<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยเปิดตัวแพลตฟอร์มให้บริการจดทะเบียนพันธบัตรโดยใช้ Blockchain

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

อ้างอิงจากสำนักข่าว Bangkok Post รายงานในวันที่ 28 กรกฎาคมว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (TBMA) จะมีการนำเอาโซลูชัน Blockchain ไปใช้ในแพลตฟอร์มให้บริการจดทะเบียนของบริษัท

คุณธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (TBMA) กล่าวว่าแพลตฟอร์มการบริการจดทะเบียนแบบใหม่มีกำหนดการจะเปิดตัวในปีนี้ซึ่งตั้งใจที่จะให้ออกตราสารหนี้ได้เร็วขึ้นและคาดหวังว่าจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องของตลาดรอง

ในขณะที่สภาพคล่องของตลาดเติบโตขึ้น การออกใบรับรองพันธบัตรยังคงเป็นไปอย่างล่าช้าซึ่งอาจทำให้เกิดขีดจำกัดต่อการเติบโตของพันธบัตรในตลาดรอง คุณธาดากล่าวว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวจะช่วยลดระยะเวลาในการออกหุ้นกู้จากปัจจุบัน 7-15 เหลือเพียง 3-4 วัน

“เรากำลังพยายามจะช่วยให้ตลาดเติบโตได้โดยไร้ความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดข้อจำกัดได้”

ประธานของ TBMA เปิดเผยว่าแพลตฟอร์มการจดทะเบียนแบบใหม่จะถูกนำมาใช้กับ Regulatory Sandbox ในปลายปี 2018 ซึ่งนั่นหมายความว่า TBMA จะเป็นบริการ Fintech แห่งแรกที่ใช้ Regulatory Sandbox กับหน่วยงานของรัฐทั้งสองแห่งซึ่งก็คือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และธนาคารแห่งประเทศไทย

แพลตฟอร์มดังกล่าวจะสร้างขึ้นบน Smart Contract โดยจะใช้ Private Blockchain ซึ่งจะมีฐานข้อมูลการชำระบัญชีแบบดิจิทัล, ระบบสมัครสมาชิกพันธบัตร และการยืนยันธุรกรรมของตราสารหนี้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ออกตราสาร, ผู้กำกับดูแลบริษัท และนักลงทุนสามารถเข้าถึงอัตราดอกเบี้ย การชำระเงินและข้อมูลอื่นๆของพันธบัตรได้อีกด้วย

ก่อนหน้านี้ทางสยามบล็อกเชนได้รายงานไปแล้วว่าทาง TBMA จะพัฒนาแพลตฟอร์มต่อไปอีกซึ่งเรียกว่า ‘Bond Coin‘ เป็นระบบการหักบัญชีและการชำระบัญชีที่จะพัฒนาขึ้นภายในปีหน้า

รองประธานฝ่ายบริหารของ TBMA เปิดเผยว่าทาง TBMA กำลังสำรวจแนวคิดในการเปิดตัว Utility Settlement Coin ของตัวเองเพื่อสนับสนุนระบบพันธบัตรแบบดิจิทัล

ทั้งนี้มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของหุ้นกู้ในตลาดตราสารหนี้รองในช่วง 6 ปีที่ผ่านมามีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยมีมูลค่าถึง 5.09 พันล้านบาทในปี 2017 ซึ่งเพิ่มขึ้น 4.33 พันล้านจากปี 2016 และเพิ่มขึ้น 800 ล้านบาทจากปี 2011

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น