<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

UNICEF เตรียมลงทุนโครงการ Blockchain ด้านมนุษยธรรม มูลค่า 3 ล้านบาท

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือ UNICEF ได้ลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพเกี่ยวกับเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สเป็นจำนวนมากและคาดหวังว่าจะทำให้โลกนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้น 

นาง Cecilia Chapiro ที่ปรึกษาการลงทุนของ UNICEF Ventures ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง Cointelegraph ว่า UNICEF ได้เปิดตัวกองทุนนวัตกรรมขึ้นในปี 2016 โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา นับตั้งแต่นั้นมายูนิเซฟก็ได้ลงทุนในบริษัทที่เพิ่งก่อตั้งใหม่กว่า 50 แห่งใน 35 ประเทศ “ เราได้ลงทุนในเทคโนโลยีที่มีศักยภาพที่จะมีอิทธิพลต่อผู้คนหลายพันล้านคน โดยเฉพาะเด็กที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในประเทศ” นาง Chapiro กล่าว

อ้างอิงจากคำพูดของ Chapiro , UNICEF ระบุว่า blockchain นั่นเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่สามารถสร้างผลกระทบต่อโลกได้ ด้วยเหตุนี้ทาง UNICEF จึงได้ระดมทุนเงินกว่า $ 100,000 ผ่านกองทุนนวัตกรรมในปีนี้และครึ่งปีที่แล้วให้กับ 6 บริษัทสตาร์อัพ ซึ่งบริษัท 3 แห่งในนั้นได้มีการมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยี blockchain

เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของเทคโนโลยีบล็อกเชนต่อไป UNICEF จึงได้เปิดตัวกองทุนคริปโตบนมูลนิธิ Ethereum Foundation ในเดือนตุลาคม 2019 นาง Chapiro อธิบายว่า กองทุนคริปโตจะใช้มาตรฐานเดียวกันกับกองทุนนวัตกรรมของพวกเขา เว้นแต่ว่าจะมีความแตกต่างกันเพียงอย่างเดียวคือ การลงทุนในคริปโตเคอเรนซี่ :

“กองทุนนวัตกรรมของ UNICEF จะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ มีส่วนร่วมในประสบการณ์การลงทุนที่ดียิ่งขึ้น เราหวัดว่าจะให้ผลประโยชน์ (ที่ไม่ใช่ทางการเงิน) ที่สอดคล้องกับการลงทุนของพวกเขา เราจะมองหาบริษัทที่สามารถตรวจสอบและเสริมสร้างความแข็งแกร่งเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์สำหรับผู้คนเป็นจำนวนมาก เราจะสนับสนุนบริษัทในหลาย ๆ ด้านเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้กับพวกเขา”

โอกาสสำหรับการเติบโตในด้านมนุษยธรรม

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายนกองทุนคริปโตของ UNICEF ได้ทำการลงทุนคริปโตครั้งใหญ่ที่สุดจวบจนถึงปัจจุบัน ที่มีมูลค่ากว่า 125 ETH หรือคิดเป็นประมาณ $ 28,600 ในช่วงเวลานั้น  ในบริษัท ทคโนโลยีแบบโอเพ่นซอร์สทั้งหมด 8 แห่ง ทันทีหลังจากที่จบการระดมทุนในครั้งนั้น UNICEF ก็ได้ประกาศว่าจะลงทุนอีกเพิ่มเติมอีก $ 100,000 เป็นทั้งในดอลลาร์และคริปโตให้กับบริษัทสตาร์ทอัพด้าน blockchain ที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีโอเพนซอร์สเพื่อต่อสู้กับความท้าทายระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

นาง Chapiro กล่าวอธิบายว่ากองทุนได้เปิดใช้งานองค์กรเพื่อการลงทุนอย่างจริงจังในสตาร์ทอัพด้าน blockchain เธอกล่าวต่อว่า : “หลังจากที่ลงทุนในบริษัทบล็อกเชน 3 แห่งในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมากองทุนคริปโตของยูนิเซฟได้บรรลุการเติบโตไปสู่ระดับใหม่เพื่อรองรับการลงทุนในโปรเจคบล็อกเชนแบบโอเพ่นซอร์สให้เพิ่มอีกประมาณ 5 ถึง 8 แห่ง”

