หลังจากความนิยมใน Cryptocurrency, NFT และ Metaverse คำศัพท์ใหม่ต่อมาที่เข้ามาครอบครองโลกอินเทอร์เน็ตนั่นก็คือ Web 3.0 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Decentralized Website ซึ่งเป็นรุ่นที่ 3 ของอินเทอร์เน็ตโดยเป็นการปรับปรุงให้เหนือ Web 2.0 ในปัจจุบัน
หากใครกำลังสงสัยว่าก่อนจะวิวัฒนาการมาเป็น Web 3.0 นั้นผ่านอะไรมาบ้าง เราจะพาคุณไปย้อนประวัติในอดีตกัน
Web 1.0 เกิดขึ้นในช่วงแรก ๆ ของอินเทอร์เน็ตโดยเริ่มระหว่างปี 1990 ถึง 2000 ที่สร้างขึ้นจาก Tim Berners-Lee วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษผู้คิดค้น World Wide Web ที่มีองค์ประกอบรากฐาน 3 ส่วนได้แก่ HTML, URL และ HTTP โดย Web 1.0 จะทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบสื่อสารทางเดียว (One Way Communication) ซึ่งผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาและเป็นเจ้าของเว็บเพื่อกำหนดส่วนของเนื้อหาให้แก่ผู้เข้าชมได้
Web 2.0 เป็นการพัฒนาให้ผู้ใช้งานสามารถทำได้ทั้งอ่าน และเขียนเพื่อโต้ตอบกันได้อย่างอิสระเป็นแบบสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) ก่อให้เกิดเป็นสังคมออนไลน์ (Social Network) แต่เนื่องด้วยมีข้อมูลเป็นจำนวนมหาศาลหลั่งไหลเข้ามาสู่อินเทอร์เน็ต เป็นเหตุให้จำเป็นต้องมีตัวกลางอย่าง Facebook (Meta), Google เข้ามาทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยดูแลจัดการข้อมูลทั้งหมด และเชื่อมต่อผู้คนต่าง ๆ เข้ามาใช้งานได้อย่างสะดวก เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากข้อมูลและเนื้อหาเหล่านี้ส่วนใหญ่ควบคุมโดยกลุ่มยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีกลุ่มเล็ก ๆ เช่น Amazon, Apple, Meta, Microsoft และ Google ในช่วงยุค Web 2.0 ปัจจุบันนี้ผู้ใช้งานหลาย ๆ คนมองว่าความเป็นส่วนตัวของพวกเขาลดลงและอาจคิดว่าพวกเขาสูญเสียเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ตไป เนื่องจากต้องยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ธุรกิจหรือข้อมูลทางการเงินให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้กำหนดและเงื่อนไขทั้งหมดเพื่อใช้บริการแพลทฟอร์มของบริษัทเหล่านี้ ก่อนที่ทางบริษัทจะสามารถนำข้อมูลไปแสวงหาผลประโยชน์โดยการขายหรือใช้เพื่อการโฆษณา ทำให้แนวคิด Web 3.0 นั้นได้ก่อกำเนิดขึ้นมา
หลายคนคาดการณ์ว่า Web 3.0 จะช่วยแก้ปัญหานี้ เนื่องจากมันเป็นอินเทอร์เน็ตเวอร์ชันที่ไร้ศูนย์กลางและกระจายอำนาจให้กับผู้ใช้งานได้อย่างเต็มที่ (Decentralized) โดยจะมีความโปร่งใสและมีเนื้อหาที่ใหญ่มากยิ่งขึ้นเพื่อตอบโจทย์ทุกคนให้สามารถเข้าถึงได้ ทั้งนี้เชื่อว่า Web 3.0 จะมีความเฉพาะเจาะจงกับผู้ใช้มากกว่า โดยจะรับรองความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัว พร้อมหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะถูกแฮ็กทางอินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้ เชื่อว่า Web 3.0 ช่วยรับรองความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน พร้อมป้องกันความเสี่ยงที่จะถูกแฮ็กทางอินเทอร์เน็ตเนื่องจากช่องโหว่ของแพลทฟอร์มได้
ที่ผ่านมา Web 2.0 ได้สร้างเศรษฐีหลายคนอย่าง Mark Zuckerberg ของ Facebook, Jeff Bezos ของ Amazon และ Jack Patrick Dorsey ของ Twitter นอกจากนี้ ความสำเร็จของบริษัท Web 2.0 ยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนทำเงินจำนวนมากผ่านการลงทุนในตราสารทุน
