สำหรับหัวข้อเป็นประเด็นร้อนแรงที่สุดในวงการคริปโตของบ้านเราตอนนี้ก็คงหนีไม่พ้นในเรื่องของ ‘ภาษี คริปโต‘ ที่กำลังเป็นถกเถียงกันอย่างมากบนสื่อโซเซียล ซึ่งในขณะเดียวกันบางคนก็อาจกำลังสงสัยว่า หากเทียบการเก็บภาษีในบ้านเรากับประเทศอื่น ๆ จะมีกฎระเบียบที่แตกต่างกันอย่างไร
และก็โชคดีที่ไม่นานนี้ทางเว็บเทรด Satang นั้นได้มีการรวบรวมข้อมูลภาษีคริปโตของแต่ละประเทศมาเผยแพร่เพื่อให้ทุกคนได้นำมาใช้เปรียบเทียบกัน
ไทย
– ขายทำกำไร เสียภาษีเงินได้ หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
– หากเทรดออเดอร์ไหนได้กำไรต้องเสียภาษี
– กำไรการเทรดไม่เกิน 60,000 บาท/ปี ไม่ต้องยื่นภาษี
– แม้ไม่ถอนเงินเข้าบัญชีธนาคารก็ต้องเสีย
สิงคโปร์
– บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ถือครอง คริปโทฯ หรือสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ ที่ลงทุนระยะยาวไม่ถูกเก็บภาษีในสิงคโปร์ เพราะภาษีกำไรการลงทุนไม่มีอยู่ในมือของรัฐเอง
– มีมาตรการดึงบริษัทด้านคริปโทฯ มาตั้งสำนักงาน
สวิซเซอร์แลนด์
– การเทรดคริปโทฯ ในนามบุคคลไม่เสียภาษีกำไร
– การเทรดทำกำไรในนามนิติบุคคลต้องเสียภาษี
– รายได้จากการขุดคริปโทฯ ถือเป็นรายได้การจ้างงานตนเองจะถูกหักภาษีเงินได้
ญี่ปุ่น
– เก็บภาษีระหว่าง 20 – 55%
– ไม่สามารถหักลบยอดกำไร-ขาดทุนได้
– ยังไม่คำนวณรวมกับภาษีเงินได้บุคคลที่ 10 – 45%
– กำไรการเทรดไม่เกิน 200,000 เยน/ปี ไม่เสียภาษี
– บริษัทผู้ออกเหรียญคริปโทฯ ถูกเก็บภาษี 35%
เกาหลีใต้
– เก็บภาษีคริปโทฯ อัตราคงที่ 20% เมื่อมีกำไรจากการเทรดมากกว่า 2.5 ล้านวอน
– ของรางวัลหรือมรดกคริปโทฯ ก็เก็บภาษีด้วย
– เริ่มการเก็บภาษีคริปโทฯ ในปี 2023
สหรัฐอเมริกา
– เก็บภาษีการขายทำกำไรระยะสั้น 10 – 37%
– เก็บภาษีการขายทำกำไรระยะยาว 0 – 20%
– ธุรกรรมคริปโทฯ ที่มูลค่าเกินกว่า 10,000$ & ต้องแจ้งไปยังสรรพากรภายใน 15 วัน
– ผลกำไร-ขาดทุน จากการเทรดสามารถหักลบกันได้
สำหรับข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจอื่น ๆ จากสำนักข่าว ‘ประชาตธุรกิจ’ นั้นพบว่า ปัจจุบันยังมีอย่างน้อย 7 ประเทศทั่วโลกที่ไม่มีการเก็บภาษีคริปโตได้แก่ โปรตุเกส เบลารุส สโลวีเนีย มอลต้า ลักเซมเบิร์ก เอสโตเนีย และ สวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโต นั้นได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับเทคโนโลยีการเงินแห่งอนาคต ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลของหลายประเทศทั่วโลกยังอยู่ระหว่างการวิ่งไล่ตาม เป็นที่สังเกตว่าหลายชาติยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแลคริปโทฯและสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างชัดเจน
แหล่งที่มาของข้อมูล : Satang , ประชาชาติธุรกิจ