<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ทำไม SegWit2x ถึงทำให้วงการ Bitcoin แตกเป็น 2 กลุ่ม

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ตลอดเดือนตุลาคมจนไปถึงเดือนพฤศจิกายน วงการ Bitcoin และ Blockchain คงจะได้ยินแต่คำว่า Segwit2x จนกลายเป็นเรื่องที่คุ้นหูและชินตาไปแล้วเป็นที่แน่นอน

หลักๆ แล้วการทำ SegWit2x นั้นเป็นการปรับปรุงเพื่อเพิ่มความสามารถของ Bitcoin เพื่อรองรับปริมาณธุรกรรมที่มากขึ้นของนั่นเอง แต่การพัฒนาสิ่งดีๆ ทำไมทุกคนถึงไม่เห็นตรงกัน นั่นก็เพราะว่าผลประโยชน์ไม่ลงตัวนั่นเอง

ปัญหาในปัจจุบันของ Bitcoin

  1. การยืนยันธุรกรรมยังทำได้ช้า 10 นาทีต่อ Block
  2. Bitcoin มีความสามารถในการรองรับปริมาณธุรกรรมที่มากขึ้นอย่างจำกัด
  3. ไม่รองรับการทำธุรกรรมขนาดเล็กๆ (Micropayment) เพราะค่าธรรมเนียมแพงกว่าขนาดธุรกรรม เช่น ไม่สามารถโอน BTC เทียบเท่าเงินบาท 5 บาทหรือ 10 บาทได้ เพราะเสียค่าธรรมเนียมเกินจำนวนเงินที่ต้องการโอน

เพื่อให้เข้าใจปัญหาการรองรับปริมาณธุรกรรมของ Bitcoin ที่มากยิ่งขึ้น ลองมาดูตัวอย่าง จำลองการเพิ่มขนาด Block ของ Bitcoin

ขนาด Block 1 เมกะไบต์

  • 7 ธุรกรรมต่อวินาที โดยคิดที่ขนาดธุรกรรมที่ 250 bytes ต่อธุรกรรม
  • จะได้ประมาณ 220 ล้านธุรกรรมต่อปี
  • Node ต้องเก็บข้อมูล 55 กิกะไบต์ต่อปี

ปรับขนาด Block เป็น 1.6 กิกะไบต์

  • 11,574 ธุรกรรมต่อวินาที
  • จะได้ประมาณ 1,000 ล้านธุรกรรมต่อปี
  • Node ต้องเก็บข้อมูล 87 เทราไบต์ต่อปี

ปรับขนาด Block เป็น 24 กิกะไบต์

  • 11,574 ธุรกรรมต่อวินาที
  • จะได้ประมาณ 14,000 ล้านธุรกรรมต่อปี
  • Node ต้องเก็บข้อมูล 1.27 เพตะไบต์ต่อปี

จะเห็นว่าการขยายความสามารถในการรองรับธุรกรรมของ Bitcoin จะต้องทำไปเรืื่อยๆ เพื่อรองรับการใช้งานที่มากขึ้น จากตัวอย่างขนาด Block เป็น 24 กิกะไบต์ โดยคิดจากประชากรโลกเรา 7,000 ล้านคน ทำธุรกรรมบน Bitcoin วันละ 2 ธุรกรรมต่อวัน จะมีปริมาณธุรกรรมมหาศาลเกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนจากระบบ Decentralized ไปเป็นระบบ Centralized ในที่สุด เพราะ node จะต้องรองรับข้อมูลขนาด 1.27 เพตะไบต์ ประสิทธิภาพของเครื่องที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบันคงไม่สามารถรองรับได้อย่างแน่นอนและยังมีผลด้านอื่นๆ อีกดังนี้

  • เครื่องที่ทำงานแบบ Full node จะลดจำนวนลงอย่างมาก เพราะแต่ละเครื่องต้องการกำลังในการประมวลผลที่สูงขึ้นอย่างมากทำให้ต้องใช้เงินลงทุนสูงขึ้น ตรงนี้จะทำให้เหลือแต่ผู้เล่นรายใหญ่ในระบบ
  • Mining Pool จะลดลงเหลือไม่มาก เพื่อทำงานกับขนาด Block ที่ใหญ่ขึ้น เครื่องที่ใช้ตามบ้านก็จะทำงานไม่ได้อีกต่อไป Pool ขนาดใหญ่ก็จะได้ประโยชน์จากส่วนนี้
  • ความเร็ว Internet จะต้องเร็วถึง 50 Mbit/s ถึงจะรองรับขนาด Block แบบ 24 กิกะไบต์ได้

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

ทางออกสำหรับปัญหาการรองรับปริมาณธุรกรรม

  1. Side-Chain คือการทำงานของหลายๆ Blockchain โดยมี chain ตัวกลางเชื่อมการทำงาน ซึ่ง Side-Chain ก็ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาการรองรับปริมาณธุรกรรมซะทีเดียว แถมธุรกรรมจะต้องเกิดขึ้นทั้ง 2 chain อีกต่างหาก
  2. Payment Channels คือการสร้างช่องทางในการรับและส่งเงินของผู้ใช้งานขึ้นมา โดยไม่ต้องไปยุ่งกับ Blockchain ทุกๆ ครั้งเหมือนอย่างปัจจุบัน

Payment Channels เป็นส่วนนึงของ Lighting Network ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการรองรับปริมาณธุรกรรมของ Bitcoin ได้อนาคตอันใกล้ ซึ่งตัว Lighting Network เองก็ต้องใช้ความสามารถของ SegWit ซึ่งก็ได้รับการติดตั้งให้ Bitcoin ไปแล้วนั่นเอง ที่น่าสนใจอีกอย่างนึงคือ Lighting Network ถูกนำเสนอโดย Joseph Poon คนๆ เดียวกับที่นำเสนอ Plasma สำหรับ Ethereum เหมือนกัน

สุดท้ายไม่ว่า SegWit2x จะมีผลสรุปออกมาเป็นอย่างไร ก็จะเห็นว่าแนวโน้มของการ upgrade ก็ยังมีต่อไปเรื่อยๆ จาก Block ขนาด 1 MB ไปเป็น 2 MB ในอนาคตอาจจะเห็นเพิ่มไปถึง 8 MB และคำถามที่ตามมาก็คือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นนั้นจะตกอยู่กับใคร การที่เข้าใจว่ากลุ่มไหนได้ประโยชน์จากเรื่องอะไร ก็จะช่วยให้เข้าใจทิศทางการพัฒนาได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น