<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ก.ล.ต. แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ฯ เตรียมร่างกรอบแนวคิดในการกำกับดูแล ICO

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กำลังร่วมอภิปรายในเรื่องการวางแนวทางกำกับดูแลทุนที่มาจาก ICO และจะมีการเปิดรับฟังคำถามและความคิดเห็นจากผู้ที่สนใจในเวลาอีกไม่ช้านี้

นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า เมื่อมีการร่างกรอบแนวคิดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ดูแลตลาดก็จะนำไปยื่นให้แก่คณะกรรมการของ ก.ล.ต. เพื่อทำการพิจารณา

โดยทาง ก.ล.ต. ได้รวบรวมความคิดเห็นจากบรรดาผู้เล่นในตลาดต่างๆ และจะทำการผลักดันเรื่องนี้ให้คณะกรรมการของ ก.ล.ต. ได้ทำการพิจารณาว่าผู้ดูแลตลาดควรจะดำเนินการจัดการกับ ICO และธุรกรรมต่าง ๆ ในทิศทางใดกันแน่

“ประเด็นเรื่อง ICO จำเป็นต้องใช้นโยบายระดับชาติที่สอดคล้อง เพราะมันเป็นประเด็นที่สำคัญ”

นายรพีได้กล่าวต่อว่า เมื่อมีการเปิดประชุมร่วมกับทางคณะกรรมการของ ก.ล.ต.ในรอบต่อไป คาดว่าน่าจะมีการยกประเด็นเรื่อง ICO มาอภิปรายภายในไตรมาสแรกนี้ โดยเหตุผลหลักที่ ICO ต้องได้รับการพิจารณาในระดับนโยบายนั้น ก็คือการที่กระแสการระดมทุนผ่าน ICO ในระยะนี้ได้เติบโตอย่างรวดเร็วในหลาย ๆ ประเทศ

หาก ICOs เหล่านี้ไม่ได้รับการควบคุมดูแล นักลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องอาจเคลือบแคลงสงสัยว่า ICO เหล่านี้ถูกต้องตามกฎหมายจริงหรือไม่ และอาจสงสัยว่ามีมาตรการอะไรบ้างที่รองรับการลงทุนประเภทนี้ นายรพีกล่าว

ICOs ได้รับความนิยมอย่างมากเพราะสามารถระดมทุนได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้งบการเงิน โดยวิธีการนี้กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มผู้เริ่มต้นธุรกิจ startup เทคโนโลยี กลุ่มวิสาหกิจ และนักลงทุน

มีบริษัทในประเทศที่ได้เริ่มประยุกต์ใช้ ICO แล้ว นั่นก็คือ J Ventures ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ Jaymart ซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทยที่จะทำการจำหน่ายเงินดิจิตอลนามว่า “JFin”

นางพราวพร เสนาณรงค์ ​ผู้ช่วยเลขาธิการ ของ ก.ล.ต. กล่าวไว้ว่า การระดมทุนผ่าน ICO นั้นอาจเป็นไปได้ภายในไตรมาสที่สองของปีหน้า และคาดการณ์ว่ามันจะก่อให้เกิดความระส่ำระสายต่อการทำงานของวงการเดิม ๆ เช่น อุตสาหกรรมบริหารสินทรัพย์ ธนาคารการลงทุน กลุ่มที่ปรึกษาด้านการลงทุน ตลาด Exchange รวมถึงโบรกเกอร์แบบดั้งเดิมขึ้น

ทาง ก.ล.ต. วางแผนที่จะกำหนดให้ผู้ลงทุนรายย่อยสามารถลงทุนสูงที่สุด 300,000 บาทต่อ ICO หนึ่งโครงการ และกำหนดให้มีการนำเงินมาลงทุนสร้างโครงการด้วยจำนวนสูงที่สุด 3 ล้านบาทต่อบุคคล

บริษัทที่แจกจ่าย Token ดิจิตอลจะถูกกำหนดให้ระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อยได้สูงสุด 20 ล้านบาทต่อ 1 โครงการ และจะถูกกำหนดให้สามารถรับเงินระดมทุนทั้งหมดได้ไม่เกิน 40 ล้านบาท

ทาง ก.ล.ต. เองก็วางแผนที่จะทำการบริหาร ICO portal ในไทยเพื่อที่จะคัดกรองโครงการ ICO ต่างๆ ด้วยเช่นกัน โดย ICO portal นี้จะต้องทำการเปิดเผย White Paper สู่สาธารณะ และต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 5 ล้านบาท

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น