เมื่อไม่นานมานี้นาย Vitalik Buterin ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum ได้เจาะลึกถึงเรื่องการกำกับดูแลแบบกระจายอำนาจด้วยการใช้โทเค็น โดยเขากล่าวว่ากลไกการกำกับดูแลที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นมีข้อบกพร่องและช่องโหว่ของมันอาจทำให้ภาค DeFi ไม่สามารถดึงศักยภาพมาใช้ได้อย่างเต็มที่
ตามบล็อกโพสต์ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม Buterin กล่าวว่าชุมชน crypto นั้นจำเป็นต้อง “ก้าวไปให้ไกลกว่าการโหวตลงคะแนนด้วยเหรียญโทเค็นที่มีอยู่ในปัจจุบัน”
ปัจจุบันโปรเจกต์ DeFi ส่วนใหญ่ได้มีการกำกับดูแลโปรโตคอล การอัพเกรด การออกรางวัล และแง่มุมอื่นๆ ผ่านการใช้เหรียญ Governance token โดยจะมีการแจกคะแนนโหวตตามสัดส่วนของผู้ถือครองเหรียญ
อย่างไรก็ตามโปรเจกต์ส่วนใหญ่นั้นได้ถูกครอบงำ โดยนักลงทุนรายใหญ่ที่ถือเหรียญไว้เป็นจำนวนมากทำให้พวกเขามีสิทธิ์ที่จะลงโหวตลงคะแนนสนับสนุนของผลประโยชน์ของพวกเขาเอง
ซึ่ง Buterin ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงสองประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Governance token ในการกำกับดูแล โดยชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของแรงจูงใจที่ไม่สอดคล้องกันในหมู่สมาชิกภายในชุมชน และช่องโหว่ของการ “ซื้อเสียง” ที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ของการลงโหวตลงคะแนนในชุมชน โดยเขากล่าวว่า :
“สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราสามารถทำได้ในวันนี้ก็คือ การล้มเลิกแนวคิดที่ว่าการลงคะแนนแบบเหรียญเป็นรูปแบบการกระจายอำนาจที่ถูกต้อง”
Buterin ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ “การแยกกลุ่ม” เพื่อ “ซื้อเสียง” และระบบการกำกับดูแลที่สามารถจัดการได้ด้วยการยืมหลักประกันคริปโต และการใช้สินทรัพย์เหล่านั้นเป็นโทเค็นในการโหวตลงคะแนนเสียง
และเมื่อมองไปให้ไกลกว่าการกำกับดูแลด้วยใช้โทเค็น Buterin แนะนำให้ทุกคนสำรวจระบบการกำกับดูแลที่อิงตาม “การพิสูจน์ความเป็นมนุษย์” หรือ “Proof-of-Humanity” โดยจัดสรรหนึ่งเสียงโหวตต่อผู้ใช้โปรโตคอลแต่ละราย
นอกจากนี้ Buterin ยังได้นำเสนอ “Proof-of-Participation” เป็นวิธีแก้ปัญหานี้อีกด้วย ซึ่งเป็นวิธีการโหวตลงคะแนนเสียงที่จะจำกัดให้เฉพาะผู้ใช้โปรโตคอลที่มีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อประโยชน์ของโครงการหรือชุมชนเท่านั้น