<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

สาเหตุที่เหรียญ Libra ของ Facebook นั้นมีชะตากรรมที่ต้องล้มเหลว

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อ Facebook ได้ประกาศโครงการ Libra ออกมามันก็เกิดอุปสรรคมากมายทำให้ไม่สามารถเปิดใช้งาน Libra ได้จริงๆ ทาง Facebook กำลังพยายามที่จะให้เป็นธนาคารดิจิทัลแห่งศตวรรษที่ 21 แต่ดูเหมือนในขณะนี้คนในสังคมต่างมองว่า Facebook นั้น “ล้มเหลว” ที่จะทำเช่นนั้น

Libra Association จัดตั้งขึ้นโดยมีองค์กรเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามารวมตัวกันและเพื่อที่จะจัดการกับตระกร้าสกุลเงินของประเทศต่างๆ ที่รองรับซึ่งตระกร้าสกุลเงินเหล่านี้นำมา “ค้ำประกัน” เหรียญ Libra ซึ่งเหรียญ Libra ก็จะโอนไปมาด้วย Calibra Wallet 

องค์กร Libra Association ทำหน้าที่คล้ายกับธนาคารดิจิทัล ตัวเหรียญ Libra นี้ก็จะมีหลักการทำงานแบบไม่ต้องขออนุญาต (permissionless) โดยมีมูลค่าคงที่ซึ่งค้ำด้วยสกุลเงินอื่นๆ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ทาง Facebook นี้ก็ต้องการให้ Libra เข้าถึงโลกที่คนในพื้นที่นั้นไม่สามารถเข้าถึงธนาคาร

อย่างที่ได้กล่าวไว้ใน Whitepaper ทาง Facebook ต้องการสร้างเครื่องมือทางการเงินแบบ permissionless แต่ดูเหมือนในวันนี้คำสัญญาของ Facebook จะเป็นไปได้ยากแล้ว

ด้านนาย David Marcus หัวหน้าโปรเจ็ค Libra ก็ได้ออกมาประกาศว่า Libra จะเปลี่ยนจุดประสงค์การดำเนินการใหม่ โดยเปลี่ยนจากการสร้างเครือข่ายการชำระเงินดิจิทัลทั่วโลกมาเป็นวอลเล็ทสำหรับ stablecoin แทน

ตัวเหรียญ Libra ก็ยังคงอยู่ไม่ได้หายไปไหนแต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการควบคุมและการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 

ความเคลื่อนไหวเช่นนี้สังคมกลับไม่ได้มองว่า Libra Association ต้องการเปลี่ยนแปลงการดำเนินโครงการแต่อย่างใด แต่มันคือการยอมแพ้จากสิ่งที่ทาง Facebook เคยให้คำมั่นสัญญาไว้ใน Whitepaper ของ Libra

ต้องขอใบอนุญาต

เดิมที Libra ตั้งใจจะเป็นสกุลเงินดิจิทัลใหม่และให้สาธารณชนเข้าใช้งานได้ง่ายๆ เพราะ Facebook จะไม่ควบคุมโครงสร้างพื้นฐานหรือการออกสกุลเงิน แต่ถ้า Libra จะอยู่ภายใต้กฎของ FOREX แล้วมันจะกลายเป็นเครือข่ายแบบไม่ต้องขออนุญาต (permissionless) ได้อย่างไร?

ทั้งนี้จะมีการเปิดแหล่งที่มา source code ของ Calibra เพื่อให้ทุกคนสามารถสร้างกระเป๋าเงินได้ นี่คือความพยายามของ Facebook ในการกระจายอำนาจโครงการ โดยนักพัฒนาและผู้ประกอบการจะเป็นผู้นำเสนอโครงสร้างพื้นฐานและสมาชิกของสมาคม Libra จะเป็นผู้กำหนดสกุลเงิน ส่วน Facebook จะเป็นแค่ผู้เข้าร่วมอีกคนหนึ่ง


อ้างอิงจากการกล่าวไว้ใน Whitepaper ลักษณะแพลตฟอร์มของ Libra บางส่วนจะมีลักษณะของการที่ต้องขออนุญาตและไม่ต้องขออนุญาต ซึ่งตรงนี้ก็ทำให้คนในสังคมมองว่าทาง Libra เองยอมแพ้แล้วที่จะสร้างเครือข่ายแบบไม่ต้องขออนุญาตที่เป็นความตั้งใจริเริ่มแต่แรก

คนในสังคมมองว่า Libra ตั้งใจที่จะสร้างระบบแบบกระจายอำนาจหรือ Decentralized แต่ถ้าความฝันนี้มันพังทะลายลงแล้วทิศทางของ Libra มันจะเป็นยังไงต่อ?

