<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ปาเลสไตน์พิจารณาออกเหรียญคริปโตของตนเอง เชื่อ “เป็นหนทางสู่อิสระภาพทางเศรษฐกิจ”

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

หากเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอลนั้นก็เปรียบได้กับ love/hate relationship ซึ่งทั้งสองประเทศนี้มีความขัดแย้งกันมาตั้งนานแล้วตั้งแต่ในอดีต จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งมาจากข้อพิพาทเรื่องดินแดน แต่ทั้งสองก็ไม่ได้ตัดความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกัน และในขณะนี้เมื่อโลกหมุนเข้าสู่ยุคดิจิทัลรัฐบาลปาเลสไตน์ก็เชื่อว่าการออกเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีของประเทศจะช่วยลดการพึ่งพาของรัฐต่อประเทศอิสราเอลลงได้

ผู้มีอำนาจของปาเลสไตน์เผย “มีเงินก็มีอำนาจ”

นายกรัฐมนตรีของปาเลสไตน์นาย Mohammad Shtayyeh ได้ออกมาประกาศว่ารัฐบาลของเขาจะใช้คริปโตเคอร์เรนซีเพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรของอิสราเอล ซึ่งเขาได้ออกมาเปิดเผยประเด็นนี้ก่อนทางศูนย์ปาเลสไตน์เพื่อการตอบสนองฉุกเฉินทางคอมพิวเตอร์จะได้ออกมากล่าว โดยได้ให้สัมภาษณ์กับทาง Palestine TV ว่า:

“เศรษฐกิจปาเลสไตน์มีเงินหมุนเวียนประมาณ 25 พันล้านเชเกล (ประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และเราจะไม่ยอมถูกบังคับให้พึ่งเงินเชเกลแต่อย่างเดียวอีกต่อไป”

ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีของปาเลสไตน์ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อนำอิสระภาพมาสู่เศรษฐกิจของปาเลสไตน์และจะไม่ยอมให้อิสราเอลมากีดกันทางเศรษฐกิจอีก พิธีสารปารีสปี 1994 นั้นให้อำนาจแก่ Palestinian Monetary Authority (PMA) เป็นธนาคารกลางของประเทศ แต่กลับไม่สามารถออกธนบัตรเองได้ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวก็ได้รับการลงนามโดยองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) และอิสราเอลในปี 1994 และมีเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเชเกลเป็นวิธีการชำระเงินทุกประเภทซึ่งรวมถึงการทำธุรกรรมที่เป็นของทางการอย่างเดียวด้วย ดังนั้นเงินเชเกลจึงเป็นเงินหลักที่ใช้ในประเทศ ตามมาด้วยเงินดีนาร์จอร์แดนและเงินดอลลาร์สหรัฐ

ไม่ใช่ทุกไอเดียจะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

ในปี 2017 ทางรัฐบาลของปาเลสไตน์ก็ได้ริเริ่มคิดสร้างเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีของประเทศและคาดว่าจะนำมาใช้งานภายในอีก 5 ปี แต่อย่างไรก็ตามแม้มันจะเป็นความคิดริเริ่มที่สร้างสรรค์แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นด้วยกับแนวคิดนี้

ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Najah University นาย Bakr Shtayyeh ได้ตั้งข้อสงสัยว่าคริปโตเคอร์เรนซีจะนำมาใช้ในทางปฏิบัติได้และเป็นประโยชน์กับชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่จริงหรือไม่ และการที่ปาเลสไตน์สร้างเหรียญคริปโตของตนเองขึ้นมาจริง ๆ มันจะเข้ามาช่วยลดการพึ่งพาประเทศอิสราเอลจริงหรือไม่ เขากล่าวว่ากับ AI Monitor ว่า:

“หากปาเลสไตน์มีสกุลเงินของตนเองมันจะสามารถป้องกันไม่ให้อิสราเอลหักภาษีกองทุนหรือควบคุมการโอนข้ามและการเคลื่อนย้าย การส่งออกและนำเข้าสินค้าได้จริงหรือไม่ หรือทางปาเลสไตน์จะสามารถตกลงทางการค้าโดยตรงกับประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่ต้องนำเข้าหรือส่งออกสินค้าที่ผ่านพอร์ตการค้าของอิสราเอลได้จริงหรือ”

เขากล่าวว่าจริง ๆ แล้วเงินไม่ใช่ปัญหา แต่ระบบเศรษฐกิจที่ยุ่งยากซับซ้อนและการพึ่งพาอิสราเอลมากเกินไปต่างหากที่เป็นปัญหา 

“มันมีชาวปาเลสไตน์กว่า 170,000 คนที่ทำงานในอิสราเอลแล้วก็ได้รับเงินเดือนเป็นเชเกลของอิสราเอล การซื้อขายสินค้าก็ทำด้วยสกุลเงินเชเกลของอิสราเอลกว่า 80%”

นอกจากนั้นแล้วมันจะมีประเทศใดที่เสี่ยงใช้เงินของปาเลสไตน์หรือทั้งที่รู้ว่าอิสราเอลคว่ำบาตรปาเลสไตน์อยู่ นาย Shtayyeh อธิบายว่าในความเป็นจริงแล้วเงินคริปโตเคอร์เรนซีไม่ได้ช่วยทำให้ปาเลสไตน์หยุดการพึ่งพิงอิสราเอลได้

คริปโตเคอร์เรนซีจะเข้าเปลี่ยนแปลงสถานการณ์อันบาดหมางที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ สองได้?

ความปลอดภัยเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่จะต้องคำนึงถึง นาย  Shtayyeh และ Mazen al-Agha อาจารย์ด้านเศรษฐกิจแห่ง Palestinian Planning Center ได้กล่าวว่าความปลอดภัยทางไซเบอร์ ความสามารถในการโจมตีทางไซเบอร์ และโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์ของอิสราเอลนั้นล้ำหน้ากว่าปาเลสไตน์มาก

แม้ว่าเหรียญคริปโตของปาเลสไตน์อาจถูกสร้างขึ้นมาจริง ๆ แต่ก็เป็นไปได้ว่าจะถูกแฮ็กจะโลกภายนอกสิ่งที่เป็นไปได้และควรทำคือปาเลสไตน์ต้องทำการซื้อขายกับอิสราเอลให้น้อยลง และเริ่มสร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน

ทั้งนี้ประเทศปาเลสไตน์ไม่ใช่ประเทศแรกที่ต้องการนำคริปโตเคอร์เรนซีมาใช้เป็นเครื่องมือในการหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการคว่ำบาตรของรัฐบาลอื่นต่อประเทศของตน ในตอนนี้ประเทศอิหร่าน, คิวบาเวเนซุเอลาและพลเมืองของซิมบับเวกำลังพิจารณาใช้คริปโตเคอร์เรนซีเป็นเส้นทางสู่อิสรภาพทางเศรษฐกิจ

ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งสองท่านก็ควรที่จะนำไปพิจารณา เพราะการที่สร้างเหรียญคริปโตของประเทศมันไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปได้เพียงแต่มันอาจจะยังใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติเนื่องจากปาเลสไตน์ต้องมีสภาพเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยมากกว่านี้

ที่มา bitcoinist

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น