<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

บิดาแห่ง Ethereum เผยวิสัยทัศน์ในอนาคตสำหรับ Ethereum ‘ข้อเสนอที่ถ่อมตัวมากที่สุด’

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

คุณจะทำอะไรต่อหลังจากที่สร้างสกุลเงินคริปโตมูลค่าตลาดรวมหลายพันล้านดอลลาร์?

ชายชาวรัสเซียอายุ 23 ปีนามว่า Vitalik Buterin หรือผู้ก่อตั้งเหรียญ Ethereum ได้ออกมาตอบคำถามนั้นแล้วในวันนี้ ในงานประชุมใหญ่สุดของ Ethereum นามว่า Devcon โดยเขาได้เผยให้เห็นว่าเขานั้นกำลังวางแผนพัฒนาระบบ blockchain ของเหรียญดังกล่าวในระยะยาวแล้ว เขาเรียกข้อเสนอดังกล่าวว่า ‘เป็นอะไรที่ถ่อมตัวมากที่สุด’ ที่จะมีการอธิบายถึงโรดแม็พแผนการพัฒนา Ethereum อีกภายในระยะเวลา 3-4 ปีที่จะถึงนี้

ซึ่งโรดแมพของพวกเขาเผยให้เห็นถึงปัญหาที่กำลังรอการแก้ไขอยู่ในปัจจุบัน หลักๆแล้วก็คือในเรื่องของการ scaling ของเครือข่าย ด้วยการที่โนดของ Ethereum ต้องเก็บข้อมูลธุรกรรมของทุกอย่างลงบนเครือข่าย นาย Vitalik กล่าวว่ามันจำเป็นต้องมีโซลูชันเพื่อแก้ไขปัญหาด้านต้นทุนของตัวเก็บข้อมูลที่กำลังเพิ่มขึ้น

มันเป็นหัวข้อที่กำลังเป็นที่ถกเถียงอยู่ในกลุ่มนักพัฒนา Ethereum ในขณะที่นาย Vitalik ก็เคยเขียนวิจัยเกี่ยวกับการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้มาแล้ว

กระนั้น การพูดคุยในงาน Devcon ก็ถือเป็นหลักฐานที่สามารถบ่งบอกได้ว่าทางทีมนักพัฒนากำลังเร่งแก้ไขปัญหาด้าน scaling แล้ว

“จำนวนการทำธุรกรรมบน blockchain นั้นมีมากขึ้นกว่าที่เคยมีมาเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว” เขากล่าวในขณะที่ชี้ให้เห็นถึงอัตราการทำธุรกรรมต่อวัน และการมี node มากกว่า 20,000 ตัวในเครือข่าย

นาย Vitalik กล่าวว่า

“ปัญหาด้านการ scaling นั้นน่าจะเป็นปัญหาอันดับแรก มันมีระบบที่เคยเคลมว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาการ scaling ไว้ แต่ตอนหลังก็ทำไม่ได้ มันเป็นอะไรที่สำคัญมาก และยากที่จะแก้ไข สิ่งเหล่านี้คือข้อเท็จจริงที่ทุกๆคนทราบกัน”

รายละเอียดปลีกย่อย

นาย Vitalik เชื่อว่าการทำ sharding น่าจะเป็นโซลูชันที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้

วิธีดังกล่าวคือการแบ่งแยกข้อมูลออกมาย่อยๆ โดยได้แรงบันดาลใจมาจากฐานข้อมูลแบบทั่วไป ซึ่งนั่นหมายความว่า node แต่ละ node ของ Ethereum นั้นสามารถที่จะแยกเก็บข้อมูลธุรกรรม “บางส่วน” ของเครือข่ายทั้งหมดได้ และเมื่อ node ไหนต้องการที่จะดึงข้อมูลส่วนอื่นๆมา ก็สามารถไปดึงเอามาจาก node ที่มีข้อมูลนั้นๆอยู่

ทว่าคำถามที่ตามมาก็คือพวกเขาจะจัดการระบบนี้ให้มีความปลอดภัยได้อย่างไร ในกรณีที่ node บางตัวจงใจส่งข้อมูลผิดๆให้ node อีกตัวหนึ่ง ซึ่งพวกเขาก็ยังไม่ได้ออกมาตอบแต่อย่างใด

กระนั้น นาย Vitalik ก็เสนอวิธีการแก้ไขดังกล่าวที่เขาเชื่อว่าจะสามารถแก้ไขได้ทั้งปัญหาการ scaling และ governance ที่จะเขามีความเชื่อว่าจะทำมห้ระบบยังคงสามารถทำงานได้อย่างมีความเสถียรตลอดเวลา

ที่น่าสนใจคือการทำ sharding ดังกล่าวจะแยก Ethereum ออกไปเป็นหลายๆ shard ซึ่ง shard ตัวหลักนั้นจะถูกใช้เก็บข้อมูลธุรกรรมของ Ethereum ในปัจจุบัน ในขณะที่ shard ตัวอื่นๆก็ขะมีขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลอื่นๆด้วยเช่นกัน นาย Viltalik เรียก shard เหล่านี้ว่า ‘จักรวาล’

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

เขาเชื่อว่าข้อดีหลักๆของการออกแบบระบบให้เป็น shard เล็กๆแบบนี้คือการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงในอนาคตบน shard เล็กๆจะสามารถทำได้ง่ายกว่า และมีความปลอดภัยกว่าทำทั้ง Blockchain ซึ่งนั่นหมายความว่าทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น แพลทฟอร์มของ Ethereum ก็จะยังคงมีความเสถียรอยู่ ในขณะที่นักพัฒนาก็สามารถที่จะทำการทดสอบและสร้างอะไรใหม่ๆบน shard อื่นๆได้

นาย Vitalik กล่าวว่า

“สำหรับจักรวาลอื่นๆที่เรากำลังทำการพัฒนามันขึ้นมาในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมากำลังจะถูกเปิดตัวออกมาเร็วๆนี้แล้ว”

อนาคต

โรดแมพของนาย Vitalik ยังได้มีการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวอื่นๆอีก แม้ว่าเขาจะไม่ได้เอ่ยถึงมันมากนัก

ซึ่งนั่นประกอบไปด้วยแผนการอัพเกรด ethereum virtual machine (EVM) ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการ compile โค้ดของ Smart contract ในทุกวันนี้ และทำการติดต่อสื่อสารกับระบบเครือข่าย เขายังได้กล่าวถึงเทคโนโลยีอีกตัวนึ่งที่กำลังใช้เวลาพัฒนาที่นานมากอย่าง eWASM ที่สามารถใช้รัน Ethereum บนเว็บบราวเซอร์ได้ อีกด้วย

อีกหนึ่งแนวคิดที่ถูกเสนอคือ “stateless client” หรือการที่ตัวโปรแกรม client ของ Ethereum สามารถ sync กับเครือข่ายได้เร็วขึ้นอีก

“คุณจะได้ยินแนวคิดนี้มากขึ้นอีกในอนาคต” เขากล่าว และยังได้เชิญกลุ่มนักพัฒนามาเพื่อช่วยเหลือในด้านการวิจัยบนเว็บ Github ของพวกเขาอีกด้วย

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

โดยสรุป การทำ sharding ดูเหมือนจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 3-4 ปี และนาย Vitalik กล่าวในตอนจบว่าทางนักพัฒนาอิสระกำลังเริ่มร่างโครงสร้างของแนวคิดที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว

เขากล่าวปิดท้ายว่า

“อันที่จริงแล้ว เรากำลังใกล้จะทำถึงตัว proof of concept บน Python แล้ว”

ภาพจาก Rachel Rose O’Leary

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น