<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

“Libra คือสิ่งท้าทายใหม่บนโลกใบนี้” กล่าวโดยเลขาธิการก.ล.ต. แห่งประเทศไทย

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อวันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทางก.ล.ต. ได้จัดสัมมนาเชิงวิชาการหัวข้อ “ Libra ก้าวที่กล้าของเฟซบุ๊ก : ก้าวสู่โลกใหม่ไร้พรมแดน” มีผู้ลงทุนทะเบียนเข้าร่วมฟัง ณ สำนักงาน ก.ล.ต. กว่า 400 คน และมียอดผู้เข้าชมเฟซบุ๊กไลฟ์มากกว่า 29,000 ครั้ง โดยจุดประสงค์ในครั้งนี้ ก็เพื่อเป็นเวทีกลางในการแลกเปลี่ยนมุมมองและแบ่งปันประสบการณ์จากผู้ปฏิบัติทั้งจากภาครัฐและเอกชน อันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปขยายผลด้านแนวทางการพัฒนาธุรกิจและการกำกับในแวดวงสินทรัพย์ดิจิทัล

Libra ในไทย

ก่อนหน้านี้มีประเด็นถกเถียงกันอย่างมากมายเกี่ยวกับเหรียญ Libra ในไทย ล่าสุดทาง ก.ล.ต. จึงได้จัดสัมมนาเชิงวิชาการในเรื่องนี้เลย

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวว่า:

“ก.ล.ต. จะเป็นหน่วยงานที่เปิดรับความคิดเห็นและเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นตัวกลางสร้างเวทีวิชาการในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง และพร้อมสนับสนุนการพัฒนา การนำนวัตกรรม เทคโนโลยี มาใช้ในกระบวนการตลาดทุน ขณะที่ ก.ล.ต. เองจะติดตามความคืบหน้าด้านต่าง ๆ และเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง”

ทั้งนี้จากการสัมมนาได้สรุปประเด็นของ “Libra” ว่ามันคือสิ่งท้าทายใหม่บนโลกใบนี้ และอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้มีการใช้ คริปโต แพร่หลายยิ่งขึ้น ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องติดตามความคืบหน้าของลิบราและหารือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบควบคู่กับการกำกับดูแลที่เหมาะสม ขณะที่เอกชนมองว่า “Libra” จะอยู่นานหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีใครทราบแน่ชัด และ Social Media และคริปโตจะยังคงอยู่อีกนาน

ผลกระทบของ Libra?

ทางก.ล.ต. ได้ให้มุมมองต่าง ๆ เกี่ยวกับเหรียญ Libra เอาไว้ โดยทางก.ล.ต. ได้กล่าวถึงผลกระทบของ Libra ที่เข้ามาในชีวิตเราดังนี้ 

เนื่องจากมีผู้ใช้บริการ Facebook กว่า 2 พันล้านคนทั่วโลก จึงน่าจะมีผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะต่อการโอนเงินข้ามประเทศระหว่างรายย่อย ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถโอนเงินได้ทันทีเหมือนการส่งสติ๊กเกอร์ในไลน์แอปพลิเคชัน

 ขณะที่ภาคการเงินการธนาคารจะได้รับผลกระทบโดยตรง จึงต้องปรับตัวและหารูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อรองรับ เพราะอาจจะสูญเสียธุรกิจการโอนเงิน E-Commerce จะกลายเป็น Social Commerce ที่ทำธุรกรรมผ่าน Social Media และผู้ประกอบการ SMEs ก็จะเข้าถึง E-Commerce ระดับโลกได้ง่ายขึ้น รวมทั้ง Social Banking จะมาแทนที่ Mobile Bangking นอกจากนี้ อาจมีผู้เล่นรายอื่นเข้ามาแข่งขันกั Libra เช่น Alibaba Google Tencent และ Amazon

ผลกระทบต่อรัฐ

ถ้าพูดถึงผลกระทบต่อทางรัฐบาลนั้นทางก.ล.ต. สรุปให้ฟังว่า:

ภาครัฐอาจไม่สามารถเก็บข้อมูลเพื่อนำไปกำหนดนโยบายด้านการเงินและการคลังได้ เนื่องจากการทำธุรกรรมหรือกิจกรรมต่าง ๆ อาจไม่มีความจำเป็นต้องผ่านผู้ประกอบการหรือตัวกลางที่ภาครัฐกำกับดูแลอีกต่อไป อย่างไรก็ดี ภาครัฐไม่ควรปิดกั้นหรือหยุดยั้งนวัตกรรม  แต่ควรต้องศึกษาและเรียนรู้อย่างใกล้ชิด เพื่อหาทางบริหารจัดการความเสี่ยงให้ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงเชิงระบบ (systematic risk) รวมทั้งเพื่อให้สามารถวางนโยบายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย

ภาษี?

ก่อนหน้านี้มีรายงานว่าสรรพากรจะเล็งเก็บภาษีจาก Libra นั้นทาง ก.ล.ต. ได้ออกมากล่าวในเรื่องนี้ว่า:

“ในขณะที่ด้านภาษีมีความจำเป็นต้องมีกระบวนการคิดใหม่  หากจะกำกับดูแล ความท้าทายอยู่ที่การเก็บภาษีจาก E-Commerce ที่ย้ายไปขายสินค้าและบริการบน Facebook โดยใช้ Libra เป็นสื่อกลางในการซื้อขายทั้งหมด ซึ่งอาจทำให้กรมสรรพากรไม่ได้รับข้อมูลสำหรับการกำกับดูแล”

สำหรับการกำกับดูแลภายใต้ พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.) การออกและเสนอขาย Libra Investment Token (ไม่ใช่ Libra ที่เป็นคริปโทเคอร์เรนซี) ซึ่งหากจะเสนอขายในประเทศไทยจะต้องมาขออนุญาต  อย่างไรก็ดี กรณีดังกล่าวมีความเป็นไปได้น้อยมาก เนื่องจากผู้ที่จะสามารถลงทุนใน Libra Investment Token ได้ต้องเป็นสมาชิกของสมาคมลิบรา ซึ่งกำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่จะเข้าร่วมไว้สูงมากและไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปลงทุนใน Libra Investment Token

 2.) การขออนุญาตประกอบธุรกิจตัวกลาง (ศูนย์ซื้อขาย นายหน้า หรือผู้ค้า) ที่แสดงตนว่าจะให้บริการรับซื้อขายแลกเปลี่ยน Libra ในไทยนั่นเอง

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น