ประเด็นสรุป
- สิงคโปร์กำลังกลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินของเอเชียอย่างรวดเร็ว
- ประเทศได้ดึงดูดบริษัท Crypto เข้ามามากมาย อันเนื่องมาจากนโยบายที่มองไปข้างหน้า
บุคคลชื่อดังในวงการคริปโตมากมาย ซึ่งรวมถึง Vitalik Buterin ผู้ก่อตั้ง Ethereum, Changpeng Zhao ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตชั้นน้ำอย่าง Binance และ Metakovan ซึ่งเป็นเจ้าของ NFT ที่แพงที่สุดในโลก ได้เลือกสิงคโปร์เป็นที่ตั้งของพวกเขา ประเทศนี้มีอะไรดีกันแน่
ประเทศเล็ก ๆ ที่เงียบสงบอย่างสิงคโปร์เต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่ชาญฉลาด ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่ได้รับฉายาว่า ‘sensor city’ โดยมีความคิดริเริ่มอันชาญฉลาดในการส่งเสริมการดำรงชีวิต สุขภาพ และความคล่องตัวที่ดีขึ้น เช่น หุ่นยนต์ทำไข่เจียว บ้านอัจฉริยะ (smart homes) และนวัตกรรมฟินเทคมากมาย ทั้งหมดนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนที่มีการศึกษาสูง การมุ่งเน้นการบริการ และรัฐบาลที่เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนสู่ดิจิทัล
KPMG หนึ่งในบริษัท consulting ‘Big Four’ ระดับโลกได้ยกให้สิงคโปร์อยู่ในอันดับต้น ๆ ในการจัดอันดับศูนย์กลางทางด้านเทคโนโลยีระดับโลก นอก Silicon Valley ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจที่บริษัทคริปโตจะให้ความสำคัญกับประเทศนี้มายาวนาน แนวทางปฏิบัติในการควบคุมกฎระเบียบ และนโยบายการเก็บภาษีแบบเสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหน่วยงานกำกับดูแลประเทศอื่น ๆ ไม่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมคริปโตอย่างที่นี่
Julian Hosp ผู้ก่อตั้ง Cake ซึ่งเป็นธุรกิจ DeFi ให้สัมภาษณ์กับ Decrypt ว่า “ภายในภูมิภาค สิงคโปร์ใช้แนวทางที่ค่อนข้างเป็นกลางมากกว่าในด้านคริปโต โดยยอมรับถึงประโยชน์ที่เป็นไปได้ และส่งเสริมนวัตกรรมและการทดลองในพื้นที่”
ประเทศสิงคโปร์งเป็นมิตรกับคริปโตเคอร์เรนซี่มากแค่ไหน และท่าทีเสรีแบบนี้จะคงอยู่นานแค่ไหน?
Singa Pura
“เมืองสิงโต” ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นตลอด 60 ปีที่ผ่านมา จากประเทศอดีตอาณานิคมของอังกฤษที่มีการว่างงานอย่างรุนแรงและวิกฤตที่อยู่อาศัย สู่หนึ่งในประเทศที่เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในโลก
“แพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตจำนวนมาก ตัดสินใจเลือกสิงคโปร์จะเป็นสถานที่ที่สำคัญ”
Jeremy Ng, Gemini
โครงการปรับปรุงความทันสมัยครั้งใหญ่ตลอดช่วงทศวรรษที่ 60 และ 70 เป็นรากฐานของความสำเร็จของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ท่าทีที่ก้าวร้าวมากขึ้นของจีนต่อฮ่องกง ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นมหาอำนาจทางการเงินแห่งใหม่ของเอเชีย โดยมีบริษัทฟินเทคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 40% ประจำอยู่ที่นั้น รวมถึงบริษัทสตาร์ทอัพคริปโตที่เพิ่มขึ้นอย่างมากด้วย
สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านคริปโตตั้งแต่ช่วงแรกๆ ในยุคที่ ICO รุ่งเรืองเมื่อปี 2018 สถาบันการเงินของประเทศก็หันมาใช้บล็อคเชนเช่นกัน ธนาคารที่ใหญ่ที่สุด DBS ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนทางดิจิทัลในปี 2020 และปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นเกือบสิบเท่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2021 และยังมีการออกพันธบัตรดิจิทัลมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ในเดือนพฤษภาคมอีกด้วย
