<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

กูรูด้าน Bitcoin ในไทยเผยถึงวิธีการเอาตัวรอดในวิกฤตโควิด 19 ด้วยคริปโต

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในช่วงเมื่อวานนี้ทางรายการ Beartai Live หรือ หนุ่ยทอล์กหนุ่ยโทร ได้เปิดประเด็นที่สนใจเกี่ยวกับหัวข้อ “Great Depresstion หลัง COVID-19” ซึ่งคำนี้ถือว่าไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่อะไร เนื่องจาก Great Depresstion หรือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ข้าวยากหมากแพงนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี 1929 หรือประมาณราว ๆ 100 ปีที่ผ่านมา สิ่งเหล่านี้เป็นผลพ่วงมาจากของไข้หวัดสเปน โรคที่คร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากในปี 1912 ลุกลามมาจนถึงปี 1914 พร้อมกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อเนื่องมาจนถึง 1929 จนกลายเป็น Great Depresstion โดยโลกต้องใช้เวลาถึง 10 ปีกว่าจะฟื้นฟูเชื่อมั่นและเศรษฐกิจกลับมาได้ 

โดยเมื่อวานนี้ทางคุณหนุ่ย Beartai ได้เรียนเชิญกูรูทั้งสองคนอย่างคุณ “ท็อป – จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ซีอีโอของบริษัท Bitkub และ “อาจารย์ พิริยะ สัมพันธารักษ์” Managing Director แห่ง Chaloke Dot Com มาร่วมวิเคราะห์กันถึงเรื่องความเป็นไปได้ที่จะเกิด Great Depresstion หลัง COVID-19

ในช่วง 10 นาทีแรกของการสัมภาษณ์ คุณหนุ่ยได้มีการสัมภาษณ์กับคุณท็อปถึงเหตุการณ์ Great Depresstion ในปี 1929 ว่ามันมีความเป็นมาอย่างไร ซึ่งคุณท๊อปก็ได้เริ่มเล่าถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ตามมุมมองของคุณท๊อปว่า :

คุณท็อป : ตอนปี 1929 มันเกิดไข้หวัดสเปนที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปประมาณ 20 ล้านคนในปี 1920 ก่อนที่เราจะเจอสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1914-1918 ซึ่งถ้าหากถามนักเศรษฐศาสตร์แบบมาโครเขาจะบอกคุณว่าที่ Great Depresstion มันเกิดขึ้นก็เพราะตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกามันได้พังทลายลงไปในวันที่ 29 ต.ค. 1929 แต่กลับกันถ้าคุณไปถามนักเศรษฐศาสตร์ที่มองภาพรวมเขาจะบอกว่าความจริงมันเป็นเพราะระบบการเงินของโลกตอนนั้นที่เรียกว่า Gold Standard หรือการใช้ทองคำแทนการใช้เงินสดมันมีช่องโหว่คือ ตอนนั้นทองคำมันถูกใช้เป็นสื่อกลางแทนเงินและมันฝืด ซึ่งสินค้าและบริการของเราในตอนนั้นเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ปี แต่ทองคำนั้นหาได้ยากมากกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือสมมุติว่าทองคำ 1 แท่งซื้อกาแฟได้ 1 แก้ว พอตื่นขึ้นมาอีกวันทองคำ 1 แท่งซื้อกาแฟได้ 2 แก้ว อีกวันหนึ่ง 3 แก้ว จนผู้คนเริ่มไม่กล้าที่จะใช้ทองคำ ซึ่งมันก็เลยเกิดสิ่งที่เรียกว่าภาวะเงินฝืดและผู้คนทั่วโลกตอนนั้นก็ตกงานไปประมาณ 33%

ส่วนทางด้านอาจารย์ พิริยะเองก็ได้นำเสนอนำประวัติศาตร์ในแง่มุมที่แตกต่างจากคุณท๊อป โดยอาจารย์ พิริยะกล่าวว่า :

