<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เล็งใช้ Blockchain สำหรับระบบซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ปัจจุบัน สำหรับวงการคริปโตในไทยแล้ว ประเด็นที่ยังคงถกเถียงกันอยู่คงหนีไม่พ้นเรื่องกฎหมายและภาษีสำหรับการซื้อขาย และประกอบธุรกิจเกี่ยวกับทรัพย์สินดิจิทัลภายในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการที่มี พ.ร.ก. บังคับใช้การเก็บภาษี 15 เปอร์เซ็นต์จากกำไรที่ได้จากการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล, กฎข้อกำกับสำหรับนักลงทุนให้สามารถลงทุนในการระดมทุน ICO ภายในประเทสได้แค่ 300,000 บาท หรือข้อกำหนดสำหรับเว็บเทรดคริปโตต่าง ๆ ว่าต้องขอใบอนุญาตและผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่ทางก.ล.ต. ตั้งไว้

อ้างอิงจากสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ ตีพิมพ์ในวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะของประเทศไทยได้เตรียมตัวที่จะใช้ Blockchain ในการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล

นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ หรือสบน. เปิดเผยรายละเอียดว่าพวกเขากำลังร่วมงานอยู่กับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างระบบการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการสนับสนุนระบบ เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การนำระบบดังกล่าวมาใช้งานนั้นจะช่วยให้เรารู้จักลูกค้ามากขึ้นว่าเป็นกลุ่มลูกค้าช่วงอายุเท่าไหร่บ้าง และปัจจุบันฐานลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ รวมถึงวงเงินที่ลูกค้าซื้อเปลี่ยนแปลงอย่างไร นอกจากนี้หากนำระบบดังกล่าวพัฒนาไปสู่ระบบโมบายได้อีกด้วย และจะทำให้สามารถแจ้งเตือนลูกค้าได้ เช่น การแจ้งเตือนกรณีที่พันธบัตรใกล้ครบกำหนดอายุไถ่ถอน เป็นต้น

เรียกได้ว่าในปีนี้ หน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยมีความตื่นตัวกับเทคโนโลยี Blockchain และ Cryptocurrency เป็นอย่างมาก ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก.ล.ต. เพิ่งเผยต่อสื่อเช่นกันว่า มี ICO 5 โปรเจกต์ที่กำลังจะได้รับการอนุมัติในเดือนนี้ และมีพิจารณาอยู่อีก 50 โปรเจกต์ ซึ่งยังไม่ได้กำหนดการที่แน่ชัดว่าจะอนุมัติเมื่อไร โดยภาพรวมแล้วหากเทียบกับปีที่ผ่านมา นับว่าวงการคริปโตในไทยนั้นได้ถูกรับรู้ถึงความสำคัญของมันโดยหน่วยงานภาครัฐมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น