เขียนบทความโดย มร.เคลวิน ลี ดำรงตำแหน่ง Head of Southeast Asia – Ripple และประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ มีหน้าที่รับผิดชอบโดยรวมต่อการขยายธุรกิจของริปเปิลทั่วทั้งภูมิภาคนี้ และเป็นผู้นำในการเพิ่มฐานลูกค้าให้กับริปเปิลโดยอาศัยประสบการณ์มากมายที่เขาสั่งสมจากการทำงานในแวดวงภาคการเงินและการธนาคาร
วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ที่ได้ผ่านไปแล้วเมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา เป็นปีสำคัญของการครบรอบ 50 ปีแห่งการจัดตั้งวันคุ้มครองโลก (Earth Day) อีกด้วย จึงเป็นโอกาสอันดีอย่างยิ่งที่จะหันมาสำรวจว่าการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเรานั้นช่วยอนุรักษ์โลกได้อย่างยั่งยืนแท้จริงหรือไม่? และถึงแม้ว่ามันจะฟังดูไม่น่ากลัวเท่ากับรอยร้าวหรือแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกละลาย แต่การผลิตธนบัตรและเหรียญในแต่ละสกุลเงินนั้นมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโลกเราอย่างน่าตกใจมาก
จากธนบัตรกระดาษ สู่บัตรเครดิตพลาสติก ไปจนถึงเงินคริปโต เรามาดูกันคร่าวๆ ว่าการได้มาซึ่งสกุลเงินต่างๆ นั้นส่งผลกระทบต่อโลกและความยั่งยืนของเรามากขนาดไหน?
เงินธนบัตรนั้นยั่งยืนแค่ไหน?
ตามที่สุภาษิตโบราณกล่าวไว้ “เงินไม่ได้งอกจากต้นไม้” นั้นก็จริงอยู่ แต่อย่างไรก็ตามธนบัตรกระดาษก็เป็นผลผลิตโดยตรงจากต้นไม้ จากข้อมูลกองทุนสัตว์ป่าโลก โรงงานทั่วโลกผลิตกระดาษ 400 ล้านตันในแต่ละปี และกระดาษบางส่วนนี้ถูกใช้ไปในการพิมพ์ธนบัตรซึ่งก่อให้เกิดการทำลายป่าทั่วโลก คาดกันว่าการตัดไม้ทำลายป่าเป็นสาเหตุในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 12% จากปริมาณทั้งหมด
ขั้นตอนในการพิมพ์ธนบัตรกระดาษนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมค่อนข้างใหญ่หลวงมาก และมันไม่ได้หยุดแค่ที่โรงพิมพ์ ธนบัตรนั้นไม่คงทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเจอสภาพอากาศมันจึงเสียหายได้ง่ายและต้องถูกนำออกจากระบบหมุนเวียน ที่จริงคาดกันว่าอายุการใช้งานเฉลี่ยของแบงก์ 5 ดอลล่าร์ นั้นอยู่ที่เพียง 16 เดือนเท่านั้น
หลายประเทศได้เปลี่ยนมาผลิตธนบัตรด้วยการผสมผสานเส้นใยจากเศษผ้าฝ้าย ผ้าลินิน และกระดาษที่ได้จากการรีไซเคิลและมีคุณภาพต่ำ ซึ่งช่วยลดวัสดุในกระบวนการผลิตธนบัตรลงและตัวกระดาษเองก็ถูกนำไปรีไซเคิลต่อได้ง่ายอีกด้วย
นอกจากนั้นคุณยังต้องคำนึงถึงปัจจัยในการใช้ธนบัตรกระดาษซึ่งก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ตามมาอีกประการหนึ่ง นั่นก็คือเหรียญเพราะคุณต้องทอนเงินนั่นเอง การสกัด การขุด การกัด และการถลุงโลหะเพื่อผลิตเหรียญเป็นเรื่องที่ต้องใช้พลังงานมหาศาลอย่างไม่น่าเชื่อ โรงกษาปณ์ของสหรัฐประเมินว่าแต่ละปีมีโลหะมากกว่า 40,000 ตันถูกนำไปใช้เพื่อผลิตเหรียญภายในประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นกระดาษหรือโลหะ มันชัดเจนว่าการใช้สกุลเงินทางกายภาพนั้นมีผลเสียมากมาย ทั้งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นวิถีปฏิบัติที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืน หรือคำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา
บัตรเดบิตและบัตรเครดิตมีผลต่อความยั่งยืนเพียงใด?
หากธนบัตรจากกระดาษนั้นทำลายสิ่งแวดล้อม คุณอาจคิดว่าบัตรเดบิตและบัตรเครดิตนั้นน่าจะยิ่งส่งผลที่เลวร้ายลงไปอีก เพราะอย่างไรมันก็ทำด้วยพลาสติก และช่วงนี้ก็มีกระแสของสังคมในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ผลักดันให้ผู้คนลดการใช้พลาสติกและหันมาใช้วัสดุกระดาษแทน (ดูอย่างหลอดสิ!)