อาจารย์ พิริยะ : มุมมองของผมในเรื่องการเกิด Great Depresstion ซึ่งหลายคนอาจจะมองย้อนไปในปี 1929 ในช่วงที่ตลาดหุ้นพังทลายลงมา แต่จริงแล้วเหตุผลมันคืออะไร ? ถ้าเราดูตามประวัติศาสตร์ หลายคนก็จะบอกว่าสาเหตุมาจาก นโยบายทางเศรษฐกิจในตอนนั้น , ประธานาธิบดี Hoover ไม่อยากแทรกแซงเศรษฐกิจปล่อยให้มันพังทลาย จนในที่สุดประธานาธิบดี FDR. มาช่วยกู้โลกเอาไว้ มันอาจจะเป็นประวัติศาสตร์อันหนึ่งที่เราได้อ่าน แต่ถ้าเราลองมาพิจารณาดีดีจากสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของไข้หวัดสเปนในปี 1918-1920 ซึ่งช่วงนั้นเราได้เห็นการร่วงลงของเศรษฐกิจ อันนั้นก็คือสิ่งหนึ่งที่เราสามารถสังเกตเห็นได้ แต่ผมมองว่าจริง ๆ แล้วสาเหตุของการเกิด Great Depresstion มันมาก่อนหน้านั้น มันมาตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ตั้งแต่ช่วง 1914 ซึ่งช่วงนั้นหลายประเทศได้เปลี่ยนวิธีในการทำสงครามจากที่ต้องใช้เงินในคลัง หรือเป็นการทดลองยกเลิกการแลกเงินสดไปเป็นทองคำชั่วขณะในระหว่างการทำสงคราม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือสงครามมันกลับลากยาวมาจนถึงช่วงก่อนที่สงครามจะจบลงและ สหรัฐก็กระโดดเข้าไปร่วมด้วย โดยการสร้างทรัพย์สินขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นการยกเลิกการทดสอบการใช้ทองคำเช่นกัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ มันมีเงินหน่วยใหม่เกิดขึ้นมากมายมหาศาลในยุโรป แต่พอเราจะกลับไปใช้ Gold Stadard หลังสงครามจบ ปัญหาต่อมาก็คือเงินมันถูกเพิ่มขึ้นมามหาศาล พอจะแลกกับไปเป็นทองคำ สิ่งที่เกิดขึ้นคือเศรษฐกิจอาจจะต้องพังทลาย และคนก็จะไม่เชื่อมั่นในสกุลเงินของตัวเองอีกต่อไป

ซึ่งหลังจากพูดถึงเรื่องประวัติศาสตร์และวิกฤตการณ์ทางการเงินในอดีตกันไปพอหอมปากหอมคอแล้ว ทางคุณหนุ่ยก็ได้ยิงประเด็นถามกูรูทั้งสองเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลว่า มันสามารถเป็นทางออกของวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ได้หรือไม่ ? รวมถึงเรื่องราคา Bitcoin ที่ร่วงก่อนการเหตุการณ์ Halving ในวันนี้

ในมุมมองของคุณท็อป คุณท็อปเชื่อว่าตอนนี้รัฐบาลควรต้องมีการตอบสนองที่รวดเร็ว โดยแบ่งวิธีการแก้ไขออกเป็น 2 ด้าน คุณท๊อปกล่าวว่า :

คุณท็อป : ในมุมมองของผม ผมคิดว่าตอนนี้มันอยู่ที่รัฐบาลจะทำยังไง ซึ่งมันต้องแบ่งเป็น 2 ด้าน ด้านแรกคือ biology problem ถ้าเราหาวัคซีนยั้บยั้งเชื้อไวรัสได้ภายใน 6 เดือนหรือ 1 ปีเจอ มันอาจจะไม่เกิด  Great Depresstion เพราะคนจะเริ่มกล้าที่จะออกมาจับจ่ายใช้สอย ส่วนอีกด้านก็คือ Financial problem คือตอนนี้มันไม่ได้เป็นเหมือนตอนปี 2008 ที่เป็นช่องโหว่ทางด้านเศรษฐกิจหรือก็คือการที่ธนาคารแบกรับความเสี่ยงมากเกินไป ปัจจุบันเศรษฐกิจมันไม่ได้มีช่องโหว่แบบนั้น แต่มันเป็นเพราะว่าอยู่ดี ๆ รัฐบาลประกาศ Shutdown ขึ้นมาทั้ง ๆ ที่บริษัทส่วนใหญ่กำไรด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นถ้าตอนนี้รัฐบาลมีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ซึ่งความเร็วนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะธุรกิจ SME ส่วนใหญ่กำลังจะตาย และถ้าช้าเกินไปมันจะเกิด Great Depresstion ขึ้นอย่างแน่นอน 