Jeremy Ng กรรมการผู้จัดการ Gemini ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกล่าวกับ Decrypt ว่า “แพลตฟอร์มคริปโตจำนวนมากได้ตัดสินใจว่า สิงคโปร์จะเป็นสถานที่ที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นประเทศที่มีนโยบายที่มองไปข้างหน้า หน่วยงานกำกับดูแลมีกรอบความคิดที่ดี ผมคิดว่าสิ่งนี้มีความสำคัญมาก
แพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งก่อตั้งโดยฝาแฝด Winklevoss กำลังต้องการใบอนุญาตในสิงคโปร์ พวกเขามีใบอนุญาตในนิวยอร์กและสหราชอาณาจักรแล้ว รวมถึงประเทศอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า
Ng กล่าวว่า สิงคโปร์จะถูกใช้เป็นฐานในการขยายฐานลูกค้าในทวีปต่อไป “เพื่อให้บริการทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้าสถาบันของเราทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งออสเตรเลีย” ด้วยเหตุนี้ Gemini จึงต้องการเพิ่มจำนวนพนักงานในเมืองจาก 30 เป็น 50 คนภายในสิ้นปีนี้
สิงคโปร์เป็นศูนย์บ่มเพาะคริปโต
จากรายงานของธนาคารโลกเผยว่า สิงคโปร์รั้งอันดับ 2 ของโลกในด้านการทำธุรกิจ รองจากประเทศนิวซีแลนด์ โดยมีบริษัท 80 แห่งที่มีสำนักงานอยู่ที่นั่นจากบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก 100 แห่ง
บริษัทคริปโตได้รับการสนับสนุนให้เข้ามาอยู่ในประเทศ อันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่เป็นมิตรของประเทศ ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศหลายแห่งไม่เป็นมิตรที่บริษัทคริปโต เช่น ฮ่องกง ลอนดอน และวอชิงตัน
อย่างไรก็ตามตลาดสกุลเงินดิจิทัลในสิงคโปร์ยังค่อนข้างเล็ก ปริมาณการซื้อขายสูงสุดต่อวันสำหรับ คริปโตเคอร์เรนซี่สามอันดับแรกในสิงคโปร์นั้น คิดเป็นเพียง 2% ของการซื้อขายหลักทรัพย์รายวันของประเทศ จากรายงานของ Chia Hock Lai ประธานของ Blockchain Association of Singapore เขาเสริมว่า คริปโตเคอร์เรนซี่คิดเป็นน้อยกว่า 0.01% ของสินทรัพย์ที่จัดการโดยผู้จัดการกองทุนของ MAS
สิงคโปร์มีความเอื้อเฟื้อกับเงินทุนทางด้านฟินเทค โดยประเทศมีการจัดสรรเงินจำนวน 300 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 219 ล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนาโครงการด้าน deep tech ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการเปลี่ยนแปลงชีวิต และรัฐบาลได้ให้เงินจำนวน 12 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 8.7 ล้านดอลลาร์ เพื่อเร่งสร้างนวัตกรรมบล็อคเชนอีกด้วย
ประเทศมีความภาคภูมิใจในความหลากหลายและคุณภาพของการฟูมฟักเทคโนโลยี และความสำเร็จในการส่งเสริมนวัตกรรมที่ล้ำสมัย
นอกจากนี้การใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ยังถูกคิดค้นโดยวิศวกรบล็อคเชนชาวสิงคโปร์ U-Zyn Chua ผู้ร่วมก่อตั้ง DeFiChain ซึ่งเขาได้พัฒนา CBDC แห่งแรกของโลก นั่นคือ Sand Dollar สำหรับธนาคารกลางของบาฮามาส
วันนี้ประมาณ 90% ของธนาคารกลางทั่วโลกกำลังทำงานเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล เมื่อเดือนมิถุนายน โครงการ Global CBDC Challenge ได้เปิดตัวโดยหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของสิงคโปร์, Monetary Authority of Singapore (MAS) ควบคู่ไปกับ IMF, World Bank และอื่นๆ เป้าหมายของโครงการนี้คือ การส่งเสริมนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้ CBDC ในชีวิตจริงในการชำระเงิน
สิงคโปร์ยังทำงานร่วมกับ Bank of International Settlements (BIS) ในโครงการ Dunbar ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มในการสำรวจธรรมาภิบาล และการเชื่อมต่อสำหรับธุรกรรมข้ามพรมแดน โดยใช้ multi-CBDCs ที่จะเป็นพื้นฐานของเครือข่ายการชำระเงินระหว่างประเทศในอนาคตอีกด้วย
MAS ตัดสินใจได้หรือยัง
