<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

สถิติเผยมีการนำ Bitcoin ไปใช้จ่ายจริง ๆ เพียง 1.3% ของธุรกรรมทั้งหมดไตรมาสแรกปี 2019 เท่านั้น

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

อ้างอิงจาก Chainalysis ได้ทำการเปิดเผยข้อมูลว่า ธุรกรรมเพียง 1.3 เปอร์เซ็นต์ของ Bitcoin ในปี 2019 (4 เดือนแรก) นั้นมาจากพ่อค้าแม่ค้า และการทำธุรกรรมกว่า 98.7 เปอร์เซ็นต์นั้นเกิดขึ้นบนเว็บเทรดคริปโต

จากข้อมูลนี้ ก็สามารถตีความออกมาได้ในระดับหนึ่งว่า มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ใช้ Bitcoin ในการซื้อของต่าง ๆ และสภาพโดยรวมของ Bitcoin นั้นก็ยังคงถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรเท่านั้น ไม่ใช่เป็นระบบการชำระเงินระดับโลก

ในอีเมลที่ส่งไปหา Bloomberg นาย Kim Grauer นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก Chainalysis ได้กล่าวเกี่ยวกับระบบของ Bitcoin ว่า:

“กิจกรรมด้านเศรษฐกิจของ Bitcoin นั้นยังคงเกิดขึ้นโดยเว็บเทรดเป็นหลัก มันชี้ให้เห็นว่า การใช้งาน Bitcoin หลัก ๆ นั้นยังคงเป็นการเก็งกำไรอยู่ และการที่ผู้คนส่วนมากจะใช้งาน BItcoin ในการซื้อขายปกตินั้นยังคงไม่เกิดขึ้นจริง”

ความเป็นจริงของ Bitcoin

นางสาว Olga Kharif นักเขียนคอลัมน์ด้านเทคโนโลยีบน Bloomberg ได้กล่าวในรายงานของเธอว่า ราคาของ Bitcoin นั้นกำลังปิดปัง ‘ความเป็นจริงที่น่าอึดอัด’ นี้อยู่:

“มันได้กลายเป็น Dilemma (สภาวะที่ลำบาก) สำหรับ Cryptocurrency ไปแล้ว Bitcoin จำเป็นต้องพึ่งกระแส (Hype) ในการที่จะดึงดูดผู้ใช้งานใหม่ ๆ เข้ามา โดยที่มันนำเสนอตัวเองเป็นเงินทางเลือกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่ในขณะเดียวกันมันก็มีวัฒนธรรมเกี่ยวกับการ ‘Hodl’ ซึ่งชุมชนคริปโตส่วนใหญ่ชอบสนับสนุนให้ถือหรือเก็บมันไว้แทนที่จะนำมันไปใช้จ่าย”

อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ใช้งาน Bitcoin ส่วนใหญ่นั้นเลือกที่จะ Hodl อาจเป็นพฤติกรรมทางเศรษฐศาสตร์อย่างหนึ่งก็เป็นได้ ด้วยวัฒนธรรมของการ Hodl หรือการเก็บสะสมคริปโตไว้เรื่อย ๆ ไม่ยอมใช้งานมัน มันอาจจะเกิดขึ้นจาก ‘มือที่มองไม่เห็น (Invisible Hand)’ ของนาย Adam Smith บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ที่ชี้ว่า พฤติกรรมทางเศรษฐกิจนั้นเกิดขึ้นมาจากความรู้ที่เฉพาะทางและประโยชน์ส่วนตน และหลักการนี้เองก็มีการอธิบายกันในกฎนาม “Gresham’s Law”

Bitcoin และ Gresham’s Law

ตามคำอธิบายของ Sir Thomas Gresham นักการเงินชาวอังกฤษ เมื่อปี 1519-1579 ได้อธิบายไว้ว่า:

“เงินเลวจะขับเงินดีออก”

คำอธิบายดังกล่าวเป็นการอธิบายว่า ถ้าเกิดมีเงิน 2 ชนิดในระบบ เงินที่ถูกมองว่าเป็น ‘เงินเลว’ จะคงอยู่ในระบบต่อไป แต่ ‘เงินดี’ จะค่อย ๆ หายไปจากระบบ เช่นเดียวกับกรณีนี้ ที่นัก Hodl Bitcoin อาจจะมองว่า Bitcoin นั้นคือเงินดี และมองว่าเงินดอลลาร์นั้นเป็นเงินเลว

สาเหตุที่พวกเขาไม่ชอบเงินดอลลาร์นั้น ก็อาจจะมาจากการที่ระบบการเงินของสหรัฐฯ นั้นถูกออกแบบมาให้เงินดอลลาร์สูญเสียมูลค่าเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ปี (ประมาณปีละ 3 เปอร์เซ็นต์) เนื่องจากการที่ธนาคารกลาง สร้างเงินขึ้นมาใหม่เรื่อย ๆ เท่ากับการที่มี Supply เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มูลค่าเงินที่มีอยู่มีน้อยลง ธนาคารกลางยังนำเงินที่สร้างใหม่นี้ไปให้ธนาคารอื่น ๆ อย่าง Bank of America หรือ JP Morgan Chase ในการนำไปปล่อยกู้เพื่อทำกำไรอีกด้วย และเมื่อเงินเหล่านั้นเริ่มถูกเพิ่มเข้าสู่ระบบและหมุนเวียนไปเรื่อย ๆ มันก็ยิ่งลดมูลค่าเงินดอลลาร์ในระบบนั่นเอง

ตั้งแต่ที่กำแพง Berlin ถูกทำลายในปี 1989 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก็มีการอัตราการเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 3.22 เปอร์เซ็นต์ มันอาจจะดูไม่เยอะมากในระยะสั้น แต่ในภาพที่กว้างกว่าคือ มูลค่าของสิ่งต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าในทุก ๆ 20 ปี กล่าวคือในทุก ๆ 20 ปี เงินเฟ้อนั้นจะทำให้เงินของเรามีมูลค่าน้อยลงเท่าตัว

ในทางตรงกันข้าม ไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดสามารถสร้าง Bitcoin ได้ เนื่องจากมันมี Supply หรือจำนวนทั้งหมดที่ถูกกำหนดมาให้ตายตัวอยู่แล้วว่ามีได้เพียงทั้งหมด 21 ล้านเหรียญเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง ผู้คนจะมองว่ามันต่างจากเงินทั่วไป และจะมีพฤติกรรมการใช้จ่ายมันในศตวรรษที่ 20 และ 21 แตกต่างจากเงินดอลลาร์ และจะยังคงเป็นแบบนี้ต่อไปถึงแม้ว่า Bitcoin จะได้รับการยอมรับโดยพ่อค้าแม่ค้าทั่วโลกก็ตาม

มันอาจไม่ใช่เรื่องที่น่าห่วงเท่าไรนักที่ ผู้คนไม่ค่อยชอบที่จะใช้ Bitcoin กัน เพราะพวกเขารู้ดีว่าเงิน 7 ดอลลาร์นั้นก็อาจจะมีค่าเท่ากับ Starbucks 1 แก้ว แต่ 0.00083 BTC นั้นเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีค่าและหาได้ยากกว่ามาก

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น