<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ออกกฎหมายสั่งจำคุกนักต้มตุ๋น crypto ห้าปีและปรับกว่า 9 ล้านบาท

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ได้เปิดตัวกฎหมายใหม่ที่จะกำหนดโทษจำคุกห้าปีและปรับเงินกว่า $272,000 สำหรับผู้กระทำความผิดฐานหลอกลวง crypto 

การออกกฎนี้เกิดมาจากการหลอกลวงของ DubauCoin ซึ่งอ้างตนว่าเป็นสกุลเงินอย่างเป็นทางการของประเทศสื่อท้องถื่นนั้นรายงานว่าการแก้ไขกฎหมายความปลอดภัยออนไลน์ฉบับใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2022

อย่างไรก็ตามกฎหมายยังหมายถึง “ที่ไม่เป็นที่รู้จัก” ซึ่งมีช่องว่างสำหรับการตีความดังกล่าว Josh Kemp หุ้นส่วนของ ADG กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า

“บุคคลใดก็ตามที่ส่งเสริม, โฆษณาหรือสนับสนุนการซื้อขายคริปโตซึ่งไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการใน UAE หรือมีการกระทำการโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับตั้งแต่ $20,000 จนถึง $500,000”

UAE กำลังทำงานเกี่ยวกับกฎระเบียบของคริปโตส่วนหนึ่งเพราะการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นที่เป็นที่โด่งดังที่สุดก็คือ DubaiCoin ซึ่งเสนอตัวว่าเป็นเหรียญของประเทศ

เจ้าหน้าที่ได้ออกแถลงการณ์ว่าเหรียญ DubaiCoin เป็นเพียงการหลอกลวงแต่เงินจำนวนมหาศาลก็ถูกขโมยไปอยู่ดีเช่นเดียวกับการหลอกลวงหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมาผู้สร้าง DubaiCoin ได้พยายามทำให้เหรียญนั้นดูเหมือนจะถูกกฎหมายมากที่สุด

UAE ไม่ได้ห้ามคริปโตแต่อย่างใดและสามารถซื้อขายได้ปกติอย่างไรก็ตามพวกเขาไม่ได้ประกาศว่าเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายเหมือนกับประเทศอื่น ๆ UAE นั้นมีความกระตือรือร้นที่จะควบคุมประเภทสินทรัพย์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคว่าจะได้รับการคุ้มครอง

การควบคุมคาดการณ์ว่าจะมีความเข้มงวดมากขึ้นจากการหลอกลวงและการแฮ็กที่เพิ่มมากขึ้น

การตัดสินใจของ UAE ในการกำหนดโทษปรับและจำคุกสำหรับนักต้มตุ๋นเป็นสิ่งที่ถูกคาดหวังและนี่คือสิ่งที่หลายประเทศกำลังเอนเอียงไปหาเงินที่ถูกแฮ็กในส่วนของ DeFi เพียงอย่างเดียวนั้นก็มากกว่า 474 ล้านดอลลาร์แล้วในช่วง 7 เดือนแรกของปี

ประเทศต่าง ๆ กำลังเตรียมออกกฎระเบียบต่าง ๆ สำหรับคริปโตซึ่งรวมไปถึงการเก็บภาษี, การคุ้มครองนักลงทุนและการจดทะเบียนหลักทรัพย์

เมื่อมีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ตลาดมากขึ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องการให้แน่ใจว่ามีการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดและมาตรการป้องกันการหลอกลวงการไม่ดำเนินการเช่นนั้นจะสร้างความขุ่นเคืองใจแก่หน่วยงานกำกับดูแลเช่นเดียวกับในกรณีของ UAE