ปัจจุบันอินเทอร์เนตกลายมาเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของใครหลายๆคน จนมีบางคนถึงกับกล่าวว่ามันกลายเป็นปัจจัยที่หกไปเสียแล้ว ทว่าหนึ่งในสิ่งที่เทคโนโลยีเปลี่ยนมนุษย์ไปจริงๆนั้นอาจจะไม่ใช่ตัวอินเทอร์เนตเสียทีเดียว แต่มันคือ “ความสามารถในการเชื่อมต่อที่ไร้พรหมแดนด้วยความเร็วแสง” กับกลุ่มเพื่อนๆที่เราโปรดปราน หรือข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมากกว่า
กระนั้น ปัจจุบันการเดินทางข้ามประเทศที่แม้ว่าจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเครื่องบินมาช่วยร่นระยะเวลาจากที่เคยเป็นเดือนในอดีตให้สั้นลงเหลือชั่วโมงนั้นถือเป็น milestone หลักสำคัญของมนุษย์ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นปัญหาคือการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตในต่างแดน
มีสถิติว่า ในปี 2016 มีนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งพันสองร้อยล้านคนทั่วโลก และตัวเลขดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ คุณ Sergey หนุ่มชาวรัสเซียที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 5-10 ปี เชื่อว่านักท่องเที่ยวทุก ๆ คนควรจะมีโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือแบบไม่จำกัดและมีราคาถูก จึงมีแนวคิดในการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อที่จะมาแก้ปัญหานี้
มีชื่อว่า “TripAlly” เป็นแพลตฟอร์มที่มีไว้เพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่มีราคาสูงจำพวก International Roaming และยังมีบริการที่จำเป็นต่อนักท่องเที่ยว อย่างเช่น แลกเปลี่ยนเงินตรา หรือด้านคมนาคมอย่าง Uber หรือ Grab โดยนักท่องเที่ยวสามารถเรียกใช้ได้เลย
และในตอนนี้ “TripAlly” กำลังมีการระดมทุนผ่าน ICO หรือการนำเสนอขายเหรียญเพื่อรวบรวมเงินทุนสำหรับการสร้างแพลตฟอร์มให้พวกเราใช้ในนาม Ally Token จะเป็นมาตรฐาน ERC20 โดยจะเป็นเหรียญ Token ที่อยู่บนเครือข่ายอีเธอเรียม (Ethereum)
Ally token จำนวนทั้งหมด 100,000,000 token จะถูกกระจายออกในวันแรกที่ขาย และ token ที่เหลือจากการขายในช่วง pre-ICO และ ICO จะถูกทำลาย โดยสนนราคาเริ่มต้นที่ 0.005 ETH ต่อ 1 Ally token หรือ 200 Ally token จะเท่ากับ 1 ETH นั่นเอง การจำหน่าย ICO จะเริ่มต้นในวันที่ 15 ตุลาคม 2017 จนถึง 30 พฤศจิกายน 2017 นอกจากนี้ยังมีส่วนลดสำหรับผู้ซื้อในช่วง ICO อีกด้วย อ้างอิงจาก White paper โดยรายละเอียดเพิ่มเติมนั้นสามารถที่จะดูผ่านผ่านเว็บไซต์ของพวกเขาได้ นักลงทุนสามารถได้รับผลประโยชน์จาก ICO ของ TripAlly ได้หลายทาง โดยได้รับผลประโยชน์ส่วนต่างของราคาของ Ally token เนื่องจากราคาของ Ally token หลังจาก ICO แล้วจะอยู่ที่อย่างน้อย 3 ดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ token ยังมีสภาพคล่อง สามารถแลกเปลี่ยนซื้อ-ขาย ดังนั้นผลประโยชน์หลักของนักลงทุนคืออัตราราคา token ที่เพิ่มขึ้นหลังจาก ICO นั่นเอง และเมื่อ “TripAlly” สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชีย 1 Ally token จะมีราคาไม่ต่ำกว่า 3 ดอลลาร์สหรัฐ โดย 1 Ally token นั้นจะเทียบเท่ากับอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตแบบ 1 วันบนแพลตฟอร์มของ TripAlly นั่นเอง
และนี่คือบทสัมภาษณ์ของคุณ Sergey Gordeev เจ้าของแพลตฟอร์ม “TripAlly” ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาของการเดินทางได้ โดยคุณ Sergey ได้ติดต่อสยามบล็อกเชนมาเพื่อขอเผยแพร่บทสัมภาษณ์ดังกล่าว