เทคโนโลยีบล็อกเชนเบื้องหลัง Web 3.0
Web 3.0 ถูกสร้างขึ้นบนเทคโนโลยี บล็อกเชน ซึ่งเป็นระบบแบบกระจายที่จะจัดเตรียมบันทึกดิจิทัล (เช่น ความเป็นเจ้าของสินทรัพย์) ที่ได้รับการดูแลโดยไม่มีอำนาจจากส่วนกลาง การ settle ธุรกรรมจะค่อนข้างเร็วกว่า เนื่องจากประมวลผลด้วยตนเองและใช้ฉันทามติแบบกระจายอำนาจ จึงไม่ง่ายที่ข้อมูลจะถูกแก้ไขในระบบก่อนโดยไม่แจ้งเตือนเครือข่ายทั้งหมด ทำให้ระบบมีความปลอดภัยสูง
ทั้งนี้ blockchain ยังเป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง cryptocurrency และ NFT อีกด้วย ดังนั้นบนพื้นฐานของเทคโนโลยีบล็อกเชน Web 3.0 จึงถือได้ว่ามีศักยภาพที่จะปฏิวัติโลกอินเทอร์เน็ต แนวคิดนี้สัญญาว่าจะให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบเพียร์ทูเพียร์โดยไม่มีอำนาจใด ๆ ดังนั้นจึงให้ผู้ใช้ควบคุมข้อมูลของตนได้มากขึ้น
ตัวอย่างบริษัทที่เริ่มลงทุนใน Web 3.0
Microsoft (MSFT)
บริษัท Microsoft ได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีบล็อกเชนโดยเปิดตัว Azure Blockchain Service ของบริษัทซึ่งเป็นบริการบัญชีแยกประเภทที่มีการจัดการเต็มรูปแบบพร้อมทั้งยังซัพพอร์ตบัญชีแยกประเภทของ Ethereum Quorum ที่ใช้กลไกฉันทามติของ Istanbul Byzantine Fault Tolerance (IBFT)
อีกทั้งเมื่อปีที่แล้วยังได้ประกาศขยายโซลูชันที่ใช้บล็อกเชนสำหรับสิทธิ์ในการเล่นเกมและจัดการค่าลิขสิทธิ์ และล่าสุดในเดือนมีนาคม 2021 ทีม Decentralized Identity ของ Microsoft ได้เปิดตัวเครือข่าย ION Decentralized Identifier (DID) บนเครือข่าย Bitcoin mainnet เพื่อสร้างการตรวจสอบรหัสดิจิทัลออนไลน์ตัวใหม่
NVIDIA Corporation (NVDA)
ที่ผ่านมาได้ผลิตโซลูชั่นสำหรับเทคโนโลยียุคหน้ารวมถึงปัญญาประดิษฐ์, IoT, cloud computing และdeep machine learning โดยหน่วยประมวลผลกราฟิก ( GPU) ของ NVIDIA และชิปขั้นสูงมีความจำเป็นสำหรับการรันอัลกอริธึมที่ซับซ้อนสูงและเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล ซึ่งจำเป็นสำหรับเทคโนโลยีบล็อกเชน
อีกทั้งได้เปิดตัว Cryptocurrency Mining Processor (CMP) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับการขุดคริปโตโดยเฉพาะ ซึ่ง CMP ช่วยให้อากาศไหลเวียนได้ดีขึ้นในขณะทำเครื่องขุดคริปโต และยังมีแรงดันและความถี่แกนสูงสุดที่ต่ำกว่า ซึ่งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานในการขุด โดยสามารถสร้างรายได้มูลค่า 526 ล้านดอลลาร์จากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตั้งแต่เริ่มวางจำหน่าย
Intel Corporation (INTC)
บริษัทกำลังสร้างเทคโนโลยีพื้นฐานที่สามารถเปิดใช้งานและปรับปรุงโซลูชั่นบล็อกเชนด้วยแพลตฟอร์มบล็อกเชนของ Sawtooth Intel ซึ่งจะช่วยปกป้องข้อมูล เข้าถึงข้อมูลจากโอเพ่นซอร์ส และบัญชีแยกประเภทที่แทบจะแฮ็กไม่ได้ จึงสร้างสภาพแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือสำหรับธุรกิจต่าง ๆ
อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงช่วงเริ่มต้นของ Web 3.0 ที่สร้างมาเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานและรักษาความเป็นส่วนตัวให้กับบุคคลเท่านั้น ซึ่งเราต้องมาดูกันในอนาคตอีกว่า web 3.0 นั้นจะสามารถพัฒนาไปได้ถึงเพียงใดก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ web 4.0 ต่อไปในอนาคต