ล่าสุด รัฐบาลอินเดียประกาศใช้กฎหมายใหม่ สำหรับผู้ใช้คริปโตที่ไม่รายงานผลกำไรอย่างถูกต้อง ซึ่งอาจถูกเรียกเก็บ ภาษีย้อนหลังสูงสุดถึง 70% ของกำไรที่ยังไม่ได้เปิดเผย
รมว. คลังอินเดีย นีร์มาลา สีธารามาน ประกาศในงบประมาณปี 2025 ว่า คริปโตจะถูกจัดอยู่ภายใต้มาตรา 158B ของกฎหมายภาษีเงินได้ ซึ่งครอบคลุม “รายได้ที่ไม่ได้เปิดเผย” หมายความว่างานนี้ใครแอบทำกำไรจากคริปโตแล้วไม่แจ้ง อาจโดนภาษีย้อนหลังมหาโหด
การแก้ไขกฎหมายครั้งนี้เปิดทางให้ กำไรจากคริปโตถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลัง (block assessment) หากไม่ได้รายงาน โดยจะถูกจัดอยู่ในหมวดเดียวกับ สินทรัพย์แบบดั้งเดิม เช่น เงินสด, เครื่องประดับ และทองแท่ง ซึ่งหมายความว่า นักลงทุนคริปโตที่ไม่แจ้งรายได้ อาจโดนเรียกเก็บภาษีแบบเดียวกับสินทรัพย์ทั่วไปการแก้ไข โดยมีกำหนดบังคับใช้แบบมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ช่วงปลาย ธันวาคม 2024 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของอินเดีย Pankaj Chaudhary เปิดเผยว่า รัฐบาลพบภาษี GST ค้างจ่ายจากเว็บเทรดคริปโตหลายแห่ง รวมมูลค่ากว่า 824 สิบล้านรูปี (ประมาณ $97 ล้าน หรือราว 3.5 พันล้านบาท) โดยรายงานดังกล่าวถูกเผยแพร่ไม่นาน หลังจากมีรายงานว่ารัฐบาลอินเดียได้เรียกเก็บภาษีย้อนหลังจำนวน $85 ล้าน จาก Binance เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
การเคลื่อนไหวดังกล่าวถูกมองว่าเป็นแรงกดดันครั้งใหญ่ต่อวงการคริปโตในอินเดีย โดยเฉพาะเมื่อนักเทรดที่ไม่เปิดเผยกำไรจากคริปโตภายใน 48 เดือนหลังจากปีภาษีนั้นๆ อาจต้องเผชิญกับ ค่าปรับสูงถึง 70% ของภาษีและดอกเบี้ยที่ต้องชำระ ซึ่งสะท้อนถึงท่าทีที่เข้มงวดขึ้นของรัฐบาลอินเดียในการควบคุมภาษี คริปโต
นอกจากนี้ การแก้ไขกฎหมายยังเกิดขึ้นเพียงสองสัปดาห์หลังจากที่ Bybit หนึ่งในเว็บเทรดคริปโตชั้นนำ ประกาศระงับบริการในอินเดียเมื่อวันที่ 10 มกราคม โดยให้เหตุผลว่ากำลังเผชิญแรงกดดันด้านกฎระเบียบ
ที่มา : Cointelegraph