จากคำพูดของคุณท็อป คุณหนุ่ยจึงได้หยิบยกประเด็นคำถามที่น่าสนใจถึงเรื่องมาตรเยียวยา 5,000 ของรัฐบาลว่ามันช่วยในเรื่องความเร็วในการแก้ปัญหาของ Great Depresstion ได้หรือไม่ ? และสกุลเงินดิจิทัลจะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร ? 

ซึ่งคุณท็อปคิดว่าตอนนี้เทคโนโลยีของเรานั้นไม่พร้อม ซึ่งหากเราใช้สกุลเงินดิจิทัลมาช่วยในเรื่องนี้อาจจะเป็นวิธีการแก้ไขที่ตรงจุดที่สุด และมีความรวดเร็ว โดยคุณท็อปกล่าวว่า :


คุณท็อป : ผมคิดว่าตอนนี้เทคโนโลยีของเรายังไม่พร้อม คืออย่างสกุลเงินดิจิทัลเนี่ย รัฐบาลสามารถแจกจ่ายเงินได้เลยภายในไม่กี่วินาที โดยผู้คนไม่ต้องมานั่งฟ้องร้องที่กระทรวงการคลังว่าฉันควรเป็นกลุ่มคนที่ได้รับเงินเยี่ยวยา 5,000 บาท หรือพวกที่ไม่ควรได้เงินดันได้ เพราะถ้าทุกคนใช้สกุลเงินดิจิทัลอยู่แล้วมันจะสามารถ release เงินได้ทันทีบวกกับการใช้พวก Big data ในการวิเคราะห์อย่างเช่น My Bank ของธนาคารในประเทศจีนที่สามารถ release เงินในการปล่อยกู้ได้ภายในแค่ 3 วินาที Save พนักงานทั้งหมดและมีหนี้เสียเพียงแค่ 1.7% เท่านั้น คือพวกเขาสามารถใช้เทคโนโลยี A.I. , Big data และ Cryptocurrency ในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันทีเลย แต่เมืองไทยมันยังเป็นระบบ paper base ถ้ายังเป็นกระดาษอยู่ มันก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบากที่จะ release เงินให้กับทางธุรกิจ SME และธนาคารก็ต้องเสียเวลาในการคำนวณ ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือนและกว่าจะถึงตอนนั้นธุรกิจพวกนั้นก็คงหมดลมหายใจไปเสียก่อน ดังนั้นรัฐบาลควรจะยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อแลกกับการย่นเวลา แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือต่อให้ทางรัฐบาลอัดฉีดเงินเข้ามา 2 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ถ้ามันออกมาแค่ครั้งเดียวในรูปแบบกระดาษ GDP มันก็จะโตขึ้นแค่รอบเดียว แต่ถ้าออกเงินมา 2 ล้านล้านดอลลาร์เหมือนกัน แต่ใช้สกุลเงินดิทัล GDP ของมันจะโตขึ้นหลายรอบ ถึงแม้จำนวนเงินมันจะเท่าเดิมก็ตาม เพราะฉะนั้นการใช้สกุลเงินดิจิทัลมันยิ่งจะส่งเสริมให้เศรษฐกิจโตเร็วขึ้นหลายเท่าตัวเลยครับ ซึ่งผมมองว่าอันนี้มันเป็นด้านดีของสกุลเงินดิจิทัล

ในขณะเดียวกันคุณหนุ่ยก็ได้ถามไปทางด้านคุณ พิริยะ บ้างว่าเห็นด้วยหรือไม่ว่าการอัดฉีดเงินของรัฐบาลว่าจะช่วยทำให้เศรษฐกิจเติบโตรวดเร็วแบบติดจรวดและช่วยแก้ปัญหาวิกฤตของโลกได้ ?

