<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

“โครงการเหรียญคริปโต ‘อินทนนท์’ จะมีความเป็น Decentralized” โดยผู้บริหารระดับสูงแบงก์ชาติ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

วันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมาได้มีการจัดงาน Digital Thailand Big Bang 2018 ที่ IMPACT ARENA MUNG THONG THANI ภายในงานนั้นได้มีการพูดถึงเรื่องโปรเจกต์ “อินทนนท์ Cryptocurrency ไทย” โดยวิทยากรก็คือ ดร.อัมพร แสงมณี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารเงินสำรองสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่น่าสนใจคือทางแบงก์ชาตินั้นได้มีการเปิดเผยว่าโปรเจ็คเหรียญคริปโตของพวกเขาที่ในขณะนี้ยังอยู่ในช่วง “prototype” นั้นจะมีความเป็น decentralized ในระดับหนึ่งอีกด้วย

โปรเจกต์อินทนนท์

ก่อนหน้านี้ทาง Siam Blockchain ได้รายงานเกี่ยวกับเหรียญคริปโตของไทยที่มีนามว่า “อินทนนท์” ซึ่งได้ถูกเปิดตัวครั้งแรกในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยเหรียญคริปโตบาทนี้ได้รับความร่วมมือของแบงก์ชาติ และ ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยดยระบุว่าโปรเจกต์นี้อยู่ภายใต้ความร่วมมือของธนาคารอีก 5 ธนาคาร (รายงานไม่ได้เผยว่ามีธนาคารอะไรบ้าง)

ซึ่งจุดประสงค์หลัก ๆ ที่สร้างขึ้นนั้นก็เพื่อศึกษาเทคโนโลยี Blockchain ในแง่ของการสร้างเหรียญ Cryptocurrency ขึ้นมาใช้และเพื่อช่วยลดต้นทุนในด้านการเงิน แต่สุดท้ายแล้วโปรเจกต์อินทนนท์จะถูกเอามาใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ ในประเทศเท่านั่นเอง

วันที่ 21 สิงหาคม 2018 แบงก์ชาติได้ประกาศว่าพวเขาจับมือกับแบงก์พาณิชย์ 8 แห่ง ในการผลักดัน”โปรเจ็กต์อินทนนท์” ทดสอบเงินดิจิทัล โดยผู้ที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบต้นแบบของการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน โดยใช้สกุลเงินดิจิทัลจำลองที่ออกโดยธนาคารกลาง บนแพลตฟอร์ม Corda ซึ่งเป็นระบบ DLT ที่พัฒนาโดยบริษัท R3 โดยโครงการดังกล่าวคาดว่าจะเสร็จสิ้นการทดสอบภายในในไตรมาส 1 ปี 2019

คริปโตบาท

อ้างอิงจาก Live ของ Facebook ของเพจ Digital Thailand Big Bang ใน Session เรื่อง “อินทนนท์ Cryptocurrency ไทย” โดยมี ดร.อัมพร แสงมณี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารเงินสำรองสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพูดบรรยายนั้น ได้กล่าวถึงเทคโนโลยี Distributed Ledger ในนาทีที่ 3:10 ว่า

“เทคโนโลยี Distributed Ledger นั้นจะสามารถทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมและยังเสริมสร้างความน่าเชื่อถือสูงเพราะทุก ๆ คนจะเห็นข้อมูลที่เหมือนกันนั่นเอง และก็ยังมีตัว Encryption ซึ่งตัว Encryption นี้จะทำให้ทุกคนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็สามารถทำงานได้ โดยไม่มีต้องมีตัวกลาง”

ความเป็นส่วนตัว

โดยดร. อัมพร ยังกล่าวถึงความเป็น Privacy ของการใช้เงิน โดยเขากล่าวว่า:

“ระดับความ Privacy ของการใช้เงินนั้นจะสูง เราจ่ายเงินที่ไหนไม่มีใครรู้ มันมีความเป็นส่วนตัวสูง แต่สูงอย่างเดียวนั้นไม่พอ มันมีขีดความสามารถในการ Transfer เงินได้เป็นจำนวนสูง ๆ อีกด้วย โดยทาง Central Bank ก็กำลังพิจารณาว่าระดับของ anonymity (ไม่เปิดเผยตัวตน) ควรอยู่ตรงไหน จึงจำเป็นต้องสร้าง Central Bank Digital Currencies (CBDCs) ออกมานั่นเอง”