“การเปลี่ยนแปลงในอนาคตคือมุ่งเปลี่ยนแปลงระบบเป็นแบบไม่ต้องขออนุญาตในขณะที่ยังคงรักษาคุณสมบัติทางเศรษฐกิจที่สำคัญเอาไว้” อ้างอิงตาม Whitepaper ฉบับใหม่

“หน่วยงานกำกับดูแลได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับขอบเขตการควบคุมเครือข่าย Libra โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของมาตราการการป้องกันผู้เข้าร่วมที่ไม่รู้จักเข้ามาควบคุมระบบและไม่ทำตามข้อกำหนดการปฏิบัติที่สำคัญ”

ดังนั้น Libra จะยังคงเป็นระบบแบบ open-source ซึ่งมีลักษณะแบบ unhosted wallets (วอลเล็ทแบบ third-party) และมีการควบคุม การทำธุรกรรมต่างๆ จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของโปรโตคอล

หากกล่าวให้เข้าใจโดยง่ายคือคุณสามารถสร้างผลิตภัณฑ์บนเครือข่าย Libra ได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาต ผ่านการสกรีนด้านระบบ compliance และได้รับอนุญาตจากสมาคม Libra

เครือข่ายการชำระเงิน Libra สามารถเข้าถึงได้ทุกคนจริงหรือ?

Libra กำลังขยายเครือข่ายเพื่อรวม LibraUSD (≋USD), LibraEUR (≋EUR), LibraGBP (≋GBP), LibraSGD (≋SGD) และอื่น ๆ โดยจะมีการแบ็คอัพแบบ 1-1 ด้วยสกุลเงินหรือหลักทรัพย์รัฐบาลซึ่งจะได้รับการดูแลในสถาบันการเงินต่างๆทั่วโลก

Libra จะยังคงมีการแบ็คอัพด้วยสกุลเงินและหลักทรัพย์ดังเดิม แต่ก็ไม่ชัดเจนว่า Libra นี้จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างซึ่งตาม Whitepaper ก็ได้มีการกล่าวถึงข้อกังวลที่ประเทศต่างๆ มีคือเรื่องของการแทรกแซงการใช้อำนาจอธิปไตยทางการเงินและนโยบายการเงินหากเครือข่าย Libra นั้นมีขนาดใหญ่และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศ เช่น ≋LBR อาจกลายมาเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ใช้แทนสกุลเงินในประเทศ

ด้าน Libra เองก็พยายามร่วมมือกับธนาคารกลางของประเทศต่างๆ เพื่อเปิดใช้งานเหรียญเหล่านี้ สำหรับประชากรที่ไม่ได้เพิ่มสกุลเงินลงใน Keychaincoin ของ Libra พวกเขาสามารถใช้เหรียญ Libra เป็น “เลเยอร์การเงินได้ระดับโลก” เพื่อเป็นตัวกลางการแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงิน

ปัญหาคือ Facebook ไม่ได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานดังนั้นหากคุณอาศัยอยู่ในประเทศที่ไม่มีนักพัฒนา Libra หรืออยู่ในประเทศที่ถูกลงโทษหรือถูก คว่ำบาตร คุณจะไม่สามารถใช้ Libra ได้เลย ยิ่งไปกว่านั้นคือถ้าไม่ผ่านการ KYC ก็จะไม่สามารถใช้งาน Libra ได้อีก เพราะฉะนั้นจุดประสงค์ที่ Facebook ต้องการสร้างเครือข่ายการชำระเงินให้กับประเทศที่ไม่เข้าถึงธนาคารก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้เลย ซึ่งประเด็นนี้ก็ได้มีผู้ใช้งานทวิตเตอร์รายหนึ่งออกมาตั้งข้อสังเกตเช่นกัน

วิสัยทัศน์เดิมของ Libra หายไปแล้ว

คนในสังคมก็ออกมาตั้งข้อสังเกตว่ายิ่งเป็นเช่นนั้นการใช้งาน Libra ก็ยิ่งยากขึ้นไปอีกและแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีใครสร้างวอลเล็ท Libra เองได้ 

วิสัยทัศน์เดิมของ Libra คือการเป็นระบบการเงินแบบ permissionless มีการดำเนินการโดยธนาคารของกลุ่มบริษัทที่จะเสนอทางเลือกให้กับสกุลเงินประจำชาตินั้น ซึ่งดูเหมือนว่าวิสัยทัศนี้จะได้หายไปแล้ว

ที่มา : decrypt

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น