ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติกำลังมองหาโอกาสในการนำเอาเทคโนโลยี smart contract เพื่อนำมาใช้ร่วมกับเหรียญคริปโตเคอเรนซี่ที่พวกเขากำลังพัฒนาในขณะนี้
นายวิจักขณ์ เศรษฐบุตร หรือ Deputy director ของธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ดูแลการพัฒนาเหรียญคริปโตเคอเรนซี่ของแบงค์ชาติที่ชื่อว่าอินทนนท์ ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง OMFIF เมื่อวันที่ 13 ที่ผ่านมาเกี่ยวกับสถานะในการพัฒนาของเหรียญดังกล่าวในขณะนี้
นอกจากนี้ยังมีนาย Sky Guo หรือ CEO จากบริษัทด้านบล็อกเชนที่ชื่อว่า Cypherium ที่โฟกัสในด้านการติดตั้งระบบเหรียญคริปโตของธนาคารกลาง
โดยในการให้สัมภาษณ์ดังกล่าวนั้นนาย Guo กล่าวว่าผู้ออกกฎหมายทั่วโลกสามารถที่จะหยิบยืมโมเดลการควบคุมระบบของ DeFi เข้ามาปรับใช้ระบบในการตรวจและอนุมัติสินทรัพย์ดิจิตอลที่ถูกค้ำไว้โดยสินทรัพย์ที่อยู่บนโลกแห่งความเป็นจริงอย่างเช่นอสังหาริมทรัพย์และหุ้น และนำมันมาใช้เพื่อเป็นสินทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืมในเหรียญคริปโตของธนาคารกลาง โดยเขากล่าวว่าการกระทำดังกล่าวนั้นจะทำให้เศรษฐกิจมีสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นสูงอย่างมาก
นายวิจักขณ์กล่าวว่าทางธนาคารกลางกำลังจับตามองการพัฒนาในวงการ DeFi ในขณะนี้แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะนำเอาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้กับเหรียญคริปโตของประเทศไทย ทางธนาคารกลางจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาของ DeFi ให้ได้เสียก่อนซึ่งนั่นก็คือในด้านของการยืนยันตัวตนของลูกค้าและความเป็นส่วนตัว
ความเห็นของทางธนาคารแห่งประเทศไทยดูเหมือนจะมีขึ้นท่ามกลางการบูมของอุตสาหกรรม DeFi ในขณะนี้ โดยมันเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางด้านการเงินที่ทำให้นักลงทุนสามารถใช้บริการระบบด้านการเงินแบบเก่าแต่มันรันอยู่บนสถาปัตยกรรมที่มีความเป็น decentralized ที่ไม่มีใครสามารถเข้ามาควบคุมได้แม้แต่บริษัทจำกัดหรือรัฐบาลใดๆก็ตาม
ปัจจุบันตลาดดังกล่าวนั้นได้รับความนิยมอย่างมากจนส่งผลทำให้มีผู้นำเอาโทรศัพท์เข้าไปล็อคไว้ในระบบดังกล่าวถึง 5.24 พันล้านดอลลาร์ อ้างอิงจากเว็บไซต์ DeFiPulse.com
ก่อนหน้านี้ทางสยามบล็อกเชนได้รายงานไปแล้วว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างเหรียญอินทนนท์ของพวกเขาโดยหลักๆนั้นมีทั้งหมด 3 ระยะด้วยกัน โดยคุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่