<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ก.ล.ต. ไทยประกาศเปลี่ยนกฎ ICO ใหม่ เน้นเพิ่มความคุ้มครองนักลงทุนมากขึ้นอีก

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในวันนี้ทางสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ ให้มีกลไกคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้ลงทุนที่มีความเหมาะสมมากขึ้นและเพิ่มความยืดหยุ่นในกรณีที่ smart contract ไม่ครอบคลุมการให้หรือบังคับใช้สิทธิของผู้ลงทุน โดยจะมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2563 นี้เป็นต้นไป

อ้างอิงจากประกาศสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ระบุว่า ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนหลายรายสนใจเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อนำเงินไปลงทุนในอาคารสำนักงานหรือคอนโดมิเนียม จากนั้นนำไปปล่อยเช่าเพื่อหารายได้มาแบ่งปันกันระหว่างผู้ถือโทเคนดิจิทัลหรือ real estate-backed ICO ในขณะที่หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลนั้นยังไม่รองรับการระดมทุนรูปแบบดังกล่าว ประกอบกับการใช้สัญญาอัจฉริยะ (smart contract) ที่ยังไม่ครอบคลุมการให้ผลบังคับใช้สำหรับสิทธิของผู้ลงทุนในบางเรื่อง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นนอกเครือข่าย blockchain และไม่อยู่ภายใต้ smart contract เช่น การเก็บค่าเช่าและการจ่ายส่วนแบ่งจากรายได้ที่เกิดจากค่าเช่า ที่ปัจจุบันยังคงจ่ายเป็นเงินสด

ด้วยเหตุนี้ทางสำนักงาน ก.ล.ต จึงได้ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การออก real estate-backed ICO ให้มีกลไกคุ้มครองสิทธิผู้ลงทุนที่มีความเหมาะสมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะประกอบไปด้วย

1. การแต่งตั้งทรัสตีเพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือโทเคนดิจิทัล โดยให้ทรัสตีถือครองอสังหาริมทรัพย์ หรือถือหุ้นของนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) ที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของ SPV

2. อสังหาริมทรัพย์อ้างอิงต้องเป็นโครงการที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมสร้างรายได้ โดยจะต้องลงทุนมากกว่าร้อยละ 80 ของทั้งโครงการนั้น

3. ต้องไม่ใช่การลงทุนเฉพาะหน่วยย่อย เช่น บ้านรายหลัง หรือคอนโดมิเนียมรายห้อง

4. มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินจากผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ ก.ล.ต. กำหนด

นอกจากนี้ ก.ล.ต. ได้เพิ่มความยืดหยุ่น กรณีที่ smart contract ไม่ครอบคลุมการบังคับใช้สิทธิของผู้ลงทุนตามที่กำหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัล (แบบ filing) และหนังสือชี้ชวน โดยกำหนดให้สามารถใช้กลไกอื่นที่เทียบเท่ามาทดแทนได้ เช่น การจัดทำข้อผูกพันหรือเอกสารที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย และต้องเปิดเผยกลไกทดแทนดังกล่าวในแบบ filing และร่างหนังสือชี้ชวนให้ชัดเจน ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น