จากข้อมูลของ Chapiro องค์การ UNICEF ได้มองหาการสนับสนุนบริษัทสตาร์ทอัพในช่วงเริ่มต้นพร้อมกับจัดหาตัวต้นแบบของเทคโนโลยี blockchain ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้และนำไปใช้ในประเทศที่ต้องการเทคโนโลยีมากที่สุด ตัวอย่างเช่น ในระหว่างรอบการระดมทุนครั้งล่าสุด UNICEF ได้ลงทุนใน ‘StaTwig’ ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพในอินเดียที่ใช้เทคโนโลยี blockchain ในการติดตาม Supply chain ของข้าวที่ถูกส่งจากรัฐบาลอินเดียไปยังพื้นที่ที่มีรายได้น้อย 

StaTwig จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี blockchain เพื่อสร้างเอกลักษณ์ในระบบดิจิทัลสำหรับทุก ๆ ผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น “ข้าวกระเป๋าทุก ๆ ถุงจะมีรหัสดิจิทัลที่ไม่ซ้ำกัน” โดยนาย Chakravarthy ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ StaTwig กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจะถูกติดตามตั้งแต่กระบวนการผลิตตลอดจนส่งไปถึงผู้รับ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ใน Blockchain รวมถึงการแสดงตำแหน่งที่อยู่ของผลิตภัณฑ์ และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ 

ก่อนหน้านี้ UNICEF เคยได้ลงทุนในสตาร์ทอัพ OS City ของเม็กซิโก ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ถูกออกโดยรัฐบาลที่ใช้เทคโนโลยี blockchain และดำเนินการโปรเจคนำร่องสำหรับการปรับใช้ blockchain citizen id ทั้งหมด 1,000 id เพื่อจัดสรรสินทรัพย์ทางด้านการศึกษาให้กับเด็ก เช่น การแจกประกาศนียบัตร  นาย Jesús Cepeda ผู้ก่อตั้ง OS City ให้สัมภาษณ์กับทาง Cointelegrap ว่า การบังคับใช้ blockchain citizen id นั่นจะทำให้สินทรัพย์ของรัฐบาลกลายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความปลอดภัยและโปร่งใสอย่างสมบูรณ์  :

“เรากำลังแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขบันทึกข้อมูลของรัฐบาล เราจะใช้ เทคโนโลยี blockchain เพื่อความโปร่งใสในการจัดสรรข้อมูล เรากำลังระดมทุนจาก UNICEF เพื่อจัดทำบันทึกข้อมูลของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในสินทรัพย์บล็อกเชนเพื่อให้เราสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของสถาบัน”

การลงทุนในคริปโต Vs การลงทุนในเงินเฟียต 

สิ่งที่สำคัญคือต้องชี้ให้เห็นว่า การระดมทุนของ UNICEF สำหรับทั้ง StaTwig และ OS City ส่วนใหญ่นั่นเกิดขึ้นในสกุลเงิน Ethereum (ETH) นาง Christina Rose Lomazzo หัวหน้าเทคโนโลยี Blokchain ของ UNICEF ให้สัมภาษณ์กับทาง Cointelegraph ว่า องค์กรส่วนใหญ่ที่ได้รับเงินทุนในคริปโตนั่นจะทำการแปลงเงินคริปโตไปเป็นเงินเฟียตทันที อย่างไรก็ตามกองทุนคริปโตของยูนิเซฟได้กำหนดให้บริษัททั้ง 8 แห่งที่พวกเขาลงทุน เก็บรักษาเงินไว้ในคริปโตเคอเรนซี่ :

“สิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่า บริษัท จะเข้าใจถึงประโยชน์ของคริปโตเคอเรนซี่ เช่นแง่มุมการตรวจสอบธุรกรรมแบบย้อนกลับและความเร็วของการทำธุรกรรมเมื่อเทียบกับระบบแบบดั้งเดิม นอกจากนี้แล้ว สตาร์ตอัพยังสามารถใช้ประโยชน์จากคริปโตเพื่อจ่ายเงินให้กับพนักงานได้อีกด้วย”