ถาม : แนวคิด TripAlly เกิดขึ้นได้อย่างไร
Sergey: อย่างที่เราทราบกันว่า การเดินทางระหว่างประเทศนั้นยุ่งยาก และมีอุปสรรคมากมาย เช่น หนังสือเดินทาง วีซ่า การหาบัตรโดยสารเครื่องบิน และการเชื่อมต่อ รวมถึงการผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง และในปัจจุบันสิ่งที่เพิ่มความปวดหัวเข้ามาอีกหนึ่งสิ่งคือ การเชื่อมต่อสู่โลกอินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่องแม้อยู่ในต่างแดน
หลายๆคนที่เดินทางเป็นประจำจะต้องเผชิญกับบิลค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เรียกเก็บเงินมหาศาล หลังจากกลับจากการเดินทางไปยังต่างประเทศ ในกรณีที่โทรศัพท์มือถือของคุณทำสัญญากับผู้ให้บริการเครือข่าย คุณจำเป็นจะต้องใช้บริการข้ามเครือข่าย (roaming)ในระหว่างที่คุณเดินทางไปต่างประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หากโทรศัพท์ของคุณไม่ได้ทำสัญญากับผู้ให้บริการใดๆ คุณสามารถใช้ซิมการ์ดของผู้ให้บริการในประเทศปลายทาง หรือใช้ซิมการ์ดสำหรับการเดินทางต่างประเทศโดยตรงได้ แต่คุณจะพบว่าคุณถูกตัดขาดจากเพื่อนๆ ครอบครัว และไม่ได้รับข้อความสำคัญจากธนาคาร หรือผู้ให้บริการทางด้านการเงินที่คุณใช้บริการอยู่ และอื่นๆ เนื่องจากข้อมูลผู้ใช้ผูกกับซิมการ์ดเดิม ทีมงานของเราจึงสร้าง TripAlly ขึ้นมาเพื่อที่จะทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป และทำให้นักท่องเที่ยวเป็นอิสระจาก international roaming จากผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือหลักของตน
[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]
ถาม : ช่วยบอกพวกเราเกี่ยวกับแคมเปญการระดมทุนของ TripAlly
Sergey : TripAlly เลือกการระดมทุนแบบ initial coin offering (ICO) หรือการนำเสนอขายเหรียญ หรือ token เพื่อรวบรวมเงินทุนสำหรับการสร้างแพลตฟอร์มที่นอกจากจะช่วยให้นักเดินทางสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ระหว่างเดินทาง ยังมีการให้บริการอื่น ๆ เช่น รถแท็กซี่ การแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่างๆ และบริการข้อมูลข่าวสารTripAlly จะเริ่มระดมทุนโดย Ally Token ซึ่งเป็นมาตรฐาน ERC20 โดยจะเป็นสกุลเงิน “เสมือน” ที่อยู่บนเครือข่ายอีเธอเรียม (Ethereum) บล็อกเชน
Ally token ทั้งหมดจำนวน 100,000,000 token จะถูกกระจายออกไปในเริ่มแรก และ
token ที่เหลือจากการขายในช่วง pre-ICO และ ICO จะถูกทำลาย โดยสนนราคาเริ่มต้นที่ 0.005 ETH ต่อ 1 Ally token หรือ 200 Ally token จะเท่ากับ 1 ETH นั่นเอง
ในขณะที่ช่วงการขาย pre-ICO ยังคงดำเนินต่อไปจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม การจำหน่าย ICO จะเริ่มต้นในวันที่ 15 ตุลาคม 2017 จนถึง 30 พฤศจิกายน 2017 นอกจากนี้ยังมีส่วนลดสำหรับผู้ซื้อในช่วง ICO อีกด้วย โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการกองทุน ส่วนลด และแผนในอนาคตได้จาก whitepaper บนเว็บไซต์ของ TripAlly
บริการนี้จะริเริ่มให้บริการในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นลำดับแรก เช่นประเทศไทย กัมพูชา เวียดนาม เมียนมาร์ สปป.ลาว และมาเลเซีย
ถาม: นักลงทุนจะได้รับผลประโยชน์อะไรบ้างจากการลงทุนใน TripAlly
Sergey: นักลงทุนสามารถได้รับผลประโยชน์จาก ICO ของ TripAlly ได้หลายทาง
