<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ผู้คนกำลังแห่บริจาค Bitcoin เพื่อช่วยเหลือผู้ก่อตั้ง WikiLeaks ที่ถูกจับในกรุงลอนดอน

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2019 ที่ผ่านมานาย Julian Assange ผู้ก่อตั้งเว็บไซค์ชื่อดัง Wikileaks ได้ถูกจับในลอนดอน ตามข้อตกลงส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างอังกฤษกับสหรัฐอเมริกา

ภายหลังจากนั้นได้มีการเริ่มต้นบริจาคคริปโตอย่าง Bitcoin ให้นาย Julan เมื่อทางเว็บไซค์  Wikileaks ได้มีการโพสต์ลงบนทวิตเตอร์เพื่อระดมทุนบริจาคเข้ากองทุนปกป้อง นาย Julian Assange แต่ในเวลาต่อมาทวีตดังกล่าวได้ถูกลบออกไปในที่สุด

แต่ทว่าหลังจากผ่านไปได้ 24 ชั่วโมง Bitcoin Wallet ของ Wikileaks ได้มีบันทึกจำนวนธุรกรรมไปมากกว่า 314 รายการซึ่งมีผู้คนบริจาคเงินเพื่อเข้ากองทุนนี้สูงถึง 6.7 BTC หรือประมาณ 34,000 ดอลลาร์

มีคนบอกว่า นาย Julian Assange เป็นแฟนตัวยงของ Bitcoin มาอย่างยาวนาน จึงไม่แปลกใจเลยที่ว่าทำไมเขาถึงเป็นพวกต่อต้านรัฐบาลนั้นก็เพราะว่าเขาชื่นชอบ Bitcoin มานานแล้วนั้นเอง

ในปี 2017 ที่ผ่านมานาย Julian Assange ยังเคยทวีตข้อความด้วยว่า “Bitcoin เป็น Wall Street ที่แท้จริง” ซึ่งมีการอ้างอิงถึงขบวนการต่อต้านผู้บริโภคแบบก้าวหน้า (progressive anti-consumerist movement) ที่เริ่มขึ้นในปี 2011

ชุมชน WikiLeaks ไม่ชอบใจเป็นอย่างมากที่นาย Julian Assange ถูกจับ โดยแฟน ๆ ของ WikiLeaks ทั่วโลกได้ชุมนุมกันเพื่อรับ Assange ออกจากคุกหลังจากถูกจับกุมที่สถานเอกอัครราชทูตเอกวาดอร์ในกรุงลอนดอน

ก่อนหน้านี้นาย Julian Assange ได้ขอลี้ภัยและอาศัยอยู่ในสถาทูตเอกวาดอร์ ประเทศอังกฤษมาตั้งแต่ปี 2012 แล้ว

ภายหลังตำรวจสามารถเข้าจับกุม Assange ได้หลังจากที่ทางเอกวาดอร์ถอนตัวออกจากการปกป้อง ซึ่งทำให้ตำรวจสามารถเข้าจับกุมได้ในทันที ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเขาจะถูกส่งตัวข้ามแดนไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อทำการพิจารณาคดีหรือไม่

ที่น่าสนใจคือ หลังจากที่เขาถูกจับกุมนั้น หน่วยงาน IMF ก็ได้มีการอนุมัติเงินกู้ให้กับรัฐบาลเอกวาดอร์ในทันที ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะเจาะอย่างยิ่ง

โดยในภาพข่าวนั้นนาย Julian Assange อยู่ในสภาพที่หนวดเครายาวเฟิ้มกำลังถูกจับกุมและกดหัวขึ้นรถตู้ตำรวจไปในที่สุด

โดยเหตุผลที่เขาต้องขอลี้ภัยนั้นเป็นเพราะว่าเขาได้ทำการแฮกข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของกระทรวงกลาโหม ซึ่งเขาได้สมรู้ร่วมคิดกับผู้ต้องหาอีกหนึ่งรายนาม Chelsea Manning ที่เคยเป็นอดีตนักวิเคราะห์ข่าวกรองกองทัพบกมาก่อน

คำฟ้องของ DOJ อ้างว่าในปี 2010 นาย Assange สมคบกับนาง Manning ในการถอดรหัสรหัสผ่านที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของกระทรวงกลาโหมที่เชื่อมต่อกับ Secret Internet Protocol Network (SIPRNet) ซึ่งเป็นเครือข่ายรัฐบาลสหรัฐฯที่ใช้สำหรับเอกสารลับ

“Chelsea Manning สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของเธอในฐานะนักวิเคราะห์ข่าวกรองได้โดยใช้คอมพิวเตอร์ดังกล่าวเพื่อดาวน์โหลดบันทึกต่าง ๆ ที่จัดไว้และทำการส่งไปยัง WikiLeaks ของ Julian Assange ต่อไป

การแคร็กรหัสผ่านจะอนุญาตให้ Chelsea Manning เข้าถึงคอมพิวเตอร์ภายใต้ชื่อผู้ใช้ที่ไม่ได้เป็นของเธอ ขั้นตอนการหลอกลวงดังกล่าวจะทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสอบหาแหล่งที่มาของการกระทำที่ผิดกฎหมายได้ยากขึ้นไปอีก”

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น