<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

แอฟริกาใต้อาจแก้ไขจุดยืนนโยบายระดับชาติ เกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ความสนใจของนักลงทุนรายย่อยที่มีต่อคริปโตได้ผลักดันให้หน่วยงานกำกับดูแลของแอฟริกาใต้คิดใหม่ว่าพวกเขาจำแนกประเภทของคริปโตเคอร์เรนซี่อย่างไร

หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของแอฟริกาใต้กำลังวางรากฐานเกี่ยวกับกฎระเบียบของสกุลเงินดิจิทัลอย่างมีขั้นตอนและมีโครงสร้าง  ความพยายามครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติในช่วงเจ็ดปีที่ผ่านมา และได้รับแรงผลักดันจากความสนใจในคริปโตอย่างมากในประเทศ

จากเอกสารเมื่อวันศุกร์เผยว่า Intergovernmental Fintech Working Group หรือ IFWG ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้คณะทำงานกำกับดูแลสินทรัพย์ คริปโต ได้กำหนดแผนงาน สำหรับกรอบการกำกับดูแล ซึ่งจะเน้นที่ผู้ให้บริการสินทรัพย์ทางด้านคริปโต

นโยบายระดับชาติที่มีต่อคริปโตในช่วงแรกของแอฟริกาใต้นั้นมีท่าทีที่ค่อนข้างระแวดระวัง 

หากย้อนกลับไปในปี 2014 กระทรวงการคลังแห่งชาติได้ออกแถลงการณ์ต่อสาธารณะเกี่ยวกับประเด็นนี้  ร่วมกับธนาคารกลางแอฟริกาใต้ โดยหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของประเทศ และหน่วยงานด้านภาษีได้เตือนประชาชนว่าพวกเขาจะต้องยอมรับความเสี่ยงด้วยตัวเอง และจะไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายหรือการขอความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดปัญหา

นักวิจารณ์ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจัยหลายประการ รวมถึงตลาดคริปโตของแอฟริกาใต้ที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 2 พันล้านแรนด์ หรือประมาณ 147 ล้านดอลลาร์จากมูลค่าซื้อขายรายวันเมื่อต้นปีนี้ ทำให้นโยบายเดิมนี้ไม่สามารถตอบสนองสภาพตลาดได้

เอกสารฉบับใหม่ของ IFWG เน้นย้ำว่า  แม้ว่าจะมีการกำหนดกรอบการกำกับดูแลที่มีโครงสร้างและเป็นขั้นตอน แต่สินทรัพย์คริปโตก็ยังคงมีความเสี่ยงและความผันผวนโดยธรรมชาติ  และความสูญเสียทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมการซื้อขายคริปโตยังคงสูง

หลักการทั้งหกประการได้เผยให้เห็นถึงแนวทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าหลักการดังกล่าวจะช่วยกำหนดทิศทางการตัดสินใจของหน่วยงานกำกับดูแล, การดำเนินมาตรการตามสัดส่วนความเสี่ยง, การใช้แนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อควบคุมสินทรัพย์คริปโต, การติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดตามระดับสากล และการส่งเสริมความรู้ทางการเงินดิจิทัลให้กับผู้บริโภคได้

เอกสารดังกล่าวยังระบุถึงแนวทาง 25 ข้อสำหรับการกำกับดูแล ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นหลัก 3 ประการ ได้แก่ การต่อต้านการฟอกเงินและการต่อต้านการให้เงินสนับสนุนการก่อการร้าย กฎหมายการเงินข้ามพรมแดน และการใช้กฎหมายในภาคการเงิน ซึ่งหมายความว่าหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของแอฟริกาใต้จะมีเป้าหมายเพื่อป้องกันการละเมิดในตลาด  เช่น การฉ้อโกงและการประพฤติโดยมิชอบในตลาด และการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม

นอกเหนือจากรายงานที่ตีพิมพ์แล้ว ทาง IFGW ยังได้เปิดเผยรายงานสรุปกลยุทธ์ ซึ่งระบุถึงความกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมของประเภทสินทรัพย์และระบบนิเวศโดยรวม IFGW ชี้ไปที่การกระจายอำนาจว่าเป็นข้อเสีย ไม่ใช่ข้อดี เพราะจะทำให้ผู้บริโภคและนักเทรดไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้มีอำนาจ หรือหน่วยงานส่วนกลางที่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้ใช้ได้ เช่น การใช้ที่อยู่กระเป๋าเงินคริปโตที่ไม่ถูกต้อง

IFGW ยังคงกังวลเกี่ยวกับการบิดเบือนของสื่อคริปโต ความผันผวนของราคาสินทรัพย์ และ scam ต่าง ๆ เช่น ธุรกิจ Ponzi หรือที่บ้านเราเรียกว่าแชร์ลูกโซ่นั่นเอง ซึ่งในปีนี้มีโครงการแชร์ลูกโซ่ที่เกิดขึ้นมากมาย โดยมีเป้าหมายไปที่นักเทรด Bitcoin ซึ่งสามารถรวบรวม 23,000 BTC ไปได้จากสมาชิก 26,000 รายทั่วโลก

ที่มา: CoinTelegraph