โดยได้รับผลประโยชน์ส่วนต่างของราคาของ Ally token เนื่องจากราคาของ Ally token หลังจาก ICO จะอยู่ที่อย่างน้อย 3 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ token ยังมีสภาพคล่อง สามารถแลกเปลี่ยนซื้อ-ขาย ดังนั้นผลประโยชน์หลักของนักลงทุนคืออัตราราคา token ที่เพิ่มขึ้นหลังจาก ICO นั่นเอง และเมื่อ TripAlly สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชีย 1 Ally token จะมีราคาไม่ต่ำกว่า 3 ดอลลาร์สหรัฐ โดย 1 Ally token นั้นจะเทียบเท่ากับบริการอินเทอร์เน็ตแบบ 1 วันบนแพลตฟอร์มของ TripAlly
สำหรับผู้ที่ไม่มี Ally token อัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตบนมือถือจะอยู่ที่ 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน
ในช่วง pre-ICO ทางเราจะให้ส่วนลดสูงในการจำหน่าย Ally token ส่งผลให้ราคาจะอยู่ที่ $0.5-$0.6 เซ็นต์ ต่อ 1 token โครงสร้างดังกล่าวสามารถการันตีผลตอบแทนการลงทุนที่ยอดเยี่ยมให้กับผู้ซื้อ Ally token ได้ โดย ROI (return on investment) อาจสูงถึง 400%
และเมื่อพูดถึงความสามารถในการโอน และสภาพคล่องของ token สิ่งสำคัญลำดับที่สองคือ ผู้ซื้อ Ally token ทุกคนจะกลายเป็นโปรโมเตอร์ของเรา (ในด้านการตลาด) และผู้จัดจำหน่าย เราไม่มีข้อห้ามในการโอน ขายต่อ Ally token ภายในแพลทฟอร์ม TripAlly และการแลกเปลี่ยน cryptocurrency นักลงทุนที่ต้องการซื้อ Ally token สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ purchase procedure. ขั้นตอนการซื้อ
ถาม : TripAlly มีความจำเป็นอย่างไร
Sergey: TripAlly ไม่ได้เป็นแค่การให้บริการอินเทอร์เน็ตราคาถูกสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ แต่มันคือแพลตฟอร์มที่ครอบคลุมที่เชื่อมต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว TripAlly จะให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านทางแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ที่ใช้ซิมการ์ดเดิมของเครือข่ายที่คุณใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โดยใช้บริการโครงข่ายของพันธมิตรผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในประเทศปลายทาง เราจะช่วยคุณคำนวณค่าเงิน เนื่องจากเรามีบริการแลกเปลี่ยนเงินตรา ในด้านคมนาคมจะมีให้บริการผ่านพันธมิตร เช่น Uber Grab โดยนักท่องเที่ยวสามารถเลือกผู้ให้บริการที่ต้องการได้ นอกจากนี้ยังมีบริการจำหน่ายตั๋วสำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจต่างๆอีกด้วย โดยการชำระเงิน และโบนัสต่างๆจะถูกจัดการโดย TripAlly
TripAlly จะเป็นเพียงแอพพลิเคชั่นเดียวที่ผู้ใช้งานต้องการ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกได้ว่าต้องการซื้อบริการอินเทอร์เน็ต หรือบริการอื่นๆก่อนที่จะออกเดินทางหรือสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เมื่อเดินทางถึงจุดหมายปลายทางในสนามบินใหญ่ๆ และข้ามพรมแดนที่มีให้บริการ
ถาม : จะเริ่มการให้บริการอย่างไร
Sergey: บริการนี้จะมีให้บริการในสนามบินหลัก ในบริเวณขาออก และในขาเข้าของทุกๆสนามบินที่มีบริการ TripAlly และจะขยายการให้บริการไปยังสนามบินหลักทุกแห่งในท้ายที่สุด ผู้ใช้สามารถใช้บริการจาก TripAlly ได้ทุกที่ทุกเวลา นักท่องเที่ยวสามารถชำระค่าบริการ TripAlly ก่อนวันเดินทาง หรือในขณะที่ถึงจุดหมายปลายทาง หรือในระหว่างที่อยู่ในต่างประเทศ หลังจากการชำระเงินเสร็จสมบูรณ์ ผู้ใช้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทันที สามารถดูไฟล์นำเสนอเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการได้ที่นี่ presentation
