นี่อาจเป็นก้าวเล็ก ๆ ของประเทศจีนในการทำให้ e-CNY กลายเป็นสากล แม้ว่าโดยผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน (Exim) กล่าวว่าหยวนดิจิทัลส่วนใหญ่ได้รับการทดสอบสำหรับการใช้งานภายในประเทศแล้วและพร้อมสำหรับการชำระเงินในต่างประเทศแล้ว พร้อมทั้งมีการแข่งขันที่แข็งแกร่งกับเงินดอลลาร์ที่นักลงทุนหลายคนต่างได้รับผลกระทบจากิจกรรมดังกล่าว
Liu Yihua รองผู้อำนวยการฝ่ายแนะแนวนโยบายการตลาดของ Exim และนักวิจัยจากสถาบัน Taihe Institute กล่าวว่าหยวนดิจิทัลสามารถใช้ในต่างประเทศได้ ตามรายงานที่เผยแพร่เมื่อต้นสัปดาห์นี้โดยสำนักข่าว Sputnik ของรัสเซีย
จากมุมมองทางเทคนิคของ Liu กล่าวว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างธุรกรรมทางการเงินของหยวนดิจิทัลภายในประเทศและต่างประเทศ แต่ต้องได้รับการอนุญาตจากธนาคารกลางในแต่ละท้องถิ่นเสียก่อน โดย PBOC ยังคงกล่าวอย่างมั่นใจว่าหยวนดิจิทัลยังคงใช้เป็นหลักสำหรับตลาดค้าปลีกภายในประเทศในขณะนี้
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศจีนได้ทำการทดสอบสกุลเงินดิจิทัลอย่างแข็งขันและได้มีการส่งเสริมการยอมรับหยวนดิจิทัลในเก้าเมืองต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ทำให้หลายคนคาดว่าหยวนดิจิทัลจะเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่งในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้
e-CNY มีศักยภาพมากพอในธุรกิจต่างประเทศ
ที่สำคัญที่สุดคือศักยภาพสำหรับ e-CNY ที่จะใช้ชำระเงินในต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะตอบโจทย์ต่อบริษัทในต่างประเทศได้หรือไม่ โดยบริษัทต่าง ๆ ต้องการที่ลดต้นทุน ลดเวลา และสามารถทำธุรกรรมได้แบบเรียลไทม์ทางโทรศัพท์ได้อย่างแท้จริง
Stanley Chao กล่าวว่า“ลูกค้าใหม่สามารถส่งหยวนดิจิทัลไปยังโรงงานในจีนได้ทันที และโรงงานนั้นสามารถจัดส่งสินค้าได้อย่างแท้จริงภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากได้รับเงิน ธุรกรรมง่าย ๆ เหล่านี้มักใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ แต่ตอนนี้ลดความซับซ้อนลงเหลือเพียงกระบวนการน้อยกว่าหนึ่งวัน”
ดูเหมือนจะเป็นความจริงสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่อยู่ในประเทศเกิดใหม่ในแอฟริกาและยุโรปตะวันออกที่มีระบบการธนาคารที่ล้าสมัยและมีราคาแพง โดยหากธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้ต้องการซื้อขายสินค้ากับจีนนั้นจะมีค่าธรรมเนียมที่สูงจากการโอนเงินผ่านธนาคาร เอกสาร ความผันผวนของค่าเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งในบางครั้งอาจกินเวลายาวนานหลายสัปดาห์ทำให้การดำเนินธุรกิจล่าช้าลง
การเข้าถึงกระเป๋าเงินหยวนดิจิทัลได้ง่ายสำหรับผู้ใช้ต่างประเทศนอกประเทศจีนจะเป็นข้อดีอย่างมาก โดย Matteo Giovannini ผู้จัดการฝ่ายการเงินอาวุโสที่ Industrial and Commercial Bank of China ซึ่งเป็นหนึ่งในธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ในการเข้าถึงเงินหยวนดิจิทัลโดยตรงเพียงแค่ตั้งค่ากระเป๋าเงินเท่านั้น โดยรับประกันอุปสรรคในการเข้าที่ต่ำมากและในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการยอมรับอย่างรวดเร็ว
กระบวนการที่ยาวนานมาเพื่อท้าทายการครอบงำของดอลลาร์สหรัฐ
ตามที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนกล่าวว่า หยวนดิจิทัลไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแทนที่เงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินสำรอง แต่กลับมุ่งเป้าไปที่เป้าหมายเดียวนั่นคืออำนวยความสะดวกทางการค้ากับจีน
แต่โดยพื้นฐานแล้วมันขึ้นอยู่กับว่าสกุลเงินของจีนน่าดึงดูดเพียงใด ซึ่งความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่หยวนดิจิทัลจะต้องเผชิญคือมุมมองของบางคนที่กล่าวว่าหยวนดิจิทัลไม่ได้เป็นตัวแทนของสกุลเงินที่ปลอดภัยสำหรับการจัดเก็บมูลค่า
David Roche นักยุทธศาสตร์จาก Independent Strategy กล่าวว่าทั้งสองฝ่ายต้องตกลงกัน ทั้งฝ่ายจีนและต่างชาติ และนั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะคนส่วนใหญ่ต้องการซื้อขายด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ เช่น ไทยและลาวอาจกระตือรือร้นที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยอนุญาตให้มีบัญชี หยวนดิจิทัลและประเทศอื่น ๆ ที่ขายสินค้าของตนไปยังจีนอาจรู้สึกว่าจำเป็นต้องใช้งาน แต่โดยรวมแล้วสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ เท่านั้น
จุดเริ่มต้นของหยวนดิจิทัลและโครงการ BRI
Turrin กล่าวว่าประเทศในโครงการ Belt and Road Initiative หรือโครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (BRI) หลายแห่งกำลังซื้อขายในสกุลเงินหยวนหรือมีเงินกู้เพื่อการพัฒนาบางส่วนในสกุลเงินหยวน โดยประเทศจีนในปี 2556 ได้แนะนำ BRI เพื่อขยายการค้าโลกและอิทธิพลทางเศรษฐกิจไปยังเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา
Yaolin Zhang ผู้คลั่งไคล้บล็อคเชนและทนายความของบริษัทในสิงคโปร์ที่ WongPartnership LLP กล่าวว่ามีโอกาสมหาศาลสำหรับการนำหยวนดิจิทัลไปใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินภายใต้โครงการ BRI ของจีน โดยระบบการชำระเงินด้วยหยวนดิจิทัลสามารถช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ใช้หยวนดิจิทัลเพื่อชำระค่าสินค้าและกระจายสภาพคล่อง เสริมความแข็งแกร่งในการบูรณาการทางการเงินข้ามประเทศ อีกทั้งยังช่วยในการขยายตัวอย่างรวดเร็วของบริษัทในภูมิภาค BRI เนื่องจากบริษัทเหล่านี้จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือบริษัทที่อยู่นอกเขตการค้า BRI
Giovannini กล่าวว่าทั้ง BRI และ Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง 15 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก จะปูทางสำหรับการขยายหยวนดิจิทัลของจีนทั่วเอเชีย โดยจีนสามารถกระชับความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน และด้วยน้ำหนักทางเศรษฐกิจ ผลักดันให้มีการนำเงินหยวนดิจิทัลข้ามพรมแดนไปใช้ในภูมิภาคต่าง ๆ มากขึ้น
อย่างไรกก็ตาม Chao กล่าวว่าเขาได้เห็นการตอบสนองเชิงบวกเกี่ยวกับหยวนดิจิทัลจากเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในอุซเบกิสถาน อินโดนีเซีย และซาอุดีอาระเบียกำลังนับถอยหลังวันที่พวกเขาสามารถเริ่มใช้หยวนดิจิทัลได้