อย่างไรก็ตาม MAS หรือธนาคารกลางสิงคโปร์ยังไม่ได้ออกใบอนุญาตใดๆ ให้กับบริษัททางด้านคริปโตเคอเรนซี แม้ว่าจะมียื่นขอมากกว่า 300 รายการ อย่างไรก็ตามมีการได้รับการยกเว้นให้กับผู้เล่นรายใหญ่ของอุตสาหกรรมบางราย ซึ่งหมายความว่าพวกเขาสามารถให้บริการแก่นักลงทุนรายย่อยและสถาบันได้ แม้ว่าจะมีข้อจำกัดบางอย่างในการทำธุรกรรมและบริการของพวกเขา
“ประเทศที่เป็น ‘เกาะ’ เช่น สิงคโปร์, เบอร์มิวดา, เจอร์ซีย์, และมอลตา—พวกเขานำกฎระเบียบใหม่มาใช้ได้เร็วกว่า”
Changpeng Zhao
บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ที่ต้องการใบอนุญาตได้แก่ Ant Group ในเครือของ Alibaba Group, บริษัท Alphabet Inc. และ Binance Holdings Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของการแลกเปลี่ยนคริปโตชั้นนำของโลก
Changpeng Zhao ผู้ก่อตั้ง Binance ได้พักอยู่ที่สิงคโปร์ และบริษัทต้องการคนในตำแหน่งงานว่างในสิงคโปร์ถึง 230 ตำแหน่งบน LinkedIn
Zhao กล่าวกับ Decrypt ในเดือนพฤศจิกายน 2020 ว่า “ประเทศ ‘เกาะ’ เช่น สิงคโปร์, เบอร์มิวดา, เจอร์ซีย์ และมอลตา พวกเขานำกฎระเบียบใหม่มาใช้ได้เร็วขึ้นและเปิดรับนวัตกรรมมากขึ้น”
ปัจจุบันผู้ใช้ Binance ในสิงคโปร์มีตัวเลือกที่จำกัด พวกเขาสามารถซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซี่ได้เพียงแปดสกุล และไม่อนุญาตให้ใช้คุณสมบัติอื่น ๆ รวมถึงการซื้อขายอนุพันธ์
Binance ได้กลายเป็นเป้าหมายจากหน่วยงานกำกับดูแลในสหราชอาณาจักร, อิตาลี, และญี่ปุ่นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทางการสิงคโปร์ระบุว่า การดำเนินการของรัฐอื่นจะได้รับการพิจารณาควบคู่ไปกับปัจจัยอื่นๆ เช่น การควบคุมการต่อต้านการฟอกเงินของตลาดหลักทรัพย์ หากหน่วยงานกำกับดูแลตัดสินใจไม่เห็นด้วยกับ Binance บริษัทจะสูญเสียสถานะการยกเว้นได้
เจ้าหน้าที่กล่าวในแถลงการณ์ว่า “เราทราบถึงการดำเนินการของหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ ที่มีต่อ Binance และจะติดตามผลตามความเหมาะสม”
ที่ตั้งของบริษัทเทคยักษ์ใหญ่
Vitalik Buterin ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum อาศัยอยู่ในสิงคโปร์ตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนปี 2020 พ่อของเขา Dmitri Buterin ให้สัมภาษณ์กับ Decrypt ในเดือนกุมภาพันธ์ว่า
“เขาชอบเอเชีย และสิงคโปร์เป็นสถานที่ที่ดี มีกิจกรรมมากมายในเอเชียเกี่ยวกับคริปโต, ชุมชน Ethereum ขนาดใหญ่ รวมถึงมูลนิธิ Ethereum ดังนั้นมันจึงเป็นสถานที่ที่สะดวกสบายมากสำหรับเขา”
เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีรายอื่น ๆ ก็ให้ความสนใจในสิงคโปร์เช่นกัน หลัก ๆ เป็นเพราะการตอบสนองทางด้านกฎระเบียบที่เข้มงวดในหลายส่วนของโลก ตัวอย่างเช่น ในฮ่องกง ที่จะมีกฎหมายใหม่จะจำกัดการซื้อขายให้กับนักลงทุนที่ได้รับการรับรอง
ทาง MAS เผยว่าปัจจุบันไม่มีการสมัครขอใบอนุญาตจากสตาร์ทอัพเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการดำเนินการในต่างประเทศ แต่ Chia Hock Lai ประธานสมาคมบล็อคเชนแห่งสิงคโปร์บอกกับ Financial Times ว่า มีผู้เล่นในฮ่องกงจำนวนหนึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในเมืองอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม Ng ของ Gemini ปฏิเสธว่า “เราได้เห็นผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนชาวจีนจำนวนมาก เช่น ผู้ร่วมก่อตั้ง Binance และ Bybit ที่ย้ายไปสิงคโปร์” แต่เขายังไม่เห็นการย้ายถิ่นฐานที่ชัดเจนจากฮ่องกง เนื่องจากกฎหมายยังอยู่พิจารณาอยู่ “ผู้คนอาจยังคงใช้เวลาสองสามเดือนข้างหน้า เพื่อประเมินสถานการณ์”
MAS คาดว่าจะเริ่มออกใบอนุญาตสำหรับการดำเนินงานของ cryptocurrency ในปีนี้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นจากการเปิดตัวร่างกฎหมายการชำระเงินในเดือนมกราคม 2020
เกาะบล็อกเชนแห่งใหม่?
