<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

หลุดอีเมลที่ยืนยันการร่วมมือระหว่าง Ripple และ Bank of America

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท Ripple และ Bank of America ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่ผู้คนกำลังตั้งคำถามกันมาได้นานแล้ว โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีข่าวลือเกี่ยวกับธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศสหรัฐดังกล่าวกำลังจะจับมือกับ Ripple เพื่อนำเอาเทคโนโลยีของพวกเขาไปช่วยประมวลผลธุรกรรมแบบเรียลไทม์ 

ได้มีการเปิดเผยอีเมลล่าสุดบนโลกออนไลน์ที่พูดคุยถึงความร่วมมือกันระหว่างทาง Ripple และ Bank of America เมื่อไม่นานมานี้

หลุดอีเมลความร่วมมือระหว่าง Ripple และ Bank of America

ความสัมพันธ์กันระหว่างทั้ง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ดังกล่าวก็คือการที่ทาง Bank of America ต้องการที่จะจดสิทธิบัตรด้านการประมวลผลธุรกรรมโดยใช้เทคโนโลยีของ Ripple โดยนาง Julie Harris หรือหัวหน้าของธนาคารดังกล่าวเคยออกมากล่าวชมเทคโนโลยีของ Ripple เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา

โดยเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมาได้มีผู้ใช้งานทวิตเตอร์รายหนึ่งที่ใช้นามแฝงว่า Panosmek ได้ออกมาโพสต์ภาพหลุดอีเมลที่คาดว่าน่าจะมาจากทาง Ripple โดยอีเมลดังกล่าวนั้นเผยว่าทางธนาคาร Bank of America ได้กลายเป็นหุ้นส่วนกับทาง Ripple แล้ว หลังจากที่พวกเขาเข้าร่วม RippleNet ในปีนี้ นอกจากนี้อีเมลดังกล่าวยังไม่มีการกล่าวถึงธนาคาร Barnote Bank และ D-Local อีกด้วยซึ่งเป็นที่คาดการณ์ว่าอาจจะมีบริษัทอีกเป็นจำนวนมากที่เข้ามาเซ็นสัญญาร่วมกับพวกเขา

อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ละเอียดเกี่ยวกับการร่วมมือระหว่างทาง Ripple และ Bank of America ดูเหมือนว่าจะยังไม่เป็นที่แน่ชัดสักเท่าไหร่นัก

ความเกลียดชังของธนาคารต่อครืปโตกำลังกลายเป็น FOMO?

ดูเหมือนว่าสถาบันการเงินตั้งเดิมของธนาคารจะยังไม่ค่อยพร้อมกับคริปโตเคอเรนซี่สักเท่าใดนัก โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาธนาคารเหล่านั้นดูเหมือนว่าจะมีความสัมพันธ์กับคริปโตที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยก่อนหน้านี้มีธนาคารเป็นจำนวนมากที่ได้ออกมาประกาศจุดยืนไม่เอาคริปโตเคอเรนซี่อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าในตอนนี้พวกเขาจะเริ่มเปิดประตูให้กับเจ้าเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกดังกล่าวแล้ว

เมื่อตอนช่วงต้นปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าธนาคารยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง JP Morgan จะออกมาประกาศเปิดตัวเหรียญคริปโตเป็นของตัวเองที่มีชื่อว่า JPM Coin ซึ่งถือเป็นเหรียญคริปโตตัวแรกของธนาคารยักษ์ใหญ่เลยก็ว่าได้

คำถามที่ตามมาก็คือว่าความพยายามในการปรับตัวของธนาคารเหล่านี้ในการต่อกรกับคริปโตเคอเรนซี่ที่สามารถยื่นอธิปไตยทางด้านการเงินให้กับประชาชนได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ดังกล่าวนี้จะทำให้พวกเขาอยู่รอดในอนาคตได้หรือไม่ก็ต้องรอดูกันต่อไป