<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

5 กระเป๋าเงิน “Hardware wallet” ที่กูรูแนะนำให้ใช้ หลังเกิดวิกฤตการณ์ล่มสลายของ FTX

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ปกติแล้วกระเป๋าเงิน Crypto จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก Hot wallet และ Cold wallet โดย Hot wallet เป็นกระเป๋าเงินที่ต้องใช้คีย์ (Cryptography ประเภทหนึ่ง ลักษณะคล้ายพาสเวิร์ด) และสร้างหรือเก็บบนเครื่องมือที่มีการเชื่อมต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ตที่มีความปลอดภัยน้อยกว่ากระะเป๋าเงินแบบ Cold wallet

Cold wallet คือทางเลือกในการเก็บ Crypto ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต บางครั้งถูกเรียกว่า Hardware wallet และใช้เครื่องมือทางกายภาพ จับต้องได้ ซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบของ USB Cold wallet เป็นที่รู้กันว่าเป็นกระเป๋าเงินที่มีความปลอดภัยมากที่สุด เนื่องจากผู้ที่ต้องการแฮ็กจำเป็นต้องเข้าถึงเครื่องมือที่ใช้จัดเก็บและต้องจัดการกับ PIN หรือพาสเวิร์ด

มี Cold wallet มากมายในตลาด และมักเป็นการยากที่จะเลือกได้ว่า Cold wallet แบบไหนที่เหมาะสมกับ Crypto ของคุณ โดยรายชื่อ 5 กระเป๋าเงินต่อไปนี้ เป็น Cold wallet ที่ใช้งานง่ายและมีความปลอดภัยที่กูรูแนะนำ หลังเกิดวิกฤตการณ์ล่มสลายของ FTX

Ledger Nano X

Ledger Nano X เป็นกระเป๋าเงิน Cold wallet เวอร์ชัน 2 จาก Ledger เป็นกระเป๋าเงินกายภาพที่เราสามารถจัดเก็บ รับ-ส่ง และซื้อขาย Crypto นผ่านโทรศัพท์มือถือได้ และแม้ว่าคุณจะไม่มีแลปท็อป คุณยังสามารถเทรดผ่านระบบ Android และ iOS ได้ กระเป๋างานนี้สามารถเข้าถึง smart service ต่าง ๆ ได้ทั้ง DeFi app, NFT และอื่น ๆ

นอกจากนี้ยังมี Ledger Live ซอร์ฟแวร์ที่สามารถตรวจสอบยอดคงเหลือ บริการรับ และโอน Crypto ได้ Ledger สามารถรองรับโทเค็นดิจิทัลได้กว่า 1,800 โทเค็น Ledger Live ยังรอบรังการ stake ซึ่งจะช่วยให้คุณได้รับผลตอบแทนมากขึ้น

ข้อเสียของ Ledger Nano X

  • มีพื้นที่ในการจัดเก็บเทียบเท่ากับแอปพลิเคชัน 3 แอปพลิเคชัน

Ledger Nano X รองรับเหรียญ Crypto มากกว่า 5,500 สกุล 

อุปกรณ์วางขายอยู่ที่ราคา 149 ดอลลาร์

Trezor Model T

Trezor Model T เป็นกระเป๋าเงิน Cold wallet ที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงกระดานเทรดมือของบุคคลที่สามได้โดยตรง เช่น Changelly และ CoinSwitch ผ่านหน้าจอแสดงผลของ Trezor

Cold wallet นี้มีระบบการสัมผัสหน้าจอ ซึ่งทำให้ง่ายต่อผู้ใช้งานมือใหม่ในการใช้งาน อุปกรณ์มาพร้อมสาย 1 USB-C to USB-A ที่ช่วยให้การเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนมากง่ายขึ้น

ข้อเสียของ Trezor Model T

  • หน้าจอสัมผัสเล็ก ยากต่อการใช้งาน
  • ไม่ค่อยปลอดภัยในฐานะ Cold wallet

Trezor Model T รองรับเหรียญ Crypto มากกว่า 1,800 สกุล 

อุปกรณ์วางขายอยู่ที่ราคา 189 ดอลลาร์

ELLIPAL Titan Bundle

ELLIPAL Titan Bundle เป็นกระเป๋าเงิน Cold wallet ที่ไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตหรือคอมพิวเตอร์เป็นกระเป๋าเงินตัวแรก ที่ช่วยให้คุณสามารถสร้างเครือข่ายส่วนตัวขึ้นมาได้ ไม่จำเป็นต้องใช้อินเตอร์เน็ตหรือพอร์ตที่รองรับแอปพลิเคชัน Crypto ต่าง ๆ

ข้อเสียของ ELLIPAL Titan Bundle

  • มีขนาดใหญ่
  • ระบบ Customer Support ที่ค่อนข้างช้า

ELLIPAL Titan Bundle รองรับเหรียญ Crypto มากกว่า 10,000 สกุล 

อุปกรณ์วางขายอยู่ที่ราคา 139 ดอลลาร์

Ledger Nano S

Ledger Nano S เป็นหนึ่งใน Cold wallet ที่ดีที่สุดของ Ledger และเป็น Cold wallet ตัวแรกที่รองรับ Crypto กว่า 1,800 สกุล ทั้งยังมีพื้นที่เพียงพอต่อการสร้างกระเป๋าเงินที่มีจำนวน Crypto จำกัด

ข้อเสียของ Ledger Nano S

  • ใช้งานยากและซับซ้อนเกินไปสำหรับผู้ใช้งานใหม่
  • จำกัดบัญชีเพียง 18 บัญชี

Ledger Nano S รองรับเหรียญ Crypto มากกว่า 1,800 สกุล 

อุปกรณ์วางขายอยู่ที่ราคา 59 ดอลลาร์

ELLIPAL Titan Mini

ELLIPAL Titan Mini เป็นกระเป๋าเงิน Cold wallet ที่พกพาสะดวก ง่ายต่อการใช้งาน และปลอดภัย ด้วยการไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตหรือคอมพิวเตอร์ Cold wallet นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเก็บรักษา Crypto จากภัยคุกคามทั้งจากโลกออนไลน์และออฟไลน์ ผู้ใช้งาน ELLIPAL สามารถติดตั้ง ELLIPAL Titan Mini ได้ทันทีภายใน 3 นาที

ELLIPAL Titan Mini ใช้คู่กับ ELLIPAL Mobile APP ในการเช็คยอดคงเหลือ ส่ง และรับ Crypto รองรับบล็อกเชน 34 ระบบ โทเค็น 10,000 สกุล และ NFT ทั้งผู้ใช้งานยังสามารถเทรดได้ทุกที่ทุกเวลา

ข้อเสียของ Ledger Nano S

  • มีการจำกัดตัวเลือกในการ stake

ELLIPAL Titan Mini รองรับเหรียญ Crypto มากกว่า 10,000 สกุล 

อุปกรณ์วางขายอยู่ที่ราคา 79 ดอลลาร์

สรุป

จากวิกฤต FTX ที่เกิดขึ้น ทำให้เหล่านักลงทุนเริ่มตระหนักและต้องการเลือกเก็บ Crypto ไว้กับตัวเองมากขึ้น Cold wallet จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการเก็บ Crypto ไว้กับตัวเองเพื่อให้สามารถจัดการ Crypto ในมือเองได้ ป้องกันกรณีเว็บเทรดล่มสลาย และปลอดภัยจากการถูกแฮ็ก 


ที่มา: Guru99