<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

เพราะเหตุใด Cryptocurrency ถึงกลับมาอยู่ในความสนใจของเหล่าธนาคารกลางอีกครั้ง

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ดูเหมือนว่ามันเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ของ Bitcoin สำหรับการเป็นของเล่นคอมพิวเตอร์ที่ส่วนใหญ่ถูกละเลยจากธนาคารกลางและรัฐบาล ทุกอย่างเปลี่ยนไปในช่วงปลายปี 2017 เมื่อมีมหากาพย์เรื่องราวครั้งใหญ่ผลักดันให้ราคาพุ่งสู่จุดสูงสุดตลอดกาล นับตั้งแต่นั้นมาธนาคารกลางต่างก็ให้ความสำคัญกับคริปโตเคอเรนซี่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา Facebook ขู่ว่าจะแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดทั้งหมดไปจาก Bitcoin

ธนาคารต้องการสร้างคริปโตเคอเรนซี่เป็นของตัวเอง

เราทราบกันดีว่าประโยชน์ของสกุลเงินดิจิทัลนั้นมีมากมาย อาทิเช่น ความรวดเร็วในการชำระเงินและประสิทธิภาพของมันก็มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นข่าวดีสำหรับทุกคน ธนาคารเตรียมสร้างรายได้มหาศาลจากการเคลื่อนย้ายเงินของผู้คนและเงินสดดิจิทัลเหล่านี้ก็จะช่วยให้ชีวิตของพวกเขาสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

Facebook ได้สร้างช่องโหว่ให้กับกฎระเบียบทั่วโลกและได้ไปปลุกนายธนาคารให้ตื่นขึ้นมาให้ความสนใจในเรื่องนี้ โดยหากว่าพวกเขาไม่สามารถปรับปรุงระบบการโอนชำระเงินที่เก่าล้าสมัยและกลไกการโอนเงินที่มีราคาแพงนี้ได้ (ซึ่งส่วนใหญ่ระบบพวกนี้อยู่บนรากฐาน SWIFT) มันจะมีทางเลือกที่ดีกว่าเข้ามาแทนที่

แน่นอนว่าผู้คนต้องการ Libra ในรูปแบบของคริปโตเคอเรนซี่ แต่ Facebook นั้นไม่เหมาะที่จะควบคุมมัน อย่างไรก็ตาม Bitcoin สามารถทำในสิ่งที่ผู้คนต้องการได้อย่างแน่นอน แต่มันยังคงต้องแก้ไขในเรื่องความผันผวนของราคาและความล่าช้าที่ยังคงเป็นอุปสรรคสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้คน

ธนาคารกลางในประเทศจีน , สวีเดน , บาฮามาสและประเทศไทยกำลังทดสอบคริปโตเคอเรนซี่ของพวกเขาเองและกำลังจะเปิดตัวในเร็ว ๆ นี้ อ้างอิงจาก Bloomberg ที่รายงานว่า FED ยังคงรอคอยอยู่ข้างสนามและมีแนวโน้มว่าพวกเขากำลังจะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง เนื่องจากกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อนวัตกรรมนี้

การวิพากษ์วิจารณ์ภัยคุกคามอธิปไตยของชาติที่มาจากสื่อโซเซียลมีเดียยักษ์ใหญ่นั่นอาจทำให้โปรเจค Libra นั่นพังทลายลงมาได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องภัยคุกคามของธนาคารกลางที่ไม่สามารถจัดการนโยบายการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ (พิมพ์เงินมากขึ้น) หากสกุลเงินทางเลือกได้กลายเป็นสกุลเงินของโลก

ธนาคารกลางกำลังมองหาโซลูชั่นสำหรับการค้าส่ง ซึ่งจะจำกัดการเข้าถึงเหรียญ stablecoin ไปยังธนาคารและสถาบันการเงิน โดยพวกมันจะถูกใช้กันอยู่ภายในองค์กร เพื่อให้การหมุนเวียนเงินภายในระบบการเงินที่มีอยู่เร็วขึ้นและประหยัดมากขึ้น

โซลูชั่นค้าปลีกนี้จะช่วยให้เจ้าของบัญชีใช้สกุลเงินดิจิทัลภายใต้การควบคุมที่เข้มงวด โดยทางธนาคารกลางจะจัดการบัญชีแยกประเภทและจะมีการควบคุมดูแลอย่างเต็มรูปแบบสำหรับอุปทาน(supply)และการหมุนเวียนสกุลเงิน stablecoin ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา

จีนกำลังก้าวไปข้างหน้า

จีนมีแนวโน้มที่จะเป็นประเทศแรกในการเปิดตัวคริปโตเคอเรนซี่สำหรับธนาคารกลาง เนื่องจากเอเชียกำลังก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ  อย่างไรก็ตามมันยังไม่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอนสำหรับการเปิดตัวในขณะนี้ แต่ดูเหมือนว่าการประกาศรับสมัครงานของ PBoC จะแสดงให้เห็นว่าพวกเขาต้องการจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเพิ่มอีกหกคนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการถอดรหัส , เศรษฐศาสตร์และไมโครอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเงินดิจิทัลใหม่ของธนาคาร

ท่าทีของจีนในเรื่องของสกุลเงินคริปโตแบบกระจายอำนาจเช่น Bitcoin และ Ethereum ยังไม่ได้เปลี่ยนไป พวกเขายังคงไม่อนุญาตให้ประชาชนซื้อสกุลเงินคริปโตกับเงินสด ธนาคารกลางไม่น่าจะมองคริปโตเคอเรนซี่ในแง่บวก อาจเป็นเพราะพวกมันอยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐบาลและไม่มีข้อจำกัดในการทำธุรกรรม

ไม่ว่า Libra จะดำเนินการต่อไปได้หรือไม่ แต่ถึงกระนั้น Facebook ก็ยังคงเร่งทำการวิจัยต่อไปและอาจเปิดตัวเหรียญ stablecoin รวมศูนย์แบบใหม่นี้ในไม่กี่ปีข้างหน้า

ที่มา : newsbtc

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น