<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

CEO เว็บเทรดเผย ความพยายามในการออกกฎหมายกำกับคริปโตของธนาคารกลางเมกซิโกคือหายนะ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

กฎเกณฑ์ที่ออกโดยธนาคารแห่งชาติเม็กซิโกที่รอประกาศหลายฉบับ ล่าสุดมีฉบับหนึ่งผ่านมติออกมาแล้วซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อตลาดคริปโตเป็นอย่างมาก ประธานเว็บ Exchange แห่งหนึ่งได้กล่าวว่า “ผลกระทบจากการออกกฎหมายฉบับนี้นั้นส่งผลต่อวงการอุตสาหกรรมเป็นอย่างมากเรียกได้ว่าเป็นหายนะเลยก็ได้” การออกฎหมายฉบับนี้ออกมาแสดงให้เห็นว่าธนาคารกลางเม็กซิกโกเพิกเฉยต่อคริปโตเคอร์เรนซีเป็นอย่างมาก

ความเพิกเฉยของธนาคารกลาง

หลังจากที่ได้มีการออกกฎมากำกับสถาบัน Fintech จากทางธนาคารกลางแห่งเม็กซิโก (Banxico) ก็มีผู้ออกมาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม นาย Sebastian Acosta Checa ประธานบริษัท Isbit ซึ่งเป็น Exchange Crypto ก็ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า “สถาบัน Fintech ต้องทำการป้องกันลูกค้าจากการถูกเปิดเผยทรัพย์สินเสมือน (คริปโตเคอร์รเรนซี) ด้วยการอ้างเหตุผลว่าคริปโตมีความผันผวนและมีการทำงานที่ซับซ้อน

“การออกกฎเกณฑ์นี้เป็นการห้ามสถาบันไม่ให้เสนอขายทรัพย์สินเสมือนต่อผู้บริโภคถือว่าเป็นหายนะมาก การออกกฎเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าคนของธนาคารกลางเพิกเฉยต่อสิ่งที่ตนกำลังออกกฎเกณฑ์มากำกับ” เขากล่าว

สภาของเม็กซิโกได้ผ่านร่างกฎหมายกำกับบริษัท Fintech ในเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ทำให้ Banxico (ธนาคารแห่งชาติเม็กซิโก) เป็นผู้ควบคุมดูแลและตัดสินใจเกี่ยวกับคริปโตเคอร์เรนซีในการอนุญาตให้เสนอขายคริปโตต่อสาธาณะชนผ่านทางนิติบุคคลที่ได้รับการรับรองโดยกฎหมายทั้งหมด ซึ่งในตอนนี้สังคมคริปโตและผู้มีส่วนได้เสียต่างก็คาดหวังว่าธนาคารกลางจะออกกฎเกณฑ์ที่ผลักดันอุตสาหกรรม Fintech และเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

ได้เผยแพร่กฎเกณฑ์ออกมามันเป็นที่ชัดเจนว่าภาครัฐจะไม่อนุญาตให้มีการเสนอขายคริปโตเคอร์เรนซีใด ๆ จากบริษัททางการเงินที่ได้รับการกำกับดูแล นาย Tomas Alvarez ประธานบริษัท Volabit ซึ่งเป็น Exchange อีกแห่งหนึ่งในประเทศกล่าว

ข้อจำกัดไม่เด็ดขาด

เว็บ Exchange แห่งเม็กซิโก Bitso ได้อธิบายใน blog post ของตนว่า “หนังสือเวียนดังกล่าวออกมาโดยตรงเพื่อระบุการดำเนินการต่อคริปโตเคอร์เรนซี” โดยเว็บดังกล่าวได้ระบุว่า “Banxico ได้กล่าวว่าตัวองค์กรนั้นต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากการใช้งานสกุลเงินคริปโตเหล่านี้ตราบใดที่มันยังถูกใช้งานสำหรับการดำเนินการภายในของสถาบันการเงินทั้งหลาย” อีกทั้งยังได้เน้นย้ำว่า

“ทั้งนี้ มันไม่ได้หมายความว่าการดำเนินการใดๆเกี่ยวกับสกุลเงินคริปโตนั้นเป็นการต้องห้าม”

