<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

การที่ Citigroup วางแผนสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินสำหรับ Bitcoin จะส่งอย่างไรต่อตลาดคริปโต?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

อ้างอิงจาก Business Insider ระบุว่า Citibank ซึ่งเป็นธนาคารที่มีมูลค่ากว่า 175 พันล้านดอลลาร์ กำลังจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ที่จะทำให้นักลงทุนระดับสถาบันลงทุนใน Bitcoin ได้

ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมีชื่อว่า Digital Asset Receipt (DAR) ซึ่งจะทำให้นักลงทุนระดับสถาบันสามารถลงทุนใน Cryptocurrency ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

เช่นเดียวกับ ETF

โดยทางเทคนิคแล้ว DAR ค่อนข้างใกล้เคียงกับ Exchange-Traded Funds (ETF) เนื่องจากนักลงทุนสามารถเล่นกับราคา และความผันผวนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องถือครองสินทรัพย์นั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น Citigroup ให้บริการ DAR ที่อิงราคาของหุ้นต่างประเทศอยู่ ก็จะทำให้นักลงทุนในสหรัฐฯ สามารถลงทุนโดยทางอ้อมกับตลาดเหล่านั้นได้ผ่าน Citibank

เช่นเดียวกับ Bitcoin Citibank วางแผนที่จะสร้าง DAR ขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าระดับสถาบันของพวกเขาสามารถลงทุนใน Bitcoin ได้โดยมีการประกัน, การป้องกันที่แน่นหนา และการตรวจตราธุรกรรมอย่างรอบคอบ รวมทั้งระบบอื่น ๆ ที่ผู้ออกกฎหมายทางการเงินในสหรัฐฯ ประกาศให้มี ด้วยเหตุนี้การลงทุนใน DAR ของ Bitcoin จะทำให้นักลงทุนระดับสถาบันสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าอ้างอิงกับราคาของ Bitcoin ได้

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงแผนที่ Citigroup วางไว้เท่านั้น ซึ่งยังอยู่ในขั้นแรก ๆ สำหรับ DAR ของ Bitcoin นักวิเคราะห์หลายคนได้ระบุไว้ว่า ผลิตภัณฑ์ทางการเงินสำหรับนักลงทุนระดับสถาบันเช่น บริการคุ้มครองสินทรัพย์ของ Cinbase, บริการคุ้มครองสินทรัพย์ของ Goldman Sachs และ DAR ของ Citigroup จะเพิ่มสภาพคล่อง และโครงสร้างพื้นฐานให้กับตลาดคริปโตทั่วโลกได้เป็นอย่างดี

ผลกระทบที่ตามมา

ธนาคารใหญ่ ๆ ส่วนมากตั้งอยู่ในสหรัฐฯ เช่น Goldman Sachs, JPMorgan, Citigroup และ Morgan Stanley ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นต่างก็ตื่นตัวกับสินทรัพย์ดิจิทัลนี้ดี และแสดงความสนใจเป็นอย่างมากที่จะเข้าสู่ตลาดคริปโต แต่ยังคงลังเลอยู่เนื่องจากความไม่แน่นอนในกฎหมาย

Goldman Sachs และ Citigroup จะเป็นสองธนาคารแรกที่ให้บริการคุ้มครองสินทรัพย์คริปโตในอนาคตที่จะถึงนี้ แต่ตัวแทนจากทั้งสองธนาคาร ก็ยังคงระบุว่า มันยังเร็วเกินไปที่พวกเขาจะเข้าสู่ตลาดคริปโตในตอนนี้

ไม่ว่าจะเป็น Bitcoin ETF, ETN หรือบริการคุ้มครองสินทรัพย์อื่น ๆ เวลาที่เร็วที่สุดที่ผลิตภัณฑ์ทางการเงินหล่านั้นจะเปิดตัวสู่สาธารณะคือปี 2019

เมื่อผลิตภัณฑ์ทางการเงินสำหรับสถาบันต่าง ๆ นั้นเปิดตัวขึ้นมาจริง ๆ กองทุนต่าง ๆ และบริษัทใหญ่ ๆ รอบโลกที่มีความสนใจที่จะลงทุนในคริปโตอยู่แล้ว จะกระโจนเข้ามาในตลาดทันที เงินจำนวนมหาศาลจะไหลเทเข้ามาสู่ตลาดคริปโต เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เพียบพร้อมทั้งด้านความปลอดภัย และกฎหมายที่ ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมคริปโต

นาย Mike Novogratz นักลงทุนระดับพันล้าน ก็ได้กล่าวว่า ตลาดคริปโตอาจเข้าสู่ขาขึ้นอีกครั้งได้ หากมีเงินจากนักลงทุนระดับสถาบันไหลเข้ามา หากผลิตภัณฑ์ทางการเงินเช่น ETF ได้รับการอนุมัติ ซึ่งเขาได้คาดว่าคงยังไม่ได้รับการอนุมัติในไม่กี่เดือนนี้ ซึ่งต้องติดตามต่อไปว่าสถานการณ์ภายในตลาดคริปโตนั้นจะเป็นอย่างไรหลังจากที่เข้าสู่ขาลงได้ติดต่อกับ 8 เดือน

ที่มา ccn

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น