<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

5 ตัวชี้วัดที่สามารถบ่งบอกนักเทรดได้ว่าตลาดหมีจะจบลงเมื่อใด

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ตลาดกระทิงได้อันตรธานหายไปและช่วงเวลา crypto winter ที่แสนยาวนานนั้นทำให้นักเทรดรู้สึกแย่อย่างแน่นอน ราคาของ Bitcoin (BTC) ได้ตกลงสู่ระดับต่ำสุดอย่างที่ทุกคนคาดไม่ถึง และนักลงทุนบางคนก็มีแววที่จะเกาหัวและสงสัยว่า BTC จะกลับมาจากการปรับฐานครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร

ราคาของ BTC กำลังลดลงในทุกวันและคำถามปัจจุบันในหัวของทุกคนคือ “เมื่อใดที่ตลาดจะถึงจุดต่ำสุดและตลาดหมีจะอยู่ไปอีกนานแค่ไหน”

แม้ว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่จะคาดการณ์ว่าตลาดหมีจะสิ้นสุดเมื่อใด แต่การศึกษาเทรนด์ขาลงก่อนหน้านั้นจะให้ข้อมูลเชิงลึกว่าช่วงใดของตลาดที่กำลังใกล้เข้ามา

โดยบทความนี้จะพามาดูตัวชี้วัด 5 ตัวที่นักเทรดใช้เพื่อช่วยให้รู้ว่าช่วง crypto winter ใกล้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด

อุตสาหกรรม crypto เริ่มฟื้นตัว

หนึ่งในสัญญาณสุดคลาสสิกที่บ่งบอกว่า crypto winter ได้เริ่มก่อตัวลงคือการเลิกจ้างพนักงานในระบบนิเวศของ crypto เป็นวงกว้างเนื่องจากบริษัทต่าง ๆ พยายามลดค่าใช้จ่ายเพื่อเอาตัวรอดจากยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำในอนาคต

พาดหัวข่าวตลอดปี 2018 และ 2019 เต็มไปด้วยการประกาศเลิกจ้างจากบริษัทในอุตสาหกรรมคริปโตรายใหญ่ประกอบไปด้วยบริษัทเทคโนโลยีอย่าง ConsenSys และ Bitmain รวมถึงเว็บเทรดคริปโตอย่าง Huobi และ Coinfloor

สัญญาณที่ดีที่บ่งบอกว่าช่วง crypto spring กำลังใกล้เข้ามาคือเมื่อบริษัทต่าง ๆ เริ่มจ้างพนักงานอีกครั้งและโปรเจ็กต์ใหม่ ๆ เปิดตัวพร้อมการประกาศระดมทุนนี่เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเงินทุนเริ่มไหลกลับเข้าสู่ระบบนิเวศและตลาดหมีที่เลวร้ายที่สุดก็ได้ผ่านพ้นไปแล้ว

ดูว่าเส้น SMA 200 รายสัปดาห์ของ Bitcoin กลายเป็นแนวต้านหรือแนวรับ

สัญญานในเชิงเทคนิคที่บ่งบอกถึงจุดสิ้นสุดของตลาดหมีหลาย ๆ ครั้งในประวัติศาสตร์ของ Bitcoin คือเมื่อราคา Bitcoin ตกลงต่ำกว่าเส้น simple moving averagee (SMA) 200 รายสัปดาห์แล้วมันจะไต่ขึ้นมายืนเหนือระดับดังกล่าว

ดังที่แสดงตรงที่เป็นลูกศรสีม่วงบนกราฟด้านบนกรณีก่อนหน้านี้ที่ราคาของ BTC ลดลงต่ำกว่า SMA 200 รายสัปดาห์ ซึ่งเป็นเส้นสีน้ำเงินอ่อน จากนั้นกราฟ BTC จะดีดตัวขึ้นไปยืนเหนือตัวชี้วัดและเตรียมเปลี่ยนเทรนด์เป็นขาขึ้น

RSI เป็นเจ้าแห่งการบอกจุดต่ำสุด

ตัวบ่งชี้ทางเทคนิคตัวอื่นที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ตลาดหมีอาจอยู่ในช่วงต่ำสุดคือ Relative Strength Index (RSI)