อาจารย์พิริยะคิดว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยวิธีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบนั้นจะไม่สามารถอุ้มเศรษฐกิจเอาไว้ตลอดไป และในที่สุดการกระทำเช่นนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ โดยอาจารย์ พิริยะกล่าวว่า :

อาจารย์ พิริยะ : มันสามารถเป็นลมหายใจเฮือกสุดท้ายได้ ก่อนที่ทุกอย่างก็พัง (หัวเราะ) มันอาจจะโตขึ้นได้จริง ๆ อาจจะเป็นเฮือกใหญ่ ๆ เลย คือผมมองว่าจริง ๆ ตอนนี้มันไม่ใช่เรื่องที่ว่ามันจะเกิดขึ้นหรือเปล่า แต่เรื่องก็คือมันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ปัญหาก็คือทุกคนเชื่อว่าโมเดลการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบของรัฐบาลจะช่วยอุ้มเศรษฐกิจเอาไว้ได้ ผิดหรือถูกไม่รู้ รู้แต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ผมมองว่าสุดท้ายแล้วมันจะย้อนกลับเข้าไปหาสิ่งที่มันควรจะเป็น ทุกครั้งที่เราเห็นการแก้ปัญหาด้วยวิธีการอัดฉีดเงิน เศรษฐกิจมันขึ้นจริง ทุกอย่างมันบูม แต่ในที่สุดมันก็ไม่ได้หายไปไหน มันแค่ย้อนกลับไปเพื่อที่จะปรับสมดุลและย้อนกลับมาที่จุดเดิมแค่นั้นเอง สิ่งที่น่ากลัวก็คือ จากที่ผมดูบนชาร์ตย้อนหลังเราจะเห็นว่านับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปัจจุบัน การอัดฉีดเงินครั้งนี้คือการปั๊มเงินครั้งใหญ่และมันยังไม่จบ คราวนี้วันใดวันหนึ่งที่การปั๊มครั้งนี้มันจบ วันนั้นเราจะเห็นการย้อนกลับสิ่งที่มันควรจะเป็นและมันอาจจะลงมาเยอะหรือไม่เยอะก็ไม่รู้ ซึ่งผมไม่ได้บอกว่ามันจะเกิดขึ้นจากวิกฤตนี้ แต่ว่าผมเชื่อจริง ๆ ว่ามันจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าเรายังแก้ไขปัญหาด้วยวิธีนี้ต่อไป แต่ตอนนี้เราต้อง Setup โลกด้วยวิธีนี้ไปก่อน

ในช่วงท้ายของการดำเนินรายการคุณหนุ่ยได้หยิบยกคำถามจากทางบ้านขึ้นมาถามกูรูทั้งสองถึงเรื่อง Bitcoin Halving ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีก 1 วันข้างหน้า แต่จู่ ๆ ราคาก็ร่วงลงอย่างฉับพลัน ซึ่งมันแสดงให้ความถึงความผันผวนและไม่มั่นคง แล้วแบบนี้ Bitcoin จะช่วยแก้ปัญหาให้กับโลกในช่วงวิกฤต COVID-19 ได้อย่างไร ?

