<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Vitalik Buterin ชี้ Ethereum ควรสร้างสมดุลระหว่าง ‘การกระจายอำนาจ’ และ ‘ความร่วมมือ’ ในระบบนิเวศ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

Vitalik Buterin ผู้สร้าง Ethereum (ETH) ได้ออกมาอธิบายถึงแนวทางที่ระบบนิเวศของ Ethereum ว่าสามารถนำทั้งการกระจายอำนาจและความร่วมมือมาใช้ร่วมกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องสูญเสียสิ่งใดไป

โดยในบล็อกโพสต์ล่าสุดของเขา Buterin ได้กล่าวถึงความแข็งแกร่งของระบบนิเวศ Ethereum ที่เกิดจากการที่มีผู้คนและองค์กรหลากหลายเข้ามาร่วมพัฒนา ทว่าความท้าทายที่เกิดขึ้นคือการทำให้โปรเจกต์ทั้งหมดเหล่านี้สร้างสิ่งที่เป็น “ระบบนิเวศ Ethereum หนึ่งเดียว” โดยไม่แตกเป็น “138 ระบบที่ไม่เข้ากัน”

และเพื่อแก้ปัญหานี้ หลายคนในระบบนิเวศได้เสนอแนวคิด “Ethereum alignment” ซึ่งหมายถึงการปรับแนวทางให้สอดคล้องกัน ทั้งในด้านค่านิยม (เช่น ต้องเป็น open source ลดการรวมศูนย์ และสนับสนุนสินค้าสาธารณะ) ด้านเทคโนโลยี (เช่น ใช้มาตรฐานที่ทั่วระบบนิเวศยอมรับ) และด้านเศรษฐกิจ (เช่น ใช้ ETH เป็นโทเค็นหลัก) แต่ Buterin ชี้ว่าแนวคิดนี้ยังไม่ชัดเจนและอาจสร้างความเสี่ยงที่เกิดจากการควบคุมสังคม หากแนวคิดนี้แปลว่าต้องมี “เพื่อนที่ถูกต้อง” ดังนั้น “alignment” ในแบบนี้ก็ล้มเหลว

Buterin ได้เสนอแนวทางใหม่เพื่อทำให้การปรับแนวทางนั้นชัดเจนขึ้น โดยเริ่มจากการยึดถือความเป็น open source ซึ่งมีความสำคัญเพราะจะทำให้โค้ดสามารถถูกตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย และลดความเสี่ยงจากการผูกขาด พร้อมเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกปรับปรุงเพิ่มเติมได้

นอกจากนี้ เขายังสนับสนุนให้สร้างระบบตามมาตรฐานเปิด และหากมีฟีเจอร์ใหม่ที่ไม่สามารถรองรับได้จากมาตรฐานเดิม ก็ควรสร้าง ERC ใหม่ร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้แอปพลิเคชันและกระเป๋าสตางค์ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สุดท้าย Buterin กล่าวถึงความสำคัญของการสร้างโปรเจกต์ที่สนับสนุนการทำงานของ Ethereum โดยไม่เพียงแค่สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนเท่านั้น แต่ต้องเป็นประโยชน์ต่อโลก โดยยกตัวอย่างเช่น การสร้างเทคโนโลยีที่มีมูลค่าที่ยั่งยืน ขยายขอบเขตการเข้าถึงทางการเงิน และการบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ที่นอกเหนือจากโลกของคริปโต

ที่มา: DailyHODL