ถาม : การเดินทางแง่มุมใดที่เป็นเป้าหมายลำดับแรกของคุณ
Sergey: ถ้าในเรื่องของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือจะมีแง่มุมหนึ่งที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันที่จะไม่ถูกใจ ซึ่งก็คงจะเป็นเรื่องการใช้งานบริการโทรศัพท์มือถือระหว่างประเทศ หรือ international roaming เพราะนอกจากจะทั้งราคาสูง ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ทำให้นักท่องเที่ยวต้องลำบาก การใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้อย่างต่อเนื่องผ่านแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือนั้น คงเป็นอะไรที่เปรียบเสมือนฟ้าประทานให้
บริการโรมมิ่งนั้นมีแต่เรื่องเล่าในด้านลบจนพวกเราไม่อยากที่จะใช้มัน วิธีแก้ไขปัญหาสำหรับนักท่องเที่ยวในการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือสามารถแบ่งเป็น 4 วิธีหลัก คือ
[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]
- บริการโรมมิ่ง ที่ทุกคนไม่ชอบนัก
- ซิมการ์ดท้องถิ่น หรือ ซิมการ์ดระหว่างประเทศ ซึ่งผู้ใช้จะไม่สะดวกที่จะต้องเปลี่ยนซิมการ์ดเดิมของตนเป็นซิมการ์ดที่จะใช้งาน เนื่องจากมีหลายบริการที่ผูกติดกับซิมการ์ดเดิม (การทำธุรกรรมทางการเงิน ข้อมูลบัตรเครดิต การส่งข้อความ การรับ-ส่งอีเมล์)
- Wi-Fi สาธารณะ ผู้ใช้ต้องตามล่าหาไวไฟสาธารณะเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แต่การใช้ไวไฟสาธารณะนั้นมีทั้งเรื่องความปลอดภัย และสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานไวไฟริมทะเล หรืออุทยานแห่งชาติได้ และในทุกครั้งที่ผู้ใช้ต้องเชื่อมต่อไวไฟตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่ง จะต้องมีการล็อกอินผ่านเน็ตเวิร์กที่เราไม่รู้จักซึ่งอาจเป็นการเชื่อมต่อที่ไม่ปลอดภัย เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูลได้
- pocket Wi-Fi หรือ Hotspot ซึ่งต้องจ่ายค่าบริการแพ็คเกจอินเทอร์เน็ตราคาแพง และยังต้องพกอุปกรณ์เพิ่มเติม รวมถึงต้องชาร์จแบตเตอรี่อุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา ข้อเสียอีกอย่างของพ็อกเก็ตไวไฟคือการกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากผู้ใช้คนอื่นในกลุ่มต้องอยู่ใกล้กับตัวอุปกรณ์ตลอดเวลา เช่น ถ้าใครคนหนึ่งเดินทางพร้อมเพื่อนที่มีพ็อกเก็ตไวไฟ เขาทั้งสองต้องอยู่ด้วยกันตลอดเวลาเพื่อที่จะสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากพ็อกเก็ตไวไฟได้
ในปี 2016 มีนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งพันสองร้อยล้านคนทั่วโลก และตัวเลขดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ที่ TripAlly เราเชื่อว่านักท่องเที่ยวทุกๆคนควรจะมีโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือแบบไม่จำกัดที่มีราคาถูก นักท่องเที่ยวไม่ควรต้องเป็นกังวลกับการขาดการติดต่อกับบุคคลอันเป็นที่รักในขณะเดินทาง และควรที่จะสามารถแบ่งปันประสบการณ์การเดินทางของพวกเขาได้ในทันที บริการนี้จะช่วยให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวดีขึ้น และยังส่งผลต่ออิสระในการเดินทางอีกด้วย
หาก TripAlly สามารถแก้ไขปัญหาของการเดินทางได้ นักลงทุนจะได้รับผลประโยชน์ที่ดีอย่างแน่นอน และมันดูน่าสนใจว่าพวกเขาจะเป็นอย่างไรในการทำสิ่งเหล่านั้น
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น