อย่างไรก็ตามในคำถามนี้อาจารย์ พิริยะรู้สึกว่าเป็นคนละประเด็นกันและ Bitcoin ตอบโจทย์ของการเป็นสินทรัพย์ในระยะยาวได้ แก้ไขปัญหาของเงินดอลลาร์ได้ โดยอาจารย์ พิริยะกล่าวว่า :

อาจารย์ พิริยะ : ผมมองว่ามันเป็นคนละเรื่องกัน การเปรียบเทียบส่วนของ Bitcoin กับสกุลเงินดิจิทัลต้องแยกนิดหนึ่งว่ามันไม่เหมือนกัน คนละประเด็นกัน คือ Bitcoin คือ สกุลเงินดิจิทัลถูกต้อง แต่ว่า Bitcoin ก็มีหมวดหมู่ของมัน แต่ถ้าพูดในแง่ของปัญหาสกุลเงินในปัจจุบัน ปัญหาของเงินดอลลาร์ ผมเชื่อว่า Bitcoin มันตอบโจทย์ของการเป็นสินทรัพย์ในระยะยาวได้ เมื่อสักครู่นี้คุณหนุ่ยได้พูดถึงเรื่องของเงินหยวนดิจิทัลว่ามันจะมีผลกระทบกับเราอย่างไร ก็เหมือนที่คุณท๊อปพูดไว้ข้างต้นไว้ว่าผมสามารถแจกจ่ายเงินได้อย่างรวดเร็ว ผมสามารถที่จะใช้ Big data วิเคราะห์ว่าใครสมควรได้รับเงินหรือใครไม่สมควรได้ทันที แต่จริง ๆ แล้ว ผมมีความเห็นอยู่อีกด้านหนึ่งเหมือนกันว่ามันเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากเหมือนกันว่า สกุลเงินดิจิทัลเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ทุกวันนี้เงินที่คุณใช้อยู่เป็นประจำมันคือเงินดิจิทัลอยู่แล้ว กระดาษนั่นมันเพียงเป็นแค่ตัวแทน ซึ่งของจริงก็คือตัวเลขที่อยู่ในธนาคาร แต่หยวนดิจิทัลมันมีความแตกต่างกันตรงที่ว่ามันอยากจะใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนทำนู้นนี่ จริง ๆ แล้วเงินหยวนดิจิทัลจะมีความพิเศษอย่างหนึ่งที่แตกต่างจากสกุลเงินดิจิทัลตัวอื่น ๆ ก็คือ ถ้าเราเทียบกับ Libra ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่เราเรียกว่า stable coin และต้องมีสินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ใช้ค้ำประกันเอาไว้ แต่หยวนดิจิทัลคือเงินหยวน ไม่ต้องมีการค้ำประกันด้วยสินทรัพย์อะไร มันออกโดยธนาคารกลาง ดังนั้นความแตกต่างของมันก็คือว่าถ้าเราจะทำการค้าขายกับจีน เราก็จะต้องใช้เงินหยวน พูดง่ายก็คือเราจะสามาใช้หยวนดิจิทัลได้ ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องการสร้างสกุลเงินดิจิทัล แต่มันเป็นสงครามที่จะยึดครองโลกอย่างหนึ่ง และเข้ามาแทนที่เงินดอลลาร์ในปัจจุบัน

จากคำพูดของอาจารย์ พิริยะ คุณหนุ่ยได้ถามทางคุณท๊อปต่อว่า คุณท๊อปเห็นด้วยหรือไม่ว่าจีนกำลังคิดแผนการใหญ่และถ้าหากเงินหยวนดิจิทัลได้รับการยอมรับ มันจะเป็นอย่างไรต่อไป ?

ในมุมมองของคุณท็อป คุณท็อปเชื่อว่าหากเงินหยวนดิจิทัลได้รับการยอมรับ เงินหยวนดิจิทัลก็อาจกลายมาเป็นสกุลเงินหลักของโลกแทนเงินดอลลาร์ เนื่องจากความสะดวก รวดเร็วและประสิทธิภาพของมัน โดยคุณท็อปกล่าวว่า : 

