<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ทำไมผู้คนถึงยอมจ่ายเงินหลักร้อยล้านบาทเพื่องานศิลปะดิจิทัลและที่ดินเสมือนจริง?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันเรากำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้นไปทุกที ซึ่งการมาของกระแสคริปโตเคอร์เรนซี Defi และ NFT ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในปีนี้ ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ที่อยู่เบื้องหลังของพวกมันสามารถเข้ามาแทนที่การใช้งานจริงในโลกปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการเงิน ธนาคาร งานเอกสาร การจัดเก็บข้อมูล หรือแม้แต่ผลงานศิลปะและที่ดินเสมือนจริงที่จับต้องไม่ได้

สิ่งเหล่านี้เองช่วยเพิ่มศักยภาพในการใช้งานทั้งลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ประหยัดเวลา แถมยังมีความปลอดภัยและสามารถตรวจสอบได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับงานผลงานศิลปะและการซื้อขายสิ่งที่จับต้องไม่ได้อย่างที่ดินบนโลกดิจิทัล ยังมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากยอมควักเงินจ่ายเพื่อที่จะได้เป็นเจ้าของผลงานศิลปะดิจิทัลและที่ดินเสมือนจริงนี้? ติดตามกันได้ในบทความนี้

NFT's Archives - DecentraNews - Metaverse, MANA, LAND, ETH, NFT's and  Crypto News

ผลงานศิลปะดิจิทัลและที่ดินเสมือนจริงเป็นหนึ่งในรูปแบบการลงทุนยุคใหม่

เดิมทีผลงานศิลปะทั่ว ๆ ไปไม่ว่าจะเป็นรูปวาด ภายถ่าย จะมีการซื้อขายและถูกประมูลจากผู้ที่ชื่นชอบหรือนักสะสมผลงานซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นรสนิยมส่วนบุคคลทั้งสิ้น และหากผลงานชิ้นนั้นเป็นที่ต้องการมากของตลาดในอนาคต ก็อาจจะก่อให้เกิดการลงทุนในผลงานชิ้นนั้น ๆ เช่น ภาพวาดจากบุคคลสำคัญ ภาพวาดเก่าแก่ ภาพวาดเสมือนจริง เป็นต้น

แต่แล้วด้วยความที่ผลงานเหล่านั้นเป็นวัตถุ เป็นสิ่งที่จับต้องได้ ย่อมมีวันเสื่อมสภาพ เกิดการชำรุด ความยากลำบากในการดูแลรักษา และมีค่าใช้จ่ายอีกมากมาย ยังไม่รวมถึงกรณีการลอกเลียนแบบละเมิดลิขสิทธิ์หรือผลงานถูกขโมย สูญหาย อาจทำให้ผลงานนั้น ๆ มีมูลค่ากลายเป็น 0 ได้ทันที 

ปัญหาเหล่านี้ได้ถูกแก้ไขด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน จึงทำให้เกิดผลงานศิลปะดิจิทัลมากมายที่นักสะสมหรือผู้ที่ชื่นชอบก็ยังสามารถซื้อขายสนองความต้องการของตนเองได้ และยังสามารถเก็งกำไรหรือลงทุนเพื่อได้รับผลตอบแทนในอนาคตได้ไม่ต่างจากการเก็งกำไรในผลงานศิลปะแบบดั้งเดิมหรือที่ดินในปัจจุบัน

โอกาสใหม่ทำกำไร ลงทุนใน Virtual Land | propholic.com propholic.com

เช่นเดียวกันกับที่ดินดิจิทัลที่ปัจจุบันได้รับความนิยมมากเนื่องจากมันสามารถซื้อขายได้ง่ายและเป็นเจ้าของได้อย่างรวดเร็ว สามารถพกพาไปไหนก็ได้และยังแสดงความเป็นเจ้าของได้ตลอดเวลา ซึ่งที่ดินเสมือนจริงนี้สามารถนำไปต่อยอดสร้างสรรค์สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้เหมือนกับโลกแห่งความเป็นจริง 

แล้วผู้เป็นเจ้าของจะได้อะไร?

แน่นอนว่าคงมีคำถามมากมายสำหรับการครอบครองที่ดินดิจิทัลที่จับต้องไม่ได้ แต่การเป็นเจ้าของที่ดินเหล่านี้ช่วยให้ผู้ครอบครองมีรายได้จากค่าธรรมเนียมในกรณีที่มีผู้เข้ามาใช้งาน หรือค่าเช่าที่จากผู้เช่ารายอื่น อีกทั้งยังสามารถเก็งกำไรที่ดินที่เราครอบครอง หากเป็นพื้นที่ที่ต้องการอย่างมากในตลาด ตัวอย่างเช่นที่ดินในเกม Axie Infinity ที่ผู้ครอบครองสามารถใช้สินทรัพย์ภายใต้ที่ดินหรือนำมาขายเข้าสู่ตลาดได้ หากเป็นพื้นที่ที่ใกล้กับเมืองหรือใกล้กับแหล่งทรัพยากรก็จะยิ่งมีมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้น

ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่มีผู้คนจำนวนมากควักเงินตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงสูงสุดกว่าพันล้านเพื่อให้ได้ผลงานศิลปะดิจิทัลหรือที่ดินเสมือนจริงบนโลกดิจิทัล ดังตัวอย่างผลงานศิลปะของ Beeple ที่ชื่อว่า “Everydays: the First 5000 Days” ถูกประมูลไปเป็นมูลค่ากว่า 2,100 ล้านบาท

หรือการขายที่ดินมูลค่ากว่า 45 ล้านบาทของผู้ใช้ทวิตเตอร์ @seedphrase ที่ได้ขายที่ดินหายากในเกม Axie Infinity ออกไป โดยคิดเป็น 888 ETH หรือ 1.5 ล้านดอลลาร์ในตอนนั้น

จะเห็นได้ว่าผลงานศิลปะดิจิทัลหรือที่ดินเสมือนจริงไม่ใช่การซื้อขายเพียงเพราะความชื่นชอบหรือการแสดงความเป็นเจ้าของเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีการลงทุนในยุคใหม่ที่สามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาลได้เช่นเดียวกันกับการซื้อขายผลงานศิลปะและที่ดินในโลกแห่งความเป็นจริง 

ของสะสมและคุณค่าทางจิตใจที่ไม่อาจประเมินราคาได้

นอกจากการครอบครองไว้เพื่อการลงทุนแล้ว การมีไวชื่นชมและให้คุณค่าทางจิตใจต่อผู้ครอบครองก็เป็นนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากยอมจ่ายเงินที่มีมูลค่าสูงอย่างไม่ลังเลเพื่อให้ได้มาไว้ในการครอบครอง

ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่มนุษย์เราจะใช้เงินเพื่อเสพความสุขให้กับตัวเอง การนิยมชมชอบศิลปะดิจิทัลก็เช่นเดียวกัน ทำให้ราคานั้นแทบจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญในการหามันมาไว้ในครอบครอง แน่นอนว่าผู้ที่สามารถใช้เงินได้อย่างไม่คิดหน้าคิดหลังก็อาจจะไม่ได้สนใจมูลค่าด้วยเช่นกัน เพียงแต่ถ้ามันมีคุณค่าทางจิตใจ เขาก็พร้อมที่จะซื้อมันอย่างไม่ลังเล

ดังเช่นนาย Sina Estavi ผู้ชนะประมูล “ทวีตแรก” ของนาย Jack Dorsey ผู้ก่อตั้ง Twitter ซึ่งทวีตดังกล่าวเป็นทวีตแรกของโลกที่ถูกทวีตในปี 2006 ถูกนำออกมาประมูลโดย Dorsey และเสร็จสิ้นการประมูลด้วยมูลค่ากว่า 2.9 ล้านดอลลาร์ ภายหลังเจ้าตัวออกมากล่าวว่ามันเปรียบเสมือนกับการซื้อภาพวาดโมนาลิซ่า

การเติบโตอีกมากในอนาคตของผลงานศิลปะดิจิทัลและที่ดินเสมือนจริง

แม้ว่าในปีนี้วงการ NFT จะมาแรงเป็นอย่างมากและได้เห็นการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ก็มีการคาดการณ์กันว่ายังมีช่องว่างอีกมากมายให้ได้เติบโตขึ้นไปเช่นกันเมื่อเทียบมูลค่าตลาดโดยรวมแล้ว ซึ่งจากอัตราการเติบโตของวงการเกมบนเทคโนโลยีบล็อกเชนที่มาแรงไม่แพ้กันนี้ ทำให้หลายคนมองว่าที่ดินเสมือนจริงในตัวเกมนั้นจะเป็นประโยชน์อย่างมากในอนาคต

อีกทั้งตลาดผลงานศิลปะดิจิทัลก็ยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายมากนักเมื่อเทียบกับตลาดคริปโตเคอร์เรนซีหรือ Defi ซึ่งยังต้องรอการยอมรับจากเม็ดเงินของสถาบันลงทุนดั่งที่ Bitcoin เฝ้ารอการยอมรับจากนักลงทุนสถาบัน ซึ่งเวลาก็เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วและเราได้เห็นบุคคลสำคัญระดับโลกเช่น Elon Musk และ Ray Dalio หรือสถาบันยักษ์ใหญ่ก้าวเข้ามาในโลก Bitcoin ในปีนี้

ดังนั้นมันยังมีช่องว่างอีกมากมายให้ได้เติบโตและระหว่างทางให้ได้เรียนรู้ที่จะนำไปสู่กระแสหลัก ผู้คนที่มองเห็นโอกาสก่อนจึงรีบคว้ามันมาครอบครองไว้ ด้วยมุมองว่ามูลค่าของผลงานศิลปะและที่ดินเสมือนจริงจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต สิ่งที่พวกเขาถือครองอาจมีราคาเพิ่มขึ้น และเมื่อวันข้างหน้ามาถึงเขาอาจจะเป็นผู้ที่พร้อมที่สุดในตลาดแห่งนี้ก็เป็นได้