Deutsche Bank ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นผู้ดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลรายล่าสุด ถัดจากกลุ่มธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง Standard Chartered, BNY Mellon และ Societe Generale
Deutsche Bank ยักษ์ใหญ่ด้านการธนาคารอายุ 153 ปี ซึ่งมีสินทรัพย์เกือบ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่งประกาศความร่วมมือกับ Tauras บริษัทฟินเทคจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อยื่นขอใบอนุญาติเปิดตัวบริการดูแลรักษาความปลอดภัยของสินทรัพย์ดิจิทัล (crypto custody) แก่ลูกค้าสถาบัน
“เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลจะครอบคลุมสินทรัพย์มูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์ จึงเป็นหนึ่งในลำดับความสำคัญสำหรับนักลงทุนและองค์กร เรามุ่งเน้นไม่เพียงแค่ในสกุลเงินดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนลูกค้าของเราในระบบนิเวศของสินทรัพย์ดิจิทัลโดยรวม การออกแบบผลิตภัณฑ์ของเราและลักษณะของการดูแลลูกค้า จะช่วยให้แน่ใจว่าไม่มีความเสี่ยงที่จะมาส่งผลต่อกิจกรรมอื่น ๆ ของธนาคาร” Paul Maley จาก Deutsche Bank กล่าว
เป็นที่น่าสังเกตว่า Deutsche Bank ได้เข้าร่วมในการระดมทุน Series B มูลค่า 65 ล้านดอลลาร์ของ Taurus เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก่อนตัดสินใจเข้าร่วมเป็นผู้ดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลในเดือนนี้
แม้ทาง Deutsche Bank จะชี้แจงว่าทางธนาคารไม่ได้ลงทุนในการซื้อขายคริปโตในทันที แต่การกล่าวเช่นนี้กลับขัดแย้งกับรายงานจากแถลงการณ์ World Economic Forum ปี 2020 ที่ระบุว่า ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Deutsche Bank ได้ยื่นขอใบอนุญาตการดูแลคริปโตในประเทศเยอรมนี
ในอดีต Deutsche Bank มีทัศนคติที่ค่อนข้างไปในเชิงลบต่อคริปโต แต่ปัจจุบันทางธนาคารก็เปลี่ยนมาสนใจในบล็อกเชนอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการสนับสนุนคุณประโยชน์ของบล็อกเชนในหลายบทความตั้งแต่ปี 2017
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีบุคคลบางกลุ่มที่ยังสงสัยในคริปโตว่าอาจจะเป็นสิ่งที่นำไปสู่การฉ้อโกงได้ ยกตัวอย่างเช่นธนาคาร Bank of America และ Jamie Dimon ซึ่งเป็น CEO บริษัท JPMorgan Chase & Co. ก็ได้ออกมาแสดงข้อกังวลเกี่ยวกับคริปโต และกล่าวว่า Bitcoin ว่าเป็นการฉ้อโกง
ความกังขาต่อ Crypto อย่างต่อเนื่อง
แม้อุตสาหกรรมคริปโตจะมีความก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ แต่ขณะเดียวกัน คริปโตก็ยังคงเป็นภัยคุกคามทางเศรษฐกิจทั่วโลกในสายตาของธนาคารหลายแห่ง เนื่องจากการล่มสลายของ Terraform Labs (UST) ของ Terraform Labs เมื่อปีที่แล้วก็ได้ทำลายมูลค่าตลาดไปหลายพันล้านดอลลาร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการล่มสลายของ FTX ในเดือนพฤศจิกายน ทำให้ตลาดคริปโตต้องเผชิญกับสภาวะขาลง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจต่อคริปโตภายในกลุ่มสถาบันทางการเงินแบบดั้งเดิม
นอกจากนี้ จากการเกิดวิกฤตการธนาคารระดับกลางในสหรัฐฯ โดยหุ้นธนาคารร่วงดิ่งลงในเดือนมีนาคม ซึ่งธนาคารที่ได้รับผลกระทบนี้มีความเกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัล ทำให้ภาพลักษณ์ของคริปโตเป็นไปในแง่ลบมากยิ่งขึ้น นำโดย Silvergate Capital ธนาคารที่มีการจัดการคริปโตมากที่สุดในทั้งสามบริษัทเป็นผู้ให้กู้รายใหญ่ในอุตสาหกรรม
ปัจจุบัน สถาบันการเงินรายใหญ่ยังคงชั่งน้ำหนักความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับคริปโต เมื่อสัปดาห์ที่แล้วกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยกลยุทธ์เพื่อลดผลกระทบที่เป็นอันตรายของคริปโตที่มีต่อเศรษฐกิจโลก เหตุการณ์นี้จึงเป็นเครื่องย้ำเตือนว่าอุตสาหกรรมคริปโตยังคงต้องพัฒนาอีกมากเพื่อให้ถูกยอมรับมากขึ้นในอนาคต
ที่มา: Be(in) Crypto