ในการให้สัมภาษณ์กับ CNBC เมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา Paul Tudor Jones ได้ส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มมากขึ้น หลังได้รับรายงานเกี่ยวกับดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งพบว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศสหรัฐฯ ได้แตะระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี ดังนั้น Paul Tudor Jones จึงได้สนับสนุนให้มีการเพิ่มการลงทุนบิทคอยน์ 5% เข้าไปในส่วนการจัดสรรพอร์ตการลงทุน
โดยรวมแล้ว ผู้จัดการสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก 50 รายที่ดูแลกองทุนเป็นมูลค่ากว่า 78.9 ล้านล้านดอลลาร์ ทำให้การลงทุนในบิทคอยน์เพียง 1% จะมีมูลค่า 7.8 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่ามูลค่าตลาดทั้งหมดของบิทคอยน์ที่มีมูลค่า 7.2 แสนล้านดอลลาร์
แต่อย่างไรก็ตาม มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพื้นฐานการทำงานของอุตสาหกรรมนี้ และนี่คือ 4 เหตุผลที่ทำให้การเพิ่มบิทคอยน์เพียงแค่ 1% เข้าไปในส่วนการจัดสรรพอร์ตการลงทุนเป็นเรื่องยาก โดยยังไม่ต้องคำนึงถึงการจัดสรรการลงทุน 5%
อุปสรรค 1: การรับรู้ความเสี่ยง
การลงทุนในบิทคอยน์ยังคงมีอุปสรรคสำคัญสำหรับผู้จัดการกองทุนรวมรายใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยง ซึ่งเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (SEC) ได้เตือนนักลงทุนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการซื้อขาย Bitcoin Futures โดยกล่าวถึงความผันผวนของตลาด การขาดกฎระเบียบ และการฉ้อโกง
อย่างไรก็ตามหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์หลายตัวก็มีความผันผวนที่ใกล้เคียงหรือสูงกว่าบิทคอยน์เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น DoorDash (DASH) บริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่า 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์ มีความผันผวน 96% มากกว่าบิทคอยน์ที่มีความผันผวน 90% ขณะเดียวกัน Palantir Technologies (PLTR) ซึ่งเป็นหุ้นเทคโนโลยีของสหรัฐฯ มูลค่า 4.4 หมื่นล้านดอลลาร์ มีความผันผวน 87%
อุปสรรค 2: การเปิดรับการลงทุนบิทคอยน์ทางอ้อม แทบจะเป็นไปไม่ได้สำหรับบริษัทในสหรัฐฯ
อุตสาหกรรมกองทุนรวมส่วนใหญ่ไม่สามารถซื้อบิทคอยน์ได้จริง ไม่ได้มีการกำหนดอย่างเฉพาะเจาะจงกับสินทรัพย์ดิจิทัลนี้ แต่กองทุนบำเหน็จบำนาญส่วนใหญ่และกองทุนรวม ไม่อนุญาตให้มีการลงทุนโดยตรงในทองคำจริง งานศิลปะ หรือพื้นที่เพาะปลูก
ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงเลี่ยงได้โดยใช้การลงทุนผ่านกองทุน ETFs, ETN, และกองทุนทรัสต์
อุปสรรค 3: กฎระเบียบของกองทุนและผู้ดูแลอาจขัดขวางการซื้อบิทคอยน์
ขณะที่ผู้จัดการกองทุนสามารถควบคุมการตัดสินใจลงทุนได้อย่างสมบูรณ์ พวกเขาก็ยังคงจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกองทุนรวมแต่ละประเภท รวมถึงปฏิบัติตามการควบคุมความเสี่ยงที่กำหนดโดยผู้ดูแล ซึ่งการเพิ่มเครื่องมือใหม่อย่าง CME Bitcoin Futures อาจต้องได้รับการอนุมัติจากก.ล.ต. โดยเมื่อเดือนเมษายนปี 2020 กองทุน Medallion ของ Renaissance Capital ได้ประสบปัญหาดังกล่าว
โดยผู้ใช้ CME Bitcoin Futures เช่น Tudor Investment จะต้องทำการ Roll Over สัญญาที่จะหมดอายุรายเดือนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและข้อผิดพลาดจากการติดตาม เนื่องจากสัญญา Futures ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการถือครองระยะยาว รวมถึงมูลค่าของมันยังแตกต่างจากการแลกเปลี่ยน Spot แบบปกติ
อุปสรรคที่ 4: อุตสาหกรรมการธนาคารแบบดั้งเดิมยังคงมีผลประโยชน์ทับซ้อน
ธนาคารอย่าง JPMorgan, Merrill Lynch, BNP Paribas, UBS, Goldman Sachs และ Citi เป็นหนึ่งในผู้จัดการกองทุนรวมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับผู้จัดการสินทรัพย์ ซึ่งเกิดจากการที่ธนาคารเป็นทั้งนักลงทุนและผู้จัดจำหน่ายกองทุนรวมอิสระเหล่านี้ ด้วยกลุ่มก้อนของบริษัททางการเงินที่ครอบงำการเสนอขายหุ้นและตราสารหนี้นี้ ทำให้การจัดสรรการลงทุนในกองทุนเป็นไปตามแนวทางของข้อตกลงร่วมกัน
ขณะที่บิทคอยน์ยังไม่เป็นภัยคุกคามต่อเจ้ามือรายใหญ่ในอุตสาหกรรมนี้ การขาดความเข้าใจและความพยายามในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง รวมถึงความไม่แน่นอนของกฎระเบียบการควบคุม ทำให้ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่ทั่วโลกที่มีมูลค่า 100 ล้านล้านดอลลาร์ หลีกเลี่ยงความเครียดจากการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใหม่นี้