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ประเทศพยายามจะดึงดูดอุตสาหกรรมคริปโต จากการที่มีเงื่อนไขด้านกฎระเบียบที่เอื้ออำนวย เมื่อปี 2018 ประเทศที่เป็นเกาะอย่าง มอลตา ก็ใช้แนวทางที่คล้ายกัน โดยมีการออกกฎระเบียบด้านคริปโตเพื่อดึงดูดนวัตกรรมที่ล้ำสมัยและดึงดูดสตาร์ทอัพคริปโตหลายพันราย รวมถึง Binance ให้มาที่ “Blockchain Island” แห่งนี้
ในที่สุดใบอนุญาตของมอลตาก็ล้มเหลว มีการออกใบอนุญาตเพียงไม่กี่หยิบมือหลังจากที่ล่าช้าไปนาน และตั้งแต่นั้นมากฎระเบียบของประเทศก็พิสูจน์แล้วว่าเข้มงวดกว่าหลายประเทศส่วนใหญ่ ตามมาด้วย บริษัทคริปโตจำนวนมากที่อพยพออกจากเกาะ
นาย Ng ของ Gemini กล่าวว่า แต่สิงคโปร์ไม่ใช่มอลตา “การถูกควบคุมในสิงคโปร์เป็นเหมือนมาตรฐานทองคำ (gold standard)
อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ยังคงมีการดำเนินการธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย หลังจากก่อนหน้านี้ฮ่องกงได้รายงานว่ามีการปราบปรามผู้ต้องสงสัยรายหนึ่ง ทางการที่นั่นเปิดเผยว่า เงินทุน 60% มีความเกี่ยวข้องกับช่องทางบัญชีในสิงคโปร์ และไ้ด้มีการขอความช่วยเหลือจากทางการในประเทศ เพื่อติดตามผู้รับเงินคนสุดท้าย
นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื้อฉาวของ Torque แพลตฟอร์มการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลออนไลน์ ที่ดำเนินการโดยนักธุรกิจชาวสิงคโปร์ Bernard Ong โดยบริษัทนี้ได้ล้มละลายแล้ว นักลงทุนอ้างว่าสูญเสียเงินหลายล้าน และนำไปสู่การตรวจสอบอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น
Sopnendu Mohanty หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้าน Fintech ของ MAS กล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่า “แต่ในวงกว้างมากขึ้น แนวทางของสิงคโปร์พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ ในขณะที่การลงทุนกำลังไหลเข้ามา การลงทุนของ Fintech ได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 20 ล้านดอลลาร์ในปี 2014 เป็นมากกว่าพันล้านในปี 2020”
Mohammad Raafi Hossain ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของแพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัล Fasset ซึ่งกำลังมอการขยายธุรกิจไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่า ประเทศกำลังส่งเสริมนวัตกรรมในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค “เราสามารถคาดการณ์สถานะของสิงคโปร์ได้ ในฐานะศูนย์กลางเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย โดยจะเป็นการปลูกฝังระบบนิเวศคริปโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้แข็งแกร่งขึ้น”
นอกจากนี้ Colin Miles ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์และประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมของ Zilliqa ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่เบื้องหลังโทเค็น ZIL ได้กล่าวยกย่องนโยบายธุรกิจที่เป็นมิตรของสิงคโปร์ การริเริ่มที่ชาญฉลาด และแหล่งรวมความสามารถที่มีทักษะในทำนองเดียวกัน
เขากล่าวว่า “สิงคโปร์ถูกมองว่าเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับคริปโตมานานแล้ว ซึ่งประเทศได้ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมคริปโตเคอเรนซี ที่สามารถนำมาทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม ในขณะที่ยังคงตื่นตัวต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น”
สำหรับสิงคโปร์ โดยให้ความสนใจกับฟินเทคและนวัตกรรม โดยมีการดึงดูดโครงการคริปโต การหลั่งไหลเข้ามาของบริษัทคริปโต รวมไปถึงกฎระเบียบต่าง ๆ ทำให้เกิดโอกาสในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล นอกจากนี้สิงคโปร์ยังกลายเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้กระทั่ง Silicon Valley สำหรับ ศตวรรษที่ 21
ที่มา: decrypt