<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

คู่มือมือใหม่: วิธีใช้ Bitcoin Liquidation Map หาจุดเข้า-ออก (แบบไม่ให้ตัวเองโดนล้างพอร์ต)

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

การอ่านแผนที่ Bitcoin Liquidation Map ถือเป็นทักษะสำคัญที่นักเทรดคริปโตควรมี เพราะช่วยให้เข้าใจว่า ราคามีแนวโน้มจะเหวี่ยงไปตรงไหน โดยเฉพาะเมื่อเกิดแรงซื้อขายจากเจ้ามือรายใหญ่ หรือมีคำสั่งเลเวอเรจจำนวนมากรออยู่ในตลาด 

แผนที่นี้จะแสดงระดับราคาที่มีแนวโน้มจะเกิดการล้างพอร์ต (Liquidation) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนักเทรดที่ใช้เลเวอเรจมีมาร์จิ้นไม่เพียงพอ ที่จะรองรับการขาดทุน ทำให้ระบบของเว็บเทรดบังคับปิดออเดอร์โดยอัตโนมัติ

แผนที่ Liquidation มักจะมาในรูปแบบกราฟ Heatmap โดยแกนนอน (แกน X) คือ ราคาของ Bitcoin ส่วนแกนตั้ง (แกน Y) คือ ระดับของแรงกดดันจากคำสั่งล้างพอร์ต ยิ่งแถบในกราฟสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งแปลว่า มีโอกาสที่ราคาพุ่งขึ้นหรือร่วงลงไปแตะจุดนั้น  

ส่วนจุดที่เรียกว่า “คลัสเตอร์” ของ Liquidation Map ก็จะปรากฏให้เห็นเป็นจุดร้อนที่โดดเด่นออกมา  และจุดเหล่านี้มักจะเป็นเป้าหมายที่เจ้ามือรายใหญ่ใช้โจมตี เพื่อหวังให้เกิดการขาย/ซื้ออย่างรวดเร็ว

โดยทั่วไปแล้วคุณควรหลีกเลี่ยงการเปิดออเดอร์ใกล้บริเวณที่แรงกดดันจากคำสั่งล้างพอร์ตหนาแน่น เพราะบริเวณเหล่านี้มักเป็น “แม่เหล็ก” ที่ดึงราคาวิ่งเข้าหา แล้วเกิดความผันผวนรุนแรงตามมา นอกจากนี้เรายังสามารถใช้แผนที่นี้ในการตั้ง Stop-loss ได้อย่างฉลาด โดยวางให้ห่างจากบริเวณที่เสี่ยงจะเกิดการล้าง เพื่อป้องกันไม่ให้โดนลากราคาไปล้างกลางทางแบบไม่ทันตั้งตัว

อีกหนึ่งเทคนิคที่ไม่ควรมองข้ามคือการจับตาดูพฤติกรรมของ “วาฬ” หรือผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด เพราะพวกเขามักอาศัยจังหวะที่คนหมู่มากเปิดออเดอร์ในทิศทางเดียวกัน เพื่อดันราคาไปสู่โซนล้างแล้วทำกำไรจากความผันผวนนั้น และสุดท้ายคือ “รู้จักรอ” อย่ารู้สึกว่าต้องเทรดทุกจังหวะ บางช่วงที่มี Liquidation คลัสเตอร์ หนาแน่นเกินไป การเว้นช่วงเพื่อรอจังหวะที่เหมาะสมอาจเป็นกลยุทธ์ที่ปลอดภัยที่สุดในการรักษาเงินทุนของคุณในตลาดที่เต็มไปด้วยความผันผวนแบบนี้

กรณีตัวอย่างใช้งาน Liquidation Map และ สังเกตพฤติกรรมวาฬ เพื่อหาจุดเข้า-ออกอย่างปลอดภัย

ในการใช้งาน Liquidation Map กับสถานการณ์จริง สมมติว่า คุณเปิดดูข้อมูลจากแพลตฟอร์มอย่าง CoinGlass แล้วพบว่า บริเวณราคา Bitcoin ที่ประมาณ $102,000 มีแท่งสีแดงเข้มและสูงผิดปกติเมื่อเทียบกับจุดอื่น ๆ บนกราฟ นั่นหมายความว่า มีคำสั่ง Long จำนวนมากที่เปิดไว้แถวนั้น และถ้าราคาร่วงลงมาแตะระดับนี้ จะมีโอกาสสูงที่คำสั่งเหล่านั้นจะถูกล้างพอร์ตแบบลูกโซ่ หรือที่เรียกว่า Long Liquidation Cascade ซึ่งมักตามมาด้วยแรงเทขายมหาศาล เพราะระบบจะปิดออเดอร์ของเทรดเดอร์จำนวนมากพร้อมกัน

ในสถานการณ์นี้ ถ้าคุณยังไม่ได้เปิดออเดอร์ แนะนำว่าอย่าเพิ่งเปิด Long ในบริเวณใกล้เคียงราคา $102,000 เพราะมันเป็นโซนเสี่ยงที่อาจเกิดแรงเทขายรุนแรงแบบไม่ทันตั้งตัว แต่ถ้าคุณถือ Long อยู่แล้วตั้งแต่ราคาที่ต่ำกว่านี้มาก อาจใช้โอกาสนี้ในการขายทำกำไร (Take Profit) ก่อนราคาจะไหลลงเข้าโซนล้างพอร์ต ซึ่งเป็นการป้องกันความเสี่ยงอย่างมีเหตุผล และหากคุณเป็นนักเทรดที่มองหาจังหวะ Short ก็สามารถใช้บริเวณ $102,000 เป็นแนวต้าน และตั้ง Stop-loss ไว้เหนือโซนนี้เพื่อควบคุมความเสี่ยง

อีกหนึ่งตัวอย่างของการใช้ Liquidation Map คือการสังเกตพฤติกรรมของ “วาฬ” หรือผู้เล่นทุนใหญ่ สมมติว่าคุณพบว่าในแผนที่มีแรงสะสม Short หนาแน่นที่บริเวณราคา $105,000 แปลว่า หากราคาทะลุผ่านระดับนี้ขึ้นไปได้ อาจเกิดปรากฏการณ์ Short Squeeze ซึ่งเป็นจังหวะที่เทรดเดอร์ฝั่ง Short ถูกบังคับปิดออเดอร์ ทำให้ราคาพุ่งขึ้นเร็วอย่างผิดปกติ นักเทรดมือเก๋าหลายคนจะรอให้ราคาทะลุแนวนี้แล้วเทรดตามกระแสขึ้นไปช่วงสั้น ๆ ก่อนจะรีบปิดทำกำไรเมื่อเริ่มเห็นสัญญาณแรงขายจากวาฬ

จะเห็นได้ว่า Liquidation Map ไม่ได้มีไว้เพื่อบอกแค่จุดอันตราย แต่ยังช่วยให้นักเทรดวางแผนเข้า-ออกตลาดได้แม่นยำขึ้น และเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มทุนใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวราคาของ Bitcoin  

ที่มา : cointelegraph