าเราอยากที่จะทำธุรกรรมทางการเงินที่อยากให้รับรู้แค่เรากับผู้รับเท่านั้น เราก็คงที่จะต้องเลือกเหรียญที่สามารถปกปิดการทำธุรกรรมได้อย่างเช่น Zcoin, Monero, Zcash นั่นเอง

ประโยชน์ของ Privacy Coin ก็คงเป็นการสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งานนั่นแหละ เพราะหลาย ๆ คนก็อยากที่จะรักษาความเป็นส่วนตัวให้กับตัวเองและผู้รับด้วยก็เช่นกัน

ใช้ในกิจกรรมบางอย่างได้

อ้างอิงจากรายงานที่ผ่าน ๆ มานั้น Zcoin เหรียญคริปโตของไทย ได้ถูกพรรคการเมืองชื่อดังอย่างพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้นำ Blockchain ของ Zcoin ไปใช้ในการลงคะแนนเลือกหัวหน้าพรรคเลยทีเดียว

แต่แม้ว่า Blockchain ของ ZCoin นั้นจะทำให้ผู้ลงคะแนนนั้นสามารถแน่ใจถึงความเป็นส่วนตัวของผู้โหวต แต่นายปรมินทร์ได้ให้สัมภาษณ์กับ The Nation ว่าผลการโหวตในหลังจากนั้นจะสามารถถูกตรวจสอบร่วมกันได้ในภายหลังนั่นเอง

ซึ่งการลงคะแนนอะไรบางอย่าง หลาย ๆ คนก็อยากได้ความเป็นส่วนตัวในการเลือก เพราะเป็นการป้องการการอคติหรือความไม่เห็นด้วยทางความคิดนั่นเอง

และถ้าจะกล่าวถึงข้อเสียสำหรับการปกปิดการทำธุรกรรมทางการเงินด้วย Privacy Coin แล้วละก็นั้น ก็มีไม่น้อยเลยทีเดียว

แฮ็กเกอร์เห็นช่อง

ในช่วงปี 2018 ที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าแฮ็กเกอร์มักจะฝัง Script แอบขุดเหรียญไว้ตามเว็บต่าง ๆ เพื่อหลอกล่อเหยื่อให้คิดกับและแอบลง Script ขุดเหรียญไว้

และเหรียญที่แฮ็กเกอร์ชอบมากที่สุดก็คือ Monero เพราะมัน Track ข้อมูลยาก และมันเป็นหนึ่งใน Privacy Coin ที่ได้รับความนิยมมากสุดนั่นเอง

มีรายงานและมีการวิเคราะห์ตัวอย่าง Malware จำนวนกว่า 4.4 ล้านตัวในช่วงเวลา 12 ปีตั้งแต่ปี 2007 ถึง 2018 พบเจอ Malware ขุดเหรียญ 1 ล้านตัวถูกระบุว่าเป็นสิ่งอันตราย โดยในรายงานระบุว่า:

“มีกลยุทธ์ในการกระจาย Malware ที่แตกต่างกันไป แต่ทั้งคู่ก็กล่าวว่าวิธีการทั่วไปที่มีประสิทธิภาพที่สุดก็คือการส่ง Malware ผ่าน Dropbox หรือ Github และฝังพวก Malware Claymore และ xmrig ลงไป”

ซื้อของบน Dark Web

เป็นเรื่องปกติที่มีการขายของบน Dark Web ก่อนหน้าที่จะมี Bitcoin หลายคนก็ยังคงใช้สกุลเงิน Fiat ในการซื้อของบน Dark Web แต่เมื่อสกุลเงินดิจิทัลเกิดขึ้นมา หลายคนก็เริ่มที่จะใช้มันในการซื้อของ

ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า พยาบาลถูกจับกุมข้อหาขายยาเสพติดบน Dark Web เพราะเธอใช้ Bitcoin ในการซื้อขายนั่นเอง และแน่นอนว่า Bitcoin นั้นสามารถถูกตรวจสอบได้อย่างโปร่งใสบนเทคโนโลยี Blockchain ที่แม้ว่าจะไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของ Address แต่ก็สามารถไล่เช็คจากปลายทางที่มีการแลกออกเป็นเงินสด (เช่นบนเว็บเทรด) และไล่กลับไปยัง address ต้นทางได้

ซึ่งจุดนี้จึงทำให้อาชญากรเริ่มหันไปใช้เหรียญ Privacy Coin กันมากขึ้น เนื่องจากว่ามันไม่สามารถถูกตามตัวผู้ใช้งานได้ เพราะทุก ๆ ธุรกรรมที่ทำนั้นจะถูกปกปิดเป็นความลับหมด ไม่ว่าจะเป็นจำนวนที่โอน, ปลายทางที่ถูกโอน และข้อมูลส่วนตัว

สุดท้าย Privacy Coin ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของมัน มันอยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้มันในด้านไหน ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์หรือก่อโทษก็ได้ทั้งนั้นนั่นเอง

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น