แต่ในความเป็นจริงบัตรเดบิตและบัตรเครดิตมีทั้งข้อดีและข้อเสีย พวกมันเป็นทางเลือกของการชำระเงินที่ไม่ได้ดีหรือแย่กว่าธนบัตรกระดาษแต่อย่างใด หากพูดถึงในด้านความยั่งยืน
ส่วนใหญ่บัตรเครดิตและบัตรเดบิตจะทำด้วยโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) ซึ่งเช่นเดียวกับพลาสติกหลายชนิด มันถูกผลิตขึ้นโดยการใช้น้ำมันปริมาณมาก และไม่สามารถรีไซเคิลได้ เพื่อผลิตบัตรเครดิตหนึ่งใบต้องใช้ปิโตเลียมประมาณ 4.25 กรัม และคาดว่าปัจจุบันทั่วโลกมีบัตรเครดิตที่ถูกใช้งานอยู่ 2.8 พันล้านใบ ซึ่งเท่ากับว่าต้องใช้น้ำมันประมาณ 79,000 บาร์เรลในการผลิตบัตรเครดิตในแต่ละปี ตัวเลขนี้ยังไม่รวมถึงการผลิตบัตรพลาสติกที่มีมูลค่าเงินในรูปแบบของบัตรกำนัล บัตรของขวัญและบัตรส่วนลดต่างๆ
อย่างไรก็ตาม บัตรพลาสติกมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานกว่าธนบัตรกระดาษ โดยมีอายุการใช้งานได้นานถึงแปดปี ซึ่งช่วยยืดเวลาการหมดอายุออกไป และยิ่งไปกว่านั้นกระบวนการเก็บเกี่ยวและปลูกฝ้ายที่ใช้ในการผลิตธนบัตรนั้น จำเป็นต้องใช้พลังงานมากพอ ๆ กับที่ใช้ในการผลิตพีวีซีในปริมาณที่เท่ากันอีกด้วย
ความยั่งยืนของคริปโตเคอเรนซีมีแค่ไหน?
การเจริญเติบโตของคริปโตช่วยพัฒนาความยั่งยืนของการผลิตสกุลเงินและการใช้งานหรือไม่? คำตอบคือมันขึ้นอยู่กับชนิดของคริปโตเคอเรนซีที่คุณกำลังพูดถึง
การผลิตและใช้งานคริปโตเคอเรนซี่เช่น Bitcoin และ Ethereum จำเป็นต้องใช้กระบวนการที่เรียกกันว่า “การขุด” ซึ่งการทำธุรกรรมสำหรับคริปโตเคอเรนซีเหล่านี้จะได้รับการตรวจสอบและเพิ่มเข้าไปในบัญชีบล็อกเชนแยกประเภทดิจิตอล มันแสดงถึงองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาและบำรุงรักษาคริปโตเคอเรนซีเหล่านี้ ซึ่งต้องอาศัยการใช้ไฟฟ้าและพลังงานจำนวนมากในการทำเช่นนั้น
การศึกษาซึ่งจัดทำขึ้นโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและมหาวิทยาลัยสต็อคโฮล์ม เกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของคริปโตเคอเรนซีและ Visa พบว่า Bitcoin และ Ethereum เป็นสองสกุลเงินที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในแง่ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อปี
รู้หรือไม่ว่าในการทำธุรกรรม 220 ล้านครั้งของ Bitcoin ต่อปี (จำนวนสูงสุดที่คาดการณ์ไว้ต่อปี) ต้องใช้ปริมาณไฟฟ้าเที่ยบเท่ากับพลังงานที่สามารถใช้กับหลอดไฟ 149 ล้านหลอดเลยทีเดียว
XRP เป็นตัวอย่างหนึ่งของคริปโตเคอเรนซีที่ไม่พึ่งพาการใช้พลังงานจำนวนมหาศาลเช่นนั้น ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของสกุลเงินคริปโตที่ยั่งยืนที่สุดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ความยั่งยืนของ XRP
ข้อแตกต่างของ XRP จาก Bitcoin และ Ethereum คือ XRP ไม่ใช่สินทรัพย์ดิจิทัลที่ต้องผ่านการขุด ทุกหน่วยของสกุลเงินที่มีอยู่ในขณะนี้ได้ถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เพราะเนื่องจากการเป็นเจ้าของ Bitcoin ต้องผ่านการขุดนั่นหมายความว่า Bitcoin ใหม่ถูกสร้างขึ้นอยู่เรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องโดยศูนย์ประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ และการทำเช่นนี้ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมากและส่งผลต่อความไม่ยั่งยืนของพลังงานไฟฟ้าอย่างที่สุด รู้หรือไม่ว่าต้นทุนการสร้าง Bitcoin เพียงหนึ่งเหรียญเทียบเท่ากับค่าไฟหนึ่งวันของบ้านในสหรัฐเกือบสี่หลัง
ในทางตรงกันข้าม XRP เป็นสกุลเงินที่มีประสิทธิภาพและสร้างความยั่งยืนอย่างเหลือเชื่อ เพื่อเป็นการยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เราขอยกเรื่องหลอดไฟก่อนหน้านี้มากล่าวอีกครั้ง พลังงานที่ใช้โดยบัญชีแยกประเภท (distributed ledger) ของ XRP จะใช้พลังงานเทียบเท่ากับหลอดไฟเพียงเจ็ดหลอด ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าสกุลเงินอื่นๆ ที่มีอยู่รวมถึงเงินคริปโต อย่างไรก็ตามสกุลเงินดั้งเดิมต่างๆ ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลกต่อไป แม้ว่าผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมของสกุลเงินเหล่านี้ยังเป็นเรื่องยากที่จะมองข้ามและไม่ควรละเลยเพิกเฉยก็ตาม