นาย Alvarez ได้เรียกเหตุการณ์นี้ว่า catch-22 เนื่องจากการที่กฎหมายต้องการให้บริษัทซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตเป็นสถานบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล เค้ายังได้กล่าวอีกว่า “อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ดำเนินกิจการได้รับใบอนุญาตแล้ว จะไม่สามารถขึ้นทะเบียนรายชื่อสกุลเงินคริปโตอื่นๆได้เลย ทำให้การดำเนินกิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินคริปโตนั้นไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย ตราบใดที่ยังมีกฎหมายดังกล่าวอยู่”

การตีความคำว่า ‘ผู้บริโภค’

กฎเกณฑ์หลายข้อซึ่งออกโดย Banxico นั้นยังคงคลุมเคลือ อย่างไรก็ตาม Acosta Checa ได้กล่าวต่อสื่อว่า

“หนังสือเวียนดังกล่าวนั้นดูเหมือนว่าจะถูกทำขึ้นในเวลาที่เร่งรีบและไม่ได้รับการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนรวมถึงหลักเกณฑ์พื้นฐาน โดยตัวหนังสือได้ให้อำนาจดุลพินิจในการตีความแก่ตัวบทในหลายๆส่วน”

ตัวอย่างตามที่ได้มีการตีความเช่น “สถาบันทางการเงินและธุรกิจการค้าระหว่างประเทศทั้งหลายไม่เป็น ‘ผู้บริโภค’ และสามารถดำเนินการได้อย่างอิสระ” แก่ exchange ของตน โดยทางผู้บริหารได้กล่าวย้ำอีกว่า ISBIT ได้ทำการ “เปลี่ยนทิศทางไปสนับสนุนภาคธุรกิจ สถาบันต่าง ๆ (ซึ่งได้รับอนุญาตให้สามารถถือสินทรัพย์เสมือนได้ในงบการเงินตามพระราชบัญญัติที่ออก ณ​วันที่ 9 มีนาคม 2018) ดังนั้นเราจึงไม่จำเป็นต้องปิดตัวลงหรือเสียลูกค้าส่วนใหญ่ไป ”

อย่างไรก็ตาม นาย Acosta Checa ได้เข้าใจว่าภายใต้กฎหมายใหม่นั้น ถ้า exchange ของเค้าต้องการที่จะ “ตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าผู้เป็น ‘ผู้บริโภค/สาธารณชน’ พวกเค้าจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลให้หยุดการเดินหนังสือเวียนซึ่งออกประกาศโดยธนาคารแห่ง Mexico (ไม่ใช่ตัวพระราชบัญญัติทั้งฉบับซึ่งผ่านร่างโดยรัฐบาลชุดก่อนในวันที่ 9 มีนาคม 2018)” ซึ่งเค้ายังได้ชี้แจงอีกว่า

“ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งอนุมัติโดยรัฐสภา เรายังคงได้รับอนุญาตในการดำเนินต่อ ‘ผู้บริโภค’ จนกระทั่งเดือนกันยายน”

ความเสียหายต่อเศรษฐกิจ

นาย Isbit ได้มีความเชื่อว่ากฎเกณฑ์ใหม่ว่าด้วยคริปโตนั้นจะส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เค้ายังได้อธิบายอีกว่า “Mexico เป็นทางสิ้นสุดแก่ช่องทางการส่งเงินออก (remittance corridor)ที่ใหญ่ที่สุดในโลก(มีประชากรย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก) อีกทั้งยังอยู่ในอันดับที่หกของประเทศซึ่งมีนักท่องเที่ยวมากที่สุด และยังเป็นประเทศที่มีข้อตกลงการค้าเสรีมากที่สุดในโลกอีกด้วย” ดังนั้นประเทศนี้จึงถือได้ว่า “สามารถได้รับประโยชน์อีกมาก จากคำร้องเพื่อการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์เสมือน (activos virtuales) เพื่อเป็นการสนับสนุนหลักการค้าเสรี การท่องเที่ยว และความสามารถในการรวมเป็นหนึ่งเดียวทางการเงิน” นาย Acosta Checa ยังได้กล่าวในรายละเอียดโดยสรุปว่า

“กรณีดังกล่าวจะมีผลกระทบเกินกว่าแค่เพียงในอุตสาหกรรมคริปโต และเค้าเชื่อว่ามันเป็นการทำลายเศรษฐกิจโดยรวมอีกด้วย”

ที่มา : news.bitcoin

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น