อ้างอิงจากรายงานข่าวของ Siam Blockchain พรก. สำหรับคริปโตได้ถูกบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อยในวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา และในตอนนี้สินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทยได้ถูกกฎหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่า มีการควบคุมและเก็บภาษีตามมากับการคุ้มครองทางกฎหมาย
หนึ่งในประเด็นที่ผู้คนในวงการคริปโตยังคงถกเถียงกันอยู่นั้นคือ เรื่องการเสียภาษี หากอ้างอิงจากพรก. ฉบับที่ 19 มาตรา 4 ข้อ ฉ “ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) และ (ฌ) ให้คํานวณหักในอัตรา ร้อยละ 15.0 ของเงินได้” ” หรือตีความง่าย ๆ ว่าหากผู้ใดได้กำไรจากสินทรัพย์ดิจิทัล พวกเขาจำเป็นต้องจ่ายภาษีคิดเป็น 15 เปอร์เซ็นต์จากกำไรที่ได้มา ยกตัวอย่างเช่น นาย A ซื้อ Bitcoin ที่ราคา 100 บาท และ นำไปขายที่ราคา 200 บาท เขาจะได้กำไร 100 บาท โดยเขาต้องนำกำไรที่เขาได้มาคำนวณว่าต้องเสียภาษีเท่าไร โดยในที่นี้นาย A ได้กำไร 100 บาท ซึ่งเขาต้องเสียภาษี 15 เปอร์เซ็นต์จากกำไร แปลว่า เขาจำเป็นต้องเสียภาษี 15 บาท
สำหรับนักเทรดแล้วการคำนวณดังกล่าวนั้นอาจดูไม่ซับซ้อนอะไรนัก เนื่องจากพวกเขาซื้อมาและขายไป แต่หากเป็นนักขุดคริปโต ที่พวกเขามีต้นทุนจากเครื่องขุด, ค่าไฟ, ค่าดูแลและอื่น ๆ หากคิดตามหลักเหตุและผล การคำนวณกำไรจากการขุดคริปโตจะได้กำไรก็ต้องนำค่าใช้จ่ายเหล่านั้นมาหักลบกับรายได้จากการขุดด้วย แต่เหมือนว่า พรก. ดังกล่าวนั้นจะตีความว่าไม่ได้นำค่าใช้จ่ายตรงนั้นมาคำนวณกำไร ทำให้ปัจจุบันนักขุดคริปโตนั้นมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าปกติ
นอกจากนี้กำไรที่ได้จากทรัพย์สินดิจิทัลนั้น ยังจัดว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) นักลงทุนเหล่านั้นยังต้องนำรายได้จากทรัพย์สินดิจิทัลมายื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีอีกรอบด้วย เพราะการหักภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล นั้นยังไม่ใช่การเสียภาษีสุดท้าย (Final Tax) เช่นเดียวกับดอกเบี้ยและเงินปันผล ต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม พรก. นั้นยังมีการปรับเปลี่ยนได้ โดยอ้างอิงจาก Siam Blockchain ที่ได้รายงานก่อนหน้านี้ว่า กลต. ได้ออกมาประกาศว่าจะจัดงานเฮียริ่งภายในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะรับฟังความเห็นจากประชาชน และจะประกาศกฎหมายใหม่อีกรอบภายในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ ทำให้เวลาดังกล่าว เป็นช่วงที่พวกเรามีสิทธิ์ที่จะสามารถให้คำแนะนำต่อกลต. ได้ ซึ่งต้องติดตามกันต่อไป ว่าจะสามารถออกความเห็นได้ที่ไหน
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น