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดหมีก่อนหน้านี้เราได้เห็น RSI ของ Bitcoin  ร่วงลงสู่พื้นที่ขายมากเกินไปและค่าของมันได้ตกลงมาต่ำกว่า 16 ในช่วงเวลาที่ BTC ตกต่ำอย่างมาก

จากกรณีตัวอย่างสองกรณีข้างต้นที่เน้นด้วยวงกลมสีส้มเป็นการยืนยันว่าระดับต่ำสุดนั้นยังไม่เกิดขึ้นจนกว่า RSI จะยินต่ำกว่า 30 อีกครั้งในโซนที่มีการขายมากเกินไปซึ่งเป็นสัญญาณว่าอุปสงค์ในการซื้อจะเริ่มเพิ่มขึ้นและอาจมีแรงซื้อกลับเข้ามาในตลาดอีกครั้ง

มูลค่าตลาดต่อมูลค่าที่รับรู้ได้

มูลค่าตลาดต่อมูลค่าที่รับรู้ (MVRV) Z-score เป็นตัวชี้วัดที่ออกแบบมาเพื่อ “ระบุช่วงเวลาที่ Bitcoin มีมูลค่าสูงหรือต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับ ‘มูลค่ายุติธรรม'”

เส้นสีน้ำเงินบนกราฟด้านบนแสดงถึงมูลค่าตลาดปัจจุบันของ Bitcoin เส้นสีส้มแสดงถึงราคาที่รับรู้ และเส้นสีแดงแสดงถึง Z score ซึ่งเป็น “การทดสอบค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ดึงเอาข้อมูลระหว่างมูลค่าตลาดและ มูลค่าที่รับรู้ได้”

ตามที่เห็นในกราฟ ตลาดหมีครั้งก่อน Z score อยู่ต่ำกว่า 0.1 ซึ่งเน้นด้วยกล่องสีเขียวที่ด้านล่าง การเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้นใหม่ไม่ได้รับการคอนเฟิร์มนกว่าตัวชี้วัดจะขึ้นไปยืนเหนือ 0.1

จากประสิทธิภาพในอดีต ตัวชี้วัดนี้ชี้ให้เห็นว่าอาจมีการปรับตัวลงเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้สำหรับ Bitcoin ตามด้วยการที่ราคาวิ่ง sideway ออกข้างไปอีกซักพัก

ตัวคูณ moving average 2 ปี

ตัวชี้วัดสุดท้ายที่สามารถเสนอวิธีการที่ง่ายขึ้นสำหรับนักลงทุน Bitcoin ที่จะรู้ว่าเมื่อตลาดหมีสิ้นสุดลงคือตัวคูณ moving average 2 ปี ตัวชี้วัดนี้ติดตามค่า moving average 2 ปีและตัวคูณ 5 เท่าของค่า moving average 2 ปี (MA) ด้วยราคาของ Bitcoin

เมื่อใดก็ตามที่ราคาของ BTC ลดลงต่ำกว่าเส้น MA 2 ปี ตลาดก็เข้าสู่ช่วงตลาดหมีและเมื่อใดก็ตามที่ราคาของ BTC ได้ไต่กลับเหนือเส้น MA 2 ปี เทรนด์ขาขึ้นของตลาดก็จะตามมา

ในทางกลับกันหากราคาที่พุ่งขึ้นไปสามารถยินเหนือเส้น MA x5 2 ปี นั่นเป็นสัญญาณบอกว่าเป็นตลาดกระทิงเต็มตัวและถือเป็ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการทำกำไร

นักเทรดสามารถใช้ตัวชี้วัดนี้เป็นสัญญาณว่าเมื่อใดอาจเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับการเก็บสะสม ตามที่เน้นโดยพื้นที่สีเทาหรือพวกเขาสามารถรอจนกว่าราคาของ BTC จะยืนเหนือเส้น MA 2 ปีเพื่อเป็นสัญญาณบอกว่าตลาดหมีสิ้นสุดลง .

ไม่ว่านักเทรดจะเลือกใช้ตัวชี้วัดที่กล่าวมาข้างต้นตัวใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าไม่มีตัวชี้วัดใดที่สมบูรณ์แบบและมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดผลลัพธ์ในด้านลบมากกว่าเสมอ