ใช้กับธนาคารเท่านั้น

เมื่อกล่าวถึงการใช้งานของคริปโตอินทนนท์นั้น ดร. อัมพรยังกล่าวว่า:

“เหรียญคริปโตไทยเหรียญนี้นั้นได้ทดลองใช้ระหว่างธนาคารเท่านั้นหรือที่เรียกว่า Prototype โดยแยกการใช้งานสองระเภทได้แก่ระดับ Wholesales และ Retail โดย Wholesales นั้นจะใช้กับธนาคารกลางกับธนาคารเท่านั้นและระดับแบบ Retail นั้นก็ยังไม่มีใครใช้เพราะว่ามี Issue เรื่องของ anonymity อยู่ค่อนข้างเยอะ จึงทำให้ Central Bank Digital Currencies ถูกทดสอบใช้กับธนาคารกลางเสียส่วนใหญ่”

Bitcoin ไม่สามารถเป็นเงินได้

เมื่อพูดถึงเรื่องการนำเหรียญ cryptocurrency ที่มีความเป็น decentralized สูงมาก ๆ และไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่าง Bitcoin มาใช้งานทาง ดร.อัมพร กล่าวว่า:

“มันสามารถที่จะนำมาชำระเงินได้ แค่นั้นเอง แต่ถ้าพูดถึงเรื่องความแพร่หลาย หรือการที่มันจะสามารถ Store Value ได้นั้นเนี่ยจะจำกัดเพราะว่าตัวมันเองเนี่ย มูลค่าของมันมีความไม่แน่นอนสูงและก็ไม่ได้มีแบคอัพโดย Institutional”

Decentralized

เมื่อถึงประเด็นเรื่องของเหรียญอินทนนท์แล้วนั้น ดร. อัมพร ได้อธิบายว่า:

“อินทนนน์จะมีความเป็น Decentralized ตรงที่ธนาคารกลาง (Central Bank) จะเป็นคนออกเหรียญ (Issue) แต่คนที่จะมาออกแบบนั้นคือธนาคารมาร่วมกันออกแบบ หรือที่เรียกว่า collaborative design จริง ๆ เราเพิ่งทำใน Week ที่ 2 หรือ 3 เอง”

และเมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี Blockchain นั้นทางดร. อัมพร ก็กล่าวว่า:

“แทนที่จะต้องมา Verify กับทุกคนใน Nodes นั้น ก็เปลี่ยนเป็นไป Verify กันเฉพาะผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น และข้อดีของ Blockchain นั้นก็คือสามารถทำ Atomic Transaction หรือก็คือการส่งของไปและส่งเงินกลับมาได้เลยในเวลาเดียวกันใน Transaction เดียวกัน จึงทำให้ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยน Currency นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

Prototype

ทางดร. อัมพรได้กล่าวว่าโปรเจกต์อินทนนท์ไม่ได้เป็นเพียงแค่ Proof-of-Concept เพียงเท่านั้นโดยเขากล่าวว่า:

“โปรเจกต์อินทนนท์ไม่ได้เป็นเพียงแค่ Proof-of-Concept เพียงเท่านั้นแต่กำลังเป็น Prototype เพราะ Proof-of-Concept มันเป็นแค่แนวคิดเฉย ๆ เรากำลังเทสมันจริง ๆ แต่ยังไม่ถึงขั้น Pilot (ทดลองใช้งาน) และหลังจากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนในการที่จะเชื่อมกับ Central Bank อื่น ซึ่งเราจะได้เห็นอีกปีหรือสองปีข้างหน้า”

โดยสุดท้ายดร. อัมพรได้กล่าวกฏหมายที่เรามีอาจเป็นข้อจำกัดและอาจทำให้เราต้องใช้เวลาเปลี่ยนแปลงระบบ Regulator ในการที่จะนำมาใช้ได้ในระยะยาว นี่ยังเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง Environment ใหญ่นั้นอาจยังไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้จริง

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น