คุณท็อป : ลองสังเกตว่าตอนนี้เนี่ยจีนกับสหรัฐ มันจะมีเทรนด์ที่เรียกว่า deglobalization ระหว่างอเมริกากับจีนแข่งกันว่าใครจะเป็นเจ้าโลก ตอนนี้ GDP จีนตามติด ๆ สหรัฐอเมริกา 5G ของจีนนำแล้ว A.I. นำแล้ว จำนวนสตาร์อัพยูนิคอนก็นำหน้าสหรัฐไปแล้ว เพราะฉะนั้นหยวนดิจิทัลออกมาก็เพื่อที่จะแข่งขันกับสหรัฐในเรื่องของสกุลเงิน ซึ่งการที่เขาคิดไว้คร่าวว่า 1 belt 1 road ของจีนก็คือ ถ้าเขาออกสกุลเงินดิจิทัลที่เป็นหยวนออกมามันจะใช้ได้ง่ายกว่า เพียงขยับแค่นิ้วโป้ง ก็โอนเงินไปแล้วเหมือนกับส่งสติ้กเกอร์และเขาอาจจะใช้หยวนเป็นสื่อกลางแทนเงินดอลลาร์ก็เป็นไปได้

นอกจากนี้คุณหนุ่ยยังได้ถามกูรูทั้งสองถึงเรื่องโปรเจค Libra สกุลเงินดิจิทัลที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้ด้วยว่า มันเป็นได้หรือไม่ที่มันจะเปิดตัวในปีนี้ ?

จากคำถามนี้ คุณท็อปคาดการณ์ว่า Libra 2.0 จะเปิดตัวจริงจังในช่วงปลายปีนี้ และมันจะส่งกระทบต่อประเทศไทยอย่างชัดเจนหากรัฐบาลก็ยังคงไม่ทำอะไรสักอย่าง โดยคุณท็อปกล่าวว่า :

คุณท็อป : ตาม white paper นะครับ Libra 2.0 น่าจะออกในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งลองคิดภาพว่าถ้าหาแบงก์ชาติของเรายังคงช้า ผู้คนก็ต้องเลือกสิ่งที่สบายมากที่สุดสำหรับเขาอยู่แล้ว ทุกวันนี้เนี่ย mark zuckerberg ตกใจมากและประกาศว่าคนไทยขายของผ่าน facebook เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ซึ่งปัญหาคือทุกวันนี้คนไทยขายกันได้แค่ 70 ล้านคนเพราะว่าอุปสรรคหลัก ๆ คือเงินมันโอนข้ามประเทศไม่ได้ เสียค่าธรรมเนียม 5% รอเป็นอาทิตย์สองอาทิตย์ แต่พอ Libra หรือหยวนดิจิทัลเปิดตัวออกมาเนี่ย เขาสามารถกดปุ่มเดียวเหมือนส่งสติ้กเกอร์ เงินก็ถูกส่งไปแล้ว อยู่ที่ไหนก็ได้ระยะทางไม่ใช่ปัจจัยค่าธรรมเนียมศูนย์บาท ซึ่งในปีนี้คนจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นแตะ 5 พันล้านคนแปลว่าถ้าใครมีสกุลเงินดิจิทัลบวกกับระบบการชำระเงินที่กำลังจะมาเช่น Libra หรือ หยวนดิจิทัล เขาจะไม่ใช่แค่ขายของให้กับคนแค่ 70 ล้านคนอีกต่อไปมันอาจเป็น 5 พันล้านคน ดังนั้นถ้าแบงก์ชาติยังช้าเนี่ยคนไทยจะไม่ใช้เงินบาทที่เป็นกระดาษและเราก็จะหมดเสถียรภาพในเรื่องอัตราดอกเบี้ย , การควบคุมเงิน ซึ่งถ้าหากเงินไหลออกนอกประเทศ รัฐบาลก็จะคุมไม่ได้แล้ว เงินเฟ้อก็ไม่สามารถควบคุมได้

ส่วนทางด้านอาจารย์ พิริยะเองก็เห็นด้วยกับคุณท็อป และเชื่อว่าคนไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือ ซึ่งอาจารย์ พิริยะกล่าวว่า :

