<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

เหรียญ Ethereum ถูกตีตราว่าเป็นฮาลาลโดยนักปราชญ์ชาวมุสลิม โวลลุ่มการซื้ออาจสูงขึ้น

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

นักปราชญ์ชาวมุสลิมที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินได้เผย whitepaper ที่ตีตราเหรียญ Ethereum ว่าเป็น ‘ฮาลาล’ หรือสามารถใช้งานได้โดยไม่บาป อ้างอิงจากกฎชะรีอะฮ์ของศาสนาอิสลาม ซึ่งความชัดเจนตรงส่วนนี้อาจส่งผลทำให้ชาวมุสลิมที่เคยคิดอยากจะลงทุนในคริปโตแต่กลัวผิดคำสอนศาสนา กลับมาลงทุนกันอย่างล้นหลาม

ผู้คนได้ครุ่นคิดและพิจารณาเรื่องเหรียญ Ethereum กับกฎชะรีอะฮ์มานานแล้ว โดยนาย Virgil Griffith นักโปรแกรมเมอร์ชาวอเมริกันและหัวหน้าฝ่ายด้านผลิตภัณฑ์ของ Ethereum Foundation เคยได้ออกมาอธิบายถึงเรื่องดังกล่าวเมื่อตอนปลายปี 2017 แล้ว และในขณะนี้ whitepaper จาก Amanie Islamic Finance & Shariah Advisor ได้ออกมาชี้ว่าเหรียญ Ether นั้นไม่ขัดต่อหลักชะรีอะฮ์

ในศาสนาอิสลามนั้น การให้ยืมเงินกันเพื่อหวังผลประโยชน์จากดอกเบี้ยจะถือเป็นสิ่งที่บาป หรือ “ฮาราม” ทว่าการเก็งกำไรสินค้าที่มีสินทรัพย์อย่างเช่นอสังหาริมทรัพย์หรือทองคำมาหนุนหลังมันไว้นั้น จะไม่ขัดต่อกฎชะรีอะฮ์

เหรียญ cryptocurrency ส่วนใหญ่นั้นจะเป็นฮาราม เพราะไม่มีสินทรัพย์ที่จับต้องได้มาค้ำมันไว้อยู่ ดังนั้นเหรียญส่วนใหญ่จึงมักจะเป็นตัวแทนการลงทุนในบริษัท และเหรียญส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเป็นหลักทรัพย์ ตามที่ SEC เคยได้กล่าวไว้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลทำให้กลุ่มนักลงทุนที่เป็นมุสลิมจึงลังเล

ทว่าเหรียญ Ether นั้นเป็นตัวแทนของเหรียญโทเค็นใช้สอย หรือ utility token ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนแก๊สที่ทำให้ระบบ Ethereum ทำงานได้ ดังนั้น Amanie จึงเชื่อว่า ETH นั้นเป็นฮาลาล

ดังนั้นนักปราชญ์ชาวมุสลิมจึงเริ่มมีแนวคิดที่เป็นบวกต่อ ETH มากขึ้น เนื่องจากว่าเหรียญโทเค็นส่วนใหญ่นั้นรันบน protocol ดังกล่าว ทว่าหากเหรียญโทเค็นนั้นถูกใช้เพื่อระดมทุนสำหรับบริษัท ที่ดูคล้ายกับการเก็บดอกเบี้ย ดังนั้นมันจึงอาจถูกมองว่าเป็นฮาราม

ที่น่าสนใจคือ พวกเขายังกล่าวว่าระบบ proof-of-work และ proof-of-stake นั้นไม่ผิดกฏชะรีอะฮ์ แต่อย่างไรก็ตาม ในระบบ proof-of-stake ที่จะมีการล็อคเหรียญไว้ในระบบเพื่อให้ผู้ stake ได้รับรางวัลนั้นก็ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่ว่าบาปไหม ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไปหลังจาก ETH 2.0 เปิดใช้งานแล้ว

หน่วยงาน Amanie นั้นถือเป็นหน่วยงานที่ได้รับความไว้วางใจอย่างมากในชาวมุสลิม และแม้ว่าความเห็นดังกล่าวนั้นจะยังไม่ถูกไฟนอลโดยพวกเขา แต่มันก็ดูมีน้ำหนักต่อชาวมุสลิมพอสมควร

นาย Atif Yaqub ผู้เชี่ยวชาญด้าน Blockchain ชาวมุสลิมได้ออกมาช่วยอธิบายเชิงเทคนิคให้กับหน่วยงาย Amanie กล่าวว่า

“คนที่มีความเชื่อมากกว่าคนอื่น สามารถที่จะใช้งานมันได้โดยไม่ต้องมากังวลว่าเทคโนโลยีใหม่นั้นสามารถใช้ได้อย่างไม่ผิดหรือไม่”

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น