<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

3 เรื่องสำคัญที่นักลงทุนคริปโตทุกคนควรรู้เกี่ยวกับการซื้อขาย Bitcoin ฟิวเจอร์

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าการซื้อขาย Bitcoin (BTC) แบบฟิวเจอร์อาจดูเหมือนง่าย แต่ยังมีอีกจำนวนมากที่เข้ามาเป็นเหยื่อของค่าธรรมเนียมและมีเพียงนักลงทุนจำนวนหยิบมือที่ได้กำไรจากมันจริง ๆ 

นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมการซื้อขายแล้วนักลงทุนทั้งหลายควรตระหนักถึงอัตราเงินทุนผันแปรต่าง ๆ ซึ่งมีตัวแปรอีกมากโดยวันนี้เราจะมาช่วยให้คุณเข้าใจมันได้ง่ายขึ้นและสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ 3 อย่างด้วยกันก่อนที่จะเข้ามาเทรดใน Bitcoin Future 

ต้องรู้ Funding rate

สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้นั้น เวลาคุณทำการซื้อขายสัญญาซื้อขาย Bitcoin มันจะมีค่าใช้จ่ายแอบแฝงอยู่

โดยพื้นฐานที่สุดคืออัตราเงินทุนที่เรียกเก็บกับฟิวเจอร์สแบบไม่จำกัดระยะเวลา เครื่องมือเหล่านี้เรียกอีกอย่างว่าการแลกเปลี่ยนแบบต่อเนื่อง (Swap) และค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะถูกนำไปใช้กับทุกตลาดเทรดทุกเว็บเทรดเลยด้วย

funding rate ต่าง ๆ อาจไม่เกี่ยวข้องหรือมีผลน้อยมากกับนักลงทุนในระยะสั้นเนื่องจากมันจะมีการเรียกเก็บเงินทุก ๆ 8 ชั่วโมงและน้อยกว่า 0.20%

แต่หากคุณเป็นสำหรับนักลงทุนระยะยาวมันอาจจะหมายถึงค่าธรรมเนีมเกือบ 20% ต่อเดือนซึ่งเป็นการลดผลกำไรจากอย่างมหาศาลด้วยค่าธรรมเนียมอันแสนโหดร้าย และอีกปัจจัยก็คืออัตราค่า Fee ที่จะมีความผันผวนอยู่เสมอระหว่างผู้ที่ถือShort กับ Long และหากไม่สังเกตให้ดีคุณอาจจะหมดไปกับค่าธรรมเนียมตรงนี้จนกำไรไม่เหลือก็เป็นได้ 

ค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าหากมีโวลุมที่เทรดน้อย 

เชื่อว่าหลายคนน่าจะมองเรื่องค่าธรรมเนียมในการเทรดเป็นหลัก ที่ปัจจุบันหลาย ๆ เว็บคิดค่าธรรมเนียมที่ไม่มากซึ่งก็อยู่ที่ราว ๆ  0.075 เปอร์เซ็นต์ต่อการเทรดแต่ละครั้งซึ่งหลายคนก็มักจะมองข้ามกันไปได้ 

แต่หากมาดูกันแล้วจะพบว่าหลาย ๆ เว็บเทรดนั้นมีการเสนออัตราค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าหากเรามีวอลลุ่มในการเทรดที่เยอะตามที่เงื่อนไขที่พวกเขาบอก ก็จะได้รับการลดค่าธรรมเนียม (Taker Fees) ลงไปทำให้ผู้ที่เข้ามาด้วยวอลุ่มที่มากกว่าจะได้เปรียบมากกว่าคนอื่น ๆ ที่เทรดน้อยกว่า 

นอกเสียจากว่าคุณจะเป็นฝ่ายเสนอซื้อหรือ maker ซึ่งขึ้นกับแต่ละตลาด แต่โดยส่วนใหญ่แล้วนั้นจะมีอัตราที่ถูกเป็นอย่างมากหรือเป็น 0 และอาจจะเป็นลบ

ดังนั้นแล้วสิ่งที่นักเทรดควรตระหนักให้ดีก็คือเรื่องของการคำนวนค่าธรรมเนียมเมื่อเข้าออเดอร์โดยเฉพาะฝั่งของ Taker Fee หรือฝั่งขายที่จะต้องคำนวนว่าเราต้องกำไรกี่เปอร์เซ็นต์เพื่อให้ได้ทั้งกำไรและค่าธรรมเนียมที่เสียกลับมาด้วยเช่นกัน 

Maker Fees อาจจะไม่ได้ดีแบบที่คิด

อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่าทางเว็บเทรดฟิวเจอร์ทั้งหลายมักจะเก็บค่าธรรมเนียมา Maker Fees ที่ถูกเป็นอย่างมากหรือไม่มีเลย แต่ตรงจุดนี้เองที่พวกเขาใช้ในการล่อเหยื่อที่เป็นมือใหม่ทั้งหลาย 

แน่นอนว่า maker fee เป็นเหมือนภาพลวงตาต่อคนส่วนใหญ่ ซึ่งเมื่อคนส่วนใหญ่รู้ก็มักจะทำการวางออเดอร์เพื่อซื้อกัน และพวกเขาต่างก็รู้ว่าออเดอร์ในระดับราคาต่าง ๆ มีเท่าไหร่หาก Maket Maker เห็นว่าตรงจุดนั้นมีคนรอกันมาก 

algorithmic trading strategies (bots) ก็จะเข้าไปออเดอร์ที่สูงกว่านิดหน่อยสัก 10 ถึง 100 ดอลลาร์ทำให้ออเดอร์ของพวกคุณไม่มีทางจะถูกเติมได้เลยแม้แต่น้อย ดังนั้นจงระวังให้ดีและเลือกอย่างชาญฉลาดคิดให้ต่างจากคนอื่นในทุกครั้งเพื่อกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น 

การเลือกรูปแบบ Margin ให้ดี 

มีวิธีที่สามารถจัดการ margin หรือการยืมเงินเพื่อเทรดบนหน้าตักของเราได้ดี โดยหนึ่งในนั้นก็คือฟังค์ชัน Cross Margin โดยการตั้งค่านี้จะใช้จำนวนเงินทั้งหมดที่ฝากเป็นหลักประกันสำหรับการซื้อขายสัญญาคริปโตทุกครั้ง จะทำให้สามารถถือ Position ได้นานกว่ากลยุทธ์การใช้ margin เฉพาะออเดอร์ (isolated margin) ไป นี่จึงถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับนักนักเทรดเกือบทุกรายไม่ว่าจะเป็นกับผู้มีประสบการณ์หรือไม่ก็ตาม 

หรืออีกแนวทางนั้นก็คือ isolated margin ซึ่งจะเป็นการแบ่งส่วนของเงินออกมาไว้เพื่อป้องกันการพอร์ตแตกได้ง่ายเพราะจะแบ่งมาแค่ส่วนเดียว และจะมีการตัดขาดทุนอัตโนมัติ (liquidate) แต่แน่นอนมันก็ต้องแลกมากับการที่ Position ดังกล่าวนั้นหากเพียงแค่ราคาขยับผิดทางนิดเดียวก็อาจจะเสียเงินไปฟรี ๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจงเลือกให้ดี