ความสำคัญของโอเพ่นซอร์ส

ในขณะที่กองทุนคริปโตของ UNICEF กำลังลงทุนเงินสูงถึง $ 100,000 ในสตาร์ตอัพ blockchain องค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ แต่ละบริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สด้วย นาย Brain Behlendorf ผู้อำนวยการบริหารของมูลนิธิ Hyperledger Foundation ให้สัมภาษณ์กับทาง Cointelegraph ว่าการออกใบอนุญาตโอเพนซอร์ซนั่นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเปลี่ยนซอฟต์แวร์จากเครื่องมือที่มีการควบคุมให้กลายไปเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติ :

“วิธีการใช้ซอฟต์แวร์แบบเดิม นั่นอาศัยการพึ่งพาผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี แต่ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์แบบโอเพ่นซอร์สจะช่วยให้อิสระ ในการปรับเปลี่ยนและแบ่งปันจุดประสงค์ใด ๆ สำหรับแอปพลิเคชัน blockchain นี่เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการกระจายอำนาจและความไว้วางใจว่าระบบกำลังทำสิ่งที่ควรทำ ”

ความท้าทายของการลงทุนในบริษัทบล็อคเชน

แม้ว่ากองทุนคริปโตของยูนิเซฟมีเป้าหมายที่จะลงทุนในกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่อาจความเปลี่ยนแปลงต่อโลก แต่มันอาจเป็นสิ่งพูดได้ง่ายกว่าการกระทำ ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจาก คำพูดของ Chapiro นั่นก็คือการหาบริษัทบล็อคเชนในประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่ ซึ่งนี่เป็นข้อกำหนดที่สำคัญสำหรับกองทุน เนื่องจากโปรเจค blockchain ส่วนใหญ่มักจะได้รับการพัฒนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา , ยุโรปและเอเชีย 

นอกจากนี้นาง Chapiro ยังกล่าวด้วยว่า UNICEF อาจมองหาการลงทุนในบริษัทที่ก่อตั้งโดยผู้หญิงหรือชนกลุ่มน้อย แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่ง่ายเลย แต่นาง Chapiro อธิบายว่า 40% ของการลงทุนในกองทุนนวัตกรรมของ UNICEF ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโดยสตรี เธอหวังว่าจำนวนนี้จะสูงถึง 50% ภายในช่วงสิ้นปี 2021

น่าแปลกที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ไม่ได้สร้างปัญหามากมายสำหรับองค์การ UNICEF ในแง่ของการค้นหาบริษัทสตาร์ทอัพที่จะลงทุน เนื่องจากกระบวนการส่วนใหญ่นั่นเกิดขึ้นในโลกเสมือนจริง โดยนาง Chapiro กล่าวว่าปกติแล้วจะมีการประชุมในเชิงปฏิบัติการสัปดาห์ละครั้งในเมืองนิวยอร์ก ซึ่งบริษัทต่าง ๆ สามารถเข้าร่วมได้เมื่อพวกเขาได้รับเงินทุน อย่างไรก็ตามในขณะที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID19 นั่นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของกองทุนคริปโตของ UNICEF เท่าไหร่นัก แต่นาง Chapiro อธิบายว่าธุรกิจสตาร์ทอัพส่วนใหญ่นั่นได้รับผลกระทบโดยตรง :

“โปรแกรมการระดมทุนอื่น ๆ หลายโปรเจคในบริษัทสตาร์ทอัพส่วนหนึ่งถูกยกเลิกหรือมีข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งนี่คือเหตุผลที่เราเร่งดำเนินการระดมทุนให้เร็วมากขึ้นในขณะนี้ เราลงเอยด้วยการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพทั้งหมด 8 แห่งเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทบางส่วนเราเคยให้เงินทุนไปก่อนหน้านี้ ในขณะนี้เริ่มเพิ่มความต้องการในบริการของพวกเขา เนื่องจากหลายคนกำลังแก้ไขความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19”

ที่มา : cointelegraph