<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

เหล่าเจ้ามือยังคงเชื่อมั่นใน XRP แม้จะอยู่ระหว่างการฟ้องร้องกับก.ล.ต.

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในช่วงปี 2021 ถือว่าเป็นปีที่สดใสสำหรับคริปโตเคอร์เรนซี จากมูลค่าตลาดรวมในต้นปี 776 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นมาเป็น 2.5 ล้านล้านดอลลาร์หลังสิ้นสุดไตรมาสที่หนึ่ง 

ตามที่ Ripple ได้เปิดเผยรายงานประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2021 แสดงให้เห็นว่าบริษัทมียอดขาย XRP แตะ 150 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2020 ที่มียอดขาย 76 ล้านดอลลาร์ นับว่าบริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้น 97% โดยทาง Ripple ได้กล่าวว่าบริการ ODL ซึ่งเป็นโซลูชันการชำระเงินข้ามพรมแดนด้วย XRP โดยไม่ต้องฝากเงินล่วงหน้า มีส่วนช่วยให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

นอกจากนี้ Ripple ยังได้กล่าวถึงความพยายามที่จะขยายขอบเขตการทำงานของ ODL ให้เข้าถึงภูมิภาค APAC โดยจะมุ่งเน้นไปที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่แรก

และข้อมูลจากรายงานดังกล่าว ยังแสดงให้เห็นจำนวนเจ้ามือที่เข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 308 เป็น 319 ราย ซึ่งเหล่าเจ้ามือคือนักลงทุนที่มี XRP ในครอบครองไม่ต่ำกว่า 10 ล้านเหรียญ แม้จะมีการฟ้องร้องกันระหว่างบริษัท Ripple และก.ล.ต.สหรัฐฯ

ในช่วงปลายเดือนธันวาคมเมื่อปีที่แล้ว ก.ล.ต.สหรัฐฯ ได้ยื่นฟ้องบริษัท Ripple กล่าวหาว่าบริษัทพร้อมทั้งผู้บริหารสองคน ได้ทำการขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนมูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์เป็นเวลาเจ็ดปี

ซึ่งในภายหลังจากที่มีการฟ้องร้อง Jay Clayton ประธานก.ล.ต. ได้ทำการลาออกและในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Clayton ได้เข้าร่วมงานในฐานะที่ปรึกษากับกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่มีชื่อว่า One River Digital Asset Management ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในบิทคอยน์และ Ethereum เป็นจำนวนมาก

โดยข้อกล่าวอ้างที่สำคัญของบริษัท Ripple คือสมมุติฐานที่ว่า XRP นั้น ไม่ได้มีลักษณะเป็นหลักทรัพย์เช่นเดียวกันกับบิทคอยน์และ Ethereum แต่ทางก.ล.ต.กลับเห็นว่า XRP มีลักษณะเป็นหลักทรัพย์ต่างจากสกุลเงินดิจิทัลทั้งสอง ทำให้บางคนมีความกังวลเกี่ยวผลประโยชน์ที่ทับซ้อนของ Clayton 

ความกังวลยังไม่ได้หมดเพียงแค่นี้ ข้อมูลจาก The New York Times ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐอีกหลายคนนอกจาก Clayton ที่ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ดังกล่าว จนเกิดการตั้งคำถามว่าข้าราชการและอดีตนักการเมืองเหล่านี้กำลังทำอะไรกันอยู่?