อาจารย์ พิริยะ : จริง ๆ เห็นด้วยกับคุณท๊อปนะครับผม คือว่า เกมนี้ถ้าเรามองยังงี้นะ มันเป็นการแข่งขันกัน จริง ๆ ตอนนี้มนุษย์ชาติเราอาจมีทางเลือกระหว่างการตกเป็นทาสของจีนหรือเป็นทาสของ Facebook อย่าลืมว่าเงินที่เขาสามารถควบคุมจากส่วนกลาง ใครก็ตามที่ควบคุมการผลิตเงินหรือ Flow ของเงินได้ก็คือผู้ควบคุมทาสคนใหญ่นั่นเอง และน่าสนใจมาก ๆ ว่านี่คือการสู้กัน เราเรียกว่าเหมือนแบบสิงโตกับฉลามสู้กัน แล้วเราเป็นกระต่ายเราจะทำอะไร ในแง่หนึ่งผมเชื่อว่าเราช้าไม่ได้ คือถ้าเราช้าเนี่ยมันเหมือนในขณะที่เขากำลังสู้กัน น้ำกำลังท่วมป่าอยู่ด้วยและเราก็ต้องวิ่งหนีเหมือนกัน แต่ว่าเราก็คงไม่ถึงกับว่าไปสู้กับเขา เราควรต้องขยับตัวให้เร็ว ซึ่งนี่เป็นเรื่องหนึ่งที่ผมพยายามพูดมาหลายปีแล้วเหมือนกัน คือประเทศเราเสียโอกาสกับความกลัวไปเยอะมาก ๆ อินเทอร์เน็ตเราเสียไปเต็ม ๆ เรามีการขัดขวางธุรกิจหลายอย่างเกิดขึ้นในช่วงยุคของอินเทอร์เน็ต ทำไมต้องมาสตรีมกันบน Facebook เพราะหัวกะทิเราก็มี แต่เราทำไม่ได้ก็เพราะว่ามันผิดกฏหมาย ซึ่งสุดท้ายแล้วคนที่เสียประโยชน์คนที่คุมเขาไว้ตั้งแต่แรก รัฐบาลประเทศไทยเนี่ยเป็นห่วงประชาชนมากจะทำอะไรก็คิดถึงประชาชนก่อน แต่ประเด็นคือบางทีมันเหมือนกับพ่อแม่รังแกฉัน ประเทศเราอาจต้องมีความศรัทธาในประชาชนที่มากกว่านี้ ผมคิดว่าตอนนี้มันเป็นโอกาสที่เราจะขยายได้ อย่างน้อยก็ขยายได้ในทางของเรา และอีกเรื่องหนึ่งที่ผมมองว่ามันเป็นทางออกของประชาชนเลยก็คือ การมีเงินที่ไม่ได้เป็นของบริษัท เงินที่ไม่ได้เป็นของรัฐ  เงินที่เป็นของประชาชนเองอย่างเช่น Bitcoin 

สุดท้ายนี้วิกฤต Great Depression หลัง COVID-19 จะเกิดขึ้นหรือไม่ เวลาเท่านั้นที่จะเป็นตัวตัดสิน ซึ่งเราก็คงต้องเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมาจริง ๆ 

บทสนทนาที่ระบุไว้ข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคลิปวีดีโอเท่านั้น หากใครต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูคลิปวีดีโอเพิ่มเติมได้ทาง Beartai Live ด้านล่าง :

[LIVE] #หนุ่ยทอล์กหนุ่ยโทร – โอกาสรอดของเราใน “Great Depression หลัง COVID-19”

#หนุ่ยทอล์กหนุ่ยโทร วันนี้ พูดคุยกับ 2 กูรูด้านการเงิน “ท็อป – จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ผู้ก่อตั้งบริษัท Bitkub และ “อาจารย์ พิริยะ สัมพันธารักษ์” Managing Director,Chaloke Dot Com ถึงโอกาสรอดของพวกเราใน “Great Depression หลัง COVID-19”

โพสต์โดย Beartai : แบไต๋ เมื่อ วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม 2020