แม้ว่าตอนนี้ราคาของ Bitcoin นั้นแลดูจะห่างไกลจากจุด all time high อยู่มากนักตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2021 แต่สินทรัพย์บางตัวนั้นก็แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งที่ต่างกันออกไปโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับตลาดหุ้น
Mike McGlone นักยุทธศาสตร์ด้านสินค้าโภคภัณฑ์ระดับอาวุโสของทาง Bloomberg ได้เน้นย้ำถึงอยู่ในจุดที่เกินคาดการณ์การปรับฐานไปพอสมควรโดยเฉพาะอย่างยิ้งกับตราสารทุนแต่เพิ่งมีการตั้งข้อสังเกตเมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา Bitcoin “แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งที่ต่างออกไป”
มากไปกว่านั้น Mike ยังกล่าวอีกว่า “ทองคำดิจิทัล” นั้นพร้อมที่จะเฉิดฉายโดยข้อสังเกตคือ Bitcoin นั้นจะถูกกดดันจากภาวะเงินฝืดหลังจากจุดสูงสุดในปี 2021 เขาพูดเสริมว่า Bitcoin นั้นอาจพัฒนาไปเป้็นหลักประกันดิจิทัลของโลก
Mike กล่าวว่า
“Bitcoin $40,000 หรือ Nasdaq 14,000? Bitcoin นั้นแลดูจะเหนือกว่า เพราะ Bitcoin ต้องเผชิญกับสภาวะเงินฝืดอย่างมากหลังจากปี 2021 :ซึ่ง Bitcoin นั้นแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งกว่าด้วยการมีมูลค่าที่ลดลงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ Nasdaq 100 หากย้อนไปในปี 2002 ดังนั้น Bitcoin อาจจะกลายไปเป็นหลักประกันดิจิทัลของโลก”
โอกาสในการซื้อ Bitcoin
หลักจากยูเครนถูกรุกรานโดยรัสเซียมูลค่า Bitcoin ก็ลดลงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ Mike ตั้งข้อสังเกตว่าแม้ว่าจะมีความเสี่ยงในเชิงลบอยู่ก็ตามแต่การที่มูลค่านั้นลดลงถือเป็น “โอกาสในการซื้อที่ดีอย่างมาก” สำหรับภาพรวมในระยะยาว
“ผมไม่คิดว่า Bitcoin นั้นจะลงมาต่ำกว่า $30,000 มากนักมีแนวต้านที่สำคัญในช่วง $40,000 ผมคิดว่านี่เป็นโอกาสที่ดีที่สุดในการซื้อ Bitcoin สำหรับผู้ที่ถือในระยะยาวมันจะถูกมองย้อนไปในอดีตในฐานะของช่วงเวลาที่กำหนด” เขากล่าว
ตั้งแต่ตอนนั้น Bitcoin ราคาร่วงจาก $39,000 ลงไปต่ำกว่า $35,000 เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้วแต่แล้วราคาของ Bitcoin ก็เด้งกลับไปที่ $45,000 เมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา
ตอนนี้ราคาของ Bitcoin อยู่ที่ $39,084 ซึ่งร่วงลงไปกว่า 6.25% ใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาและขึ้นมา 0.61% จากสัปดาห์ก่อนหน้านี้ตามข้อมูลสถิติจาก CoinMarketCap
มูลค่าตลาดรวมของ Bitcoin อยู่ที่ 741,600 ล้านดอลลาร์ซึ่งคิดเป็น 42.2% ของตลาด
ท้ายที่สุดนี้ผลที่เกิดจากความตึงเครียดของสงครามรัสเซีย-ยุูเครนส่งผลให้อุปทานของ Bitcoin นั้นเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่หนุนให้ Mike McGlone นั้นเชื่อว่ามันจะกลายเป้นหลักประกันดิจิทัลของโลก