<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

เผยสาเหตุที่ราคาของ Ethereum และ Solana พุ่งขึ้นอย่างรุนแรง นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ดูเหมือนว่าวงการคริปโตจะมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ Hard fork ของ Ethereum หรือ Solana ที่ได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากกลุ่มผู้ใช้งาน แม้ว่าการปรับฐานราคาล่าสุดจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาด แต่ถึงอย่างนั้น Ethereum ก็ยังให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นกว่า 13.7% หากเปรียบเทียบจากในเดือนที่ผ่านมา ส่วน Solana นั้นก็ได้ให้ผลตอบแทนอย่างน่าประทับใจเพิ่มขึ้นกว่า 445% ในระยะเวลาเพียงแค่ 1 เดือน อ้างอิงข้อมูลจาก Coingecko

รายงานของ Kraken ในเดือนสิงหาคมแสดงให้เห็นว่า อุปทานของ Ethereum บนกระดานแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์นั้นได้ร่วงลดลงแตะจุดต่ำสุดในรอบสามปีที่ระดับ 12.8% เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม สิ่งนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า “โอกาสที่วิกฤตอุปทาน ETH ขาดแคลนจะเกิดขึ้นนั้นเป็นไปได้สูง”

สาเหตุสองประการที่เป็นผลให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นก็คือ การอัพเกรด London Hard Fork ที่เป็นการเปิดใช้งานข้อเสนอ EIP-1559 และผลักดันให้ Ethereum กลายเป็นสินทรัพย์เงินฝืด เนื่องจากค่าธรรมเนียมพื้นฐานของธุรกรรมทุกรายการจะถูก Burn ทิ้งไปนั่นเอง โดยนับตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมามีการ Buurn เหรียญ Ethereum ไปแล้วจำนวนทั้งหมด 155,000 ETH หรือคิดเป็นมูลค่าราว ๆ 549 ล้านดอลลาร์

อีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญให้กับราคาของ Ethereum ก็คือ ความนิยมของ NFT ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้ Kraken ยังตั้งข้อสังเกตในรายงานด้วยว่าอุตสาหกรรม NFT มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในเดือนก่อนหน้านี้ โดยผู้ใช้รายวันของ OpenSea เพิ่มขึ้นกว่า 289% และมีวอลุ่มการซื้อขายเพิ่มขึ้นกว่า 900%

อย่างไรก็ตาม Ethereum ไม่ใช่บล็อกเชนเดียวที่ได้รับประโยชน์จากความบ้าคลั่งของ NFT ในครั้งนี้ Solana ซึ่งเป็นบล็อคเชน Layer 1 ก็ได้เห็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน โดยราคาของเหรียญ SOL ได้เพิ่มขึ้นกว่า 30% หลังจากที่ FTX ได้ประกาศรวม Solana เข้ากับตลาด NFT ที่กำลังจะเปิดตัว

นอกจากนี้ Solana ยังได้รับอานิสงส์จากเครือข่ายของ Ethereum ที่มีค่าธรรมเนียม Gas ราคาแพงในช่วงที่ในช่วงที่ตลาด NFT ได้รับความนิยมสูงอีกด้วย  ซึ่ง Solana ได้ทำหน้าที่เป็นเครือข่ายทางเลือกสำหรับการทำธุรกรรมที่มีต้นทุนค่าธรรมเนียมราคาถูกกว่า เร็วกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า