<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

จีนกำลังเร่งทดสอบ e-CNY คาดอาจได้เปิดตัวออกมาในเร็ว ๆ นี้

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในขณะที่ตอนนี้ประเทศจีนกำลังทดสอบเงินหยวนดิจิทัล (e-CNY) หลังการผลักดันของรัฐบาลจีนในการนำหยวนดิจิทัลมาใช้ในการชำระเงิน ซึ่งดูเหมือนว่าประชากรที่เข้าใจในเรื่องดิจิทัลและจำนวนของสมาร์ทโฟนที่มหาศาลในจีนจะช่วยลดระยะเวลาการทดสอบหยวนดิจิทัลลงอย่างมหาศาล

ความพยายามล่าสุดของประเทศจีนนั่นคือการใช้ e-CNY ในการชำระเงินสำหรับทางด่วนในจังหวัดทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑล Shaanxi ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะแลนด์มาร์คหนึ่งของจีน โดยเป็นจุดเชื่อมระหว่างเส้นทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับสองของโลกกับยุโรป แอฟริกา และเอเชีย

หากพิจารณาตามความสำคัญทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ทำให้มณฑล Shaanxi กลายเป็นเมืองนำร่องที่สองในการทดลองใช้หยวนดิจิทัลตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 โดยมีการจัดตั้งกระเป๋าดิจิทัลมากกว่า 1.1 ล้านใบตามรายงานของ Economic Information Daily

Zhaosheng Jiang ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย Blockchain ณ กรุงปักกิ่งได้เผยว่า การทดสอบหยวนดิจิทัลอยู่ในขั้นตอนการนำร่องทดสอบจากเมืองสำคัญต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่านี่คือการเปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการ

Matteo Giovannini ผู้จัดการฝ่ายการเงินอาวุโสที่ Industrial and Commercial Bank of China ซึ่งเป็นหนึ่งในธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ กล่าวว่าการพัฒนาหยวนดิจิทัลได้ผ่านขั้นตอนของการทดสอบอย่างแท้จริงแล้ว หลังจากการทดลองหลายรอบในเมืองใหญ่ ๆ อีกทั้งยังเชื่อว่าประเทศจีนผ่านช่วงทดสอบมาอย่างรวดเร็วจากปัจจัยในการพึ่งพาสมาร์ทโฟนจำนวนมาก, ประชากรที่เข้าใจดิจิทัล และนโยบายของรัฐบาลที่เอื้ออำนวย ซึ่งตอนนี้กำลังย้ายสู่การเปิดตัวอย่างในขั้นถัดไป

e-CNY จะตอกย้ำบทบาทของธนาคาร

การที่ชาวจีนคุ้นเคยกับการชำระเงินผ่านมือถืออาจเป็นประโยชน์ต่อการเปิดตัวหยวนดิจิทัลและจะทำให้ประเทศจีนเป็นผู้นำระดับโลกด้านการใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลและมือถือโดยคิดเป็น 72% ของการชำระเงินใน e-commerce ของประเทศในปี 2020 ในขณะที่ส่วนแบ่งในสหรัฐฯ อยู่ที่ 30% และของยุโรปอยู่ที่ 26% ตามรายงานล่าสุดของ Moody’s ที่อ้างถึงข้อมูลจาก WorldPay

ทั้งนี้การที่หยวนดิจิทัลนั้นได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับบทบาทของธนาคารในการชำระเงินเนื่องจากจำนวนข้อมูลผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ Giovannini ยังคาดว่าหยวนดิจิทัลจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบการเงินเมื่อธนาคารกลางสามารถดำเนินนโยบายการเงินที่ตรงเป้าหมายมากขึ้นผ่านการตรวจสอบแบบเรียลไทม์ และธนาคารพาณิชย์สามารถเห็นระดับความโปร่งใสที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ต่ำลง และช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การฉ้อโกง ได้ ทำให้มีความรู้สึกปลอดภัยสำหรับคนที่ปกป้องเงินของพวกเขา

การต่อสู้กันทางด้านเทคโนโลยี

แม้ว่าการทดสอบที่ผิดพลาดนั้นจะทำให้เกิดผลกระทบระยะสั้นต่อบริษัทเทคโนโลยี แต่ความเสี่ยงด้านการแข่งขันอาจเพิ่มขึ้นในระยะยาว โดยหยวนดิจิทัลได้ออกแบบให้ทำงานควบคู่กับแอพพลิเคชันต่าง ๆ เช่น WeChat Pay ของ Tencent และ Alipay ในเครือของอาลีบาบา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ใช้งานระหว่างบริษัทเทคโนโลยีและกิจกรรมทางการเงินของสถาบันการชำระเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร

Jiang กล่าวว่าผู้ให้บริการ e-payment ที่มีอยู่สามารถเลือกที่จะรวมหยวนดิจิทัลเข้ากับระบบของพวกเขา และเสนอทางเลือกการชำระเงินที่หลากหลายมากขึ้นแก่ผู้ใช้

อย่างไรก็ตามการที่อำนาจทางการตลาดของ WeChat Pay และ Alipay ลดน้อยลงส่งผลให้ทั้งสองบริษัทต่างต้องแข่งขันมากขึ้นเพื่ออยู่เหนือบริษัทเทคโนโลยีที่เป็นตัวแทนการบริการทางการเงินของธนาคารดิจิทัลกลาง (CBDC) 

e-CNY จะกลายมาเป็นเงินดิจิทัลสากล

PBOC  ธนาคารกลางจีนกล่าวในเอกสาร white paper ที่เผยแพร่เมื่อเดือนที่แล้วว่าการชำระเงินข้ามพรมแดนเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ซับซ้อนต่าง ๆ เช่น อำนาจอธิปไตยทางการเงิน นโยบายและการจัดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนข้อกำหนดด้านกฎระเบียบของประเทศนั้น ๆ 

แม้ว่าในทางเทคนิคแล้ว e-CNY จะพร้อมสำหรับการใช้งานข้ามพรมแดน แต่ยังคงออกแบบมาสำหรับการชำระเงินค้าปลีกในประเทศเป็นหลัก อีกทั้งการที่หยวนดิจิทัลจะกลายมาเป็นสกุลเงินดิจิทัลสากลนั้นจะต้องถูกคัดเลือกโดยผู้ใช้งานจริงอยู่ดี

ตลอดที่ผ่านมา CBDC ของจีนไม่ท้าทายกับดอลลาร์สหรัฐฯ ในเรื่องของการชำระเงินระหว่างประเทศหรือส่งเสริมการเป็นสกุลเงินดิจิทัลสากลในระยะเวลาอันใกล้ แต่ PBOC ยังคงจะสำรวจความเป็นไปได้ในการยอมรับหยวนดิจิทัลเป็นสกุลเงินดิจิทัลสากล 

jiang กล่าวว่าหยวนดิจิทัลได้รับการออกแบบมาสำหรับสถานการณ์การชำระเงินค้าปลีกในประเทศ  ซึ่งความก้าวหน้าของการทำให้เงินหยวนเป็นสกุลเงินสากลนั้นไม่ได้ถูกกำหนดโดยการแปลงเงินหยวนให้เป็นสกุลเงินดิจิทัล

อย่างไรก็ตามการใช้หยวนดิจิทัลข้ามพรมแดนจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะมีการดำเนินการภายในประเทศจีนให้เสร็จเรียบร้อยเสียก่อน อีกทั้ง Giovannini ยังกล่าวเสริมว่าพวกเขาเองได้มีการวางแผนที่จะทดสอบการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนระหว่าง PBOC กับประเทศไทย, ฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นระยะเริ่มต